สติ : หน้าที่ของสติ
สติเป็นคุณธรรมกำกับใจ ทำหน้าที่คอยระฆัดระวังเหนี่ยวรั้งใจไม่ให้เลื่อนลอย ไม่แวบหนีเที่ยว ไม่กลับกลอก แต่ให้ใจหยุดนิ่งผ่องใสอยู่ในกลางกายเป็นนิจ ส่งผลให้
๑. ตนเองไม่เผลอ ไม่เลินเล่อ มีความตื่นตัว แต่ไม่ตื่นเต้น ไม่เครียด สงบนิ่ง สดชื่นเป็นนิจ
๒. ตนเห็นคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถ ศีลธรรมประจำใจของตนเองว่ามีมากน้อยระดับไหน
๓. ตนเห็นคุณสมบัติ ลักษณะภายนอก ภายในของสิ่งแวดล้อม แต่ละชนิดที่ตนเองต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง รับผิดชอบได้ชัดตรงตามจริง จึงระลึกได้ถึงภัยที่น่าระแวง และระวังป้องกันภัยนั้นอยู่ตลอดเวลา สติจึงได้ชื่อว่าเป็นคุณธรรมทำหน้าที่กำจัดความประมาททุกชนิดโดยตรง ทั้งด้านการคิด การพูด และการทำการงาน
สติ : ศัตรูของสติ
สติเป็นคุณธรรมที่เหนียวแน่นมั่นคงมาก เพราะไม่ว่าเรากำลังเหนื่อยแสนเหนื่อย หิวแสนหิว ป่วยแสนป่วยขนาดไหน เราก็ยังรักที่จะทำความดีต่อไป แต่ถ้าดื่มสุรา เสพยาเสพติดให้โทษเมื่อไร เมื่อนั้น สติย่อมขาดผึง พร้อมที่จะคิด พูด ทำในสิ่งที่ร้ายกาจได้ทุกอย่าง แม้ฆ่าพ่อแม่ตนเอง เพราะฉะนั้น ศัตรูสำคัญของสติ คือ การติดใจในกามคุณ ๕ เช่น อบายมุข ๖ โดยเฉพาะสุราและยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
สติทำให้มีนิสัยรอบคอบไม่ประมาท
การทำงานทุกอย่างทั้งน้อยและใหญ่ ยากหรือง่าย เมื่อทำงานเสร็จแล้วลูกจ้างก็ได้ค่าแรง ผู้ช่วยงาน เจ้าของงานก็ได้ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันตามวัตถุประสงค์ ถามว่าตัวเราได้อะไรหลังเสร็จงานแล้วบ้าง อาจได้ความรู้เพิ่ม ได้เพื่อนเพิ่ม แต่สิ่งที่เรามองข้ามไม่ได้ คือ ความเคย
ความเคย หมายถึง ความมีโอกาสได้ผ่านสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแล้ว เช่น เคยทำ เคยพูด เคยดื่ม เคยดมสิ่งนั้นมาแล้วถ้าไม่เคยทำงานชนิดนั้นมาก่น เมื่อได้ทำแล้วก็จัดเป็นความเคยงานนั้นครั้งแรก ถ้าได้ทำอีกบ่อย ๆ จากความเคยก็เป็น ความคุ้น ถ้าคุ้นมากเข้าก็เป็นความชิน จากความชินก็เป็นความชำนาญ หรือเป็นอัตโนมัติติดตัวมา แต่สิ่งที่พึ่งพิจารณาให้มาก คือ ความเป็นคุณและโทษที่ซ่อนอยู่ในความเคย คุ้น ชิน ชำนาญนั้น ๆ
ถ้าเราทำงานนั้นด้วยความระมัดระวังความเสียหายทุกขั้นตอน ในความเคย คุ้น ชิน ชำนาญเหล่านั้นได้ บ่มเพาะนิสัยมีสติ รอบคอบ ประณีต ติดฝังแน่นลงไปในใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในทางตรงข้ามถ้าเราทำงานแบบขอไปที ขาดการเอาใจใส่ ไม่ระมัดระวังในแต่ละขั้นตอน ก็จะติดนิสัยมักง่าย ประมาท ขาดวินัย เอาแต่ใจ ฯลฯ ซึ่งน่าเสียดายแทน
ทั้งนิสัยมีสติ รอบคอบ ประณีต และนิสัยขาดสติ มักง่าย ประมาท เช่นนี้ หากเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้วก็จะถูกผู้นั้นนำสติชนิดนั้นไปใช้ในการทำงานอย่างอื่น ๆ ต่อไปอีก สุดท้ายก็จะกลายเป็น นิสัยรักบุญชังบาป หรือ นิสัยรักบาป ชังบุญ ฝังใจข้ามชาติของผู้นั้นไปอีกด้วย โดยเหตุนี้ ท่านผู้รู้จริงจึงเตือนไว้ว่า ไม่ว่าจะประกอบภารกิจการงานใด ๆ สติจำเป็นต้องมีในทุกที่ทุกสถาน ใคร ๆ จะขาดไม่ได้ ถ้าขาดเมื่อใดก็ชื่อว่าประมาทเมื่อนั้น ทั้งประมาทระยะสั้น คือประมาทขณะทำงาน ประมาทระยะยาว คือ ประมาทตลอดชีวิต และประมาทข้ามภพชาติอีกด้วย ท่านผู้รู้จริงก็ยังเตือนช้ำอีกว่า คนประมาทคือคนที่ตายแล้ว คือ ตายจากความดีทันทีที่ประมาท
(แอดมิน : ทุกท่านคงทราบแล้วว่า ทำไมเราต้องฝึกให้ตนเองมีสติ คุณประโยชน์การฝึกตนเองให้มีสตินั้น จะเป็นคนมีนิสัยรอบคอบ และไม่มักง่าย หากต้องการทำงานให้สำเร็จ ก็ต้องฝึกสติกันเยอะๆ เรียกว่า "อย่าประมาณในชีวิต" เพราะแค่เผลอสติ อาจทำให้ชีวิตมีภัย ดังนั้น หากต้องการให้ชีวิตเป็นสุขต้องห่างไกลศัตรูของสติ คือ กามคุณ๕)
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ
- เว็บกัลายาณมิตร หนังสือ Ebook "สติ สัมปชัญญะ" คำนำ หน้าที่ ๔๒-๔๔
- ภาพดี ๆ๐๗๒
- การ์ด canva ออกแบบโดย brightmind
น้อมกราบอนุโมทนาสาธุครับ
ตอบลบ🙏🙏🙏กราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ
ตอบลบสาธุครับ
ตอบลบอนุโมทนาค่ะ
ตอบลบ