ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

สติ สัมปชัญญะ : บทที่ ๕ : ความจริงน่าตระหนกประจำโลกที่ถูกมองข้าม ประการที่ ๔

 

สติ สัมปชัญญะในชีวิตประจำวัน

ตอน

ความจริงน่าตระหนกประจำโลกที่ถูกมองข้าม ประการที่ ๔

          สัตว์โลกตกอยู่ใต้กฎแห่งกรรม ทันทีที่เกิด ทุกชีวิตต่างตกเป็นนักโทษรอประหารของโลก ตกอยู่ภายใต้กฎเหล็กที่ไม่เคยติดประกาศให้ใครรู้ คือ กฎแห่งกรรม กฏนี้มีอำนาจครอบคลุมไปทั้งโลก ใคร ๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ เป็นเสมือนกฎหมายร้ายแรงที่จ้องแทงเชือดเฉือนผู้คนทั้งโลกอยู่เบื้องหลัง ต้องรอให้ท่านผู้รู้ผู้เห็นความจริงทุกสรรพสิ่งด้วยญาณทัสสนะ คือ ความสว่างภายในจากการเจริญสมธิอย่างยิ่งยวดของท่าน ค้นพบแล้วนำมาประกาศ ชาวโลกจึงทราบได้ ซึ่งตลอดยุคสมัยของท่านเองก็ไม่สามารถประกาศให้ทราบกันได้ทั่วโลก ครั้นกาลเวลาผ่านไป ชาวโลกทั้งหลายก็หลงลืมกฎแห่งกรรมที่ค้นพบได้โดยยากนี้อีก ต้องรออีกนานนับอสงไขย ๆ กัป ท่านผู้รู้จริงองค์ใหม่จึงมาค้นพบแล้วประกาศให้ชาวโลกทราบใหม่อีกครั้ง สาเหตุที่เรียกทุกคนว่าเป็นนักโทษรอประหารของโลกเพราะ
          ๑. ทุกคนในโลก เมื่อเกิดแล้วย่อมออกไปจากโลกนี้ไม่ได้ ต่างต้องตายในคุกคือโลกนี้ แม้มีบางคนเคยเล็ดลอดออกไปถึงดวงจันทร์ได้ แต่ดวงจันทร์ก็เป็นเพียงคุกบริวารของโลก สุดท้ายคนเหล่านั้นก็ต้องกลับมาตายในโลก
          ๒. เนื่องจากทุกคนต่างรู้ว่าตนเอง ถึงอย่างไรวันหนึ่งก็ต้องตาย คือ ต้องถูกประหารแน่ ๆ เพียงแต่ไม่รู้วันตายจึงกลายเป็นนักโทษรอประหาร ตกอยู่ในความหวาดกลัวความตายตลอดชีวิต
          ๓. กฎแห่งกรรมตราไว้สั้น ๆ ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ไม่มีการอธิบายขยายความใด ๆ ทั้งสิ้น ท่านผู้รู้จริงจึงได้เมตตาขยายความให้ฟังว่า คำว่า กรรม แปลว่า การกระทำ มีความหมาย ๓ ประการ ได้แก่
               ๓.๑ กรรมเป็นการกระทำที่เกิดจากเจตนา คือ ตั้งใจทำ
               ๓.๒ กรรมเป็นการกระทำของคนที่ยังมีกิเลส คือ ผู้ที่ยังมีโรคประจำใจ  ได้แก่ โรคโลภะ โรคโทส: โรคโมหะถ้าหมดกิเลสแล้วเช่นเดียวกับท่านผู้รู้จริง การกระทำของท่านก็ล้วนไม่เป็นกรรม เป็นแต่เพียงกิริยาอาการเท่านั้น
               ๓.๓ กรรมเป็นการกระทำที่ยังมีการให้ผลต่อไปอีก หลังจากเสร็จการกระทำนั้นแล้ว โดยคนเรากระทำกรรม ได้ ๓ ทาง คือ
                      ๑) ทางกาย คือ การใช้มือ เท้า และอวัยวะอื่น ๆ กระทำ เรียกว่า กายกรรม
                      ๒) ทางวาจา คือ การพูด เรียกว่า วจีกรรม
                      ๓) ทางใจ คือ การคิด เรียกว่า มโนกรรม
 
 

ความไม่รู้ที่ค้างคาใจทุกคนคือ

เราคือใคร ก่อนเกิดมาจากไหน
ตายแล้วจะไปไหน ตายเมื่อไหร่
ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม
เพราะไม่รู้จริงในสิ่งเหล่านี้
จึงเป็นเหตุให้ขาดความมั่นใจในตนเอง
แม้ขณะทำความดี
 

2 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา