ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2565

สติ สัมปชัญญะ : บทที่ ๑ ตอน แนวทางการฝึกตัวของผู้รักที่จะเป็นคนดี

 

ทุกคนอยากเป็นคนดี แต่ดีได้ไม่ทุกคน
ตอน

แนวทางการฝึกตัวของผู้รักที่จะเป็นคนดี

           การฝึกตนให้รู้จักตนเองอย่างแท้จริง รู้จริงถึงคุณและโทษของสิ่งแวดล้อมทั้ง ๕ ชนิด เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้จริงจึงให้แนวทางในการฝึกตนไว้เป็นเชิงอุปมาเปรียบเทียบว่า

    เมื่อน้ำขุ่นมัว ไม่ใส บุคคลย่อมไม่เห็น หอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลา
ฉันใด เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลย่อมไม่เห็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นฉันนั้น   
    ในทางตรงข้าม เมื่อน้ำไม่ขุ่นมัว ใสบริสุทธิ์ บุคคลย่อมแลเห็น หอยกาบ หอยโข่งกรวด ทราย และฝูงปลาฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นฉันนั้น

                ขุ.ชา. ๕๗/๒๑๙-๒๒๐/๑๙๖ (ไทย.มมร)

          จากแนวทางฝึกตัวตามที่อุปมาไว้ข้างต้นนี้ แสดงว่าผู้ที่รักจะเป็นคนดีจริงจำเป็นต้องปฏิบัติตนดังนี้
          ๑. ศึกษาและฝึกงานวิชาการต่าง ๆ ทางโลกให้มากพอ โดยเฉพาะเรื่องที่เราตั้งใจจะทำ
          ๒. ตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้าว่า ชาตินี้ต้องเป็นคนดีให้ได้ในระดับใดระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะระดับครอบครัว ประเทศชาติ หรือระดับโลก 

          ๓. ตั้งใจศึกษาเจาะลึก เพื่อหยั่งเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำความดีนั้น ๆ ของตน สภาวธรรมดังกล่าวนั้นมี ๒ ลักษณะ ได้แก่
               ๓.๑ สภาวลักษณะ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของวัตถุ สิ่งของ รวมถึงเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุสิ่งของนั้น แต่ไม่มีในสิ่งของอื่น ๆ1 เมื่อเรารู้จริงลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ แล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์ในการทำความดีได้อย่างเต็มที่และป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย เช่น
                  กรด ย่อมมีลักษณะของกรดโดยเฉพาะ เป็นคุณเป็นโทษต่อร่างกาย และสิ่งของเครื่องใช้
                  ด่าง ย่อมมีลักษณะของด่างโดยเฉพาะ เป็นคุณเป็นโทษต่อร่างกาย และสิ่งของเครื่องใช้
                  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ย่อมมีลักษณะเฉพาะ ต่างกันไป
                  ลม แดด ฝน ย่อมมีลักษณะเฉพาะ ต่างกันไป
                  ความโลภ ย่อมมีลักษณะเฉพาะ คือ กำหนัด พอใจ อยากได้ ทะยานอยาก
                  ความโกรธ ย่อมมีลักษณะเฉพาะ คือ ไม่พอใจ
                  ความฟุ้งซ่าน ย่อมมีลักษณะเฉพาะ คือ ทำให้ใจชัดส่ายไปมา
                  สมาธิ ย่อมมีลักษณะเฉพาะ คือ ทำให้ใจตั้งมั่นในอารมณ์
                                                              ฯลฯ
              ๓.๒ สามัญลักษณะ เป็นความเสมอกัน เหมือนกัน และเท่ากัน “ ประการ ซึ่งมีอยู่ในทุกสรรพสัตว์และสรรพสิ่ง มีทั้งในตัวของเราและในสิ่งแวดล้อมทุกชนิด ได้แก่ 

              ๑) อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสรรพสัตว์และสรรพสิ่ง คือ มีแล้วกลับไม่มี เสื่อมสิ้นไป เปลี่ยนแปลงละสภาวะปกติของตนไปทุกอนุวินาที
              ๒) ทุกขัง เป็นทุกข์ มีลักษณะบีบคั้นอึดอัดขัดข้อง ลำบาก ทนได้ยาก เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
              ๓) อนัตตาไม่ใช่ตัวตน คือ ไม่มีอิสระ ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในอำนาจของตนเอง เช่น ทุกคนต้องตาย ใคร ๆ ก็ไม่สามารถต้านทานขัดขืนไม่ให้ตัวเองตายได้
    ลักษณะสามัญ  ประการนี้ ผู้ทำความดีทุกท่านต้องหมั่นพิจารณาเป็นประจำ เพื่อเตรียมใจรับทุกสภาพ
       - เมื่อได้สิ่งที่ชอบใจ ก็อย่าหลงดีใจเกินไป เพราะมันก็มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่ในตัว ถ้ามันต้องจากเราไป ก็อย่าเป็นทุกข์กับมัน เพราะมันเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น
      - เมื่อได้สิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็อย่าหลงเสียใจเกินไป เพราะมันมีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่ในตัว ไม่ช้าความเดือดเนื้อร้อนใจ อุปสรรคใด ๆ ย่อมหมดไป ถ้าเรายังยืนหยัดสู้ต่อไป
    ๔. ตั้งใจฝึกฝนตนเองให้มีใจผ่องใส มั่นคงเป็นนิจ เพื่อสามารถควบคุมจิตใจตนเอง ไม่ให้หวั่นไหวเมื่อเผชิญอุปสรรค รู้จักระแวงภัยที่น่ระแวง และสามารถป้องกันภัยนั้นไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยเริ่มต้นจากการเรียนรู้ที่จะป้องกันรักษาชีวิตของตนเองก่อน ซึ่งชีวิตมีองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ ๑) กาย ๒) อายุ ๓) ไออุ่น ๔) ใจ
     ๔.๑ กาย หมายถึง ร่างกายของเรา ประกอบด้วย ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกัน สัดส่วนของแต่ละธาตุที่ผสมกันเป็นกาย ก็มีแตกต่างกันเป็นกลุ่มก้อนน้อยใหญ่ คือ เกิดเป็นเซลล์เล็ก ๆ ลักษณะต่างกันไป กลุ่มเซลล์แต่ละกลุ่มรวมกันเป็นอวัยวะ แบ่งออกเป็น
          ๑) อวัยวะภายนอกเห็นได้ตั้งแต่ปลายผมจรดฝ่าเท้า เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ
          ๒) อวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ไส้ พุง หัวใจ ปอด ฯลฯ
    เซลล์และอวัยวะต่ง  ทำงนร่วมกันเป็นระบบอย่างแข็งขัน ซึ่งระบบในร่างกายของเรามีหลายส่วน ได้แก่ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบ่ย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบผิวหนัง ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อม ระบบโครงกระดูก และระบบสืบพันธุ์ ทั่วทั้งกาย ทั้งหมดนี้ย่อมมีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฎอยู่เสมอ
   ๔.๒ อายุ คือ ช่วงเวลาที่ดำรงชีวิตอยู่จนถึงก่อนตาย โดยเฉลี่ยแต่ละคนอายุประมาณ ๗๕ ปี อย่างมากไม่เกินร้อยปี หรือเกินก็ไม่นานนัก หากใครใช้ชีวิตด้วยความประมาท ก็อาจป่วย พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ดังนั้น ควรรีบทำความดีตั้งแต่เดี๋ยวนี้จะได้มีความดีติดฝังใจไปภพหน้าเพราะทุกคนต้องตาย แต่จะตายเมื่อไร ที่ไหน อย่างไร ก็ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าได้เลย
     ๔.๓ ไออุ่น คือ พลังงานที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อให้ชีวิตดำเนินไปได้ โดยอาศัยวัตถุดิบสำคัญ  ประการจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้ามาป้อน ได้แก่ อาหาร น้ำ และอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ มีคุณภาพ ได้สัดส่วนกัน และมีปริมาณมากพอ โดยอาหารและน้ำต้องได้ตรงเวลา อากาศต้องมีตลอดเวลา เพื่อประคองร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอที่อุณหภูมิราว ๓๗ องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่านี้ ย่อมก่อให้เกิดโรคร้อน โรคหนาวกำเริบขึ้นในร่างกาย หากป้อนอาหารและน้ำผิดเวลา ย่อมก่อให้กิดโรคหิว โรคกระหายกำเริบ เมื่อป้อนอาหารและน้ำเข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะมีกาก ของเสียจากอหารและน้ำที่ต้องกำจัดออกจากร่างกาย ก่อให้เกิดโรคปวดอุจจาระ โรคปวดปัสสาวะกำเริบ

    โรคทั้ง ๖ ประการนี้ เราต้องเผชิญตั้งแต่เกิดจนตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากร่างกายมีเซลล์ มีอวัยวะมีระบบต่าง ๆ ทำงานร่วมกันและมีอายุเป็นองค์ประกอบร่วม กายจึงสามารถ
                   ๑) สร้างพลังงานไออุ่น หล่อเลี้ยงชีวิตได้เอง
                   ๒) สร้างพลังงานให้ร่างกายเคลื่อนไหวทำการงานได้
                   ๓) ซ่อมแชมร่างกายตนได้
                   ๔) ต่อสู้เชื้อโรคยามเจ็บไข้ได้
           ๔.๔ ใจ เป็นธรรมชาติพิเศษชนิดหนึ่ง มีอำนาจรู้ คิด และสั่งการได้ เมื่อใจคิดและสั่งการให้กายทำงาน เช่น สั่งให้ยืน เดิน นั่ง นอน พูด อ่าน เขียน ฯลฯ กายจึงจะเคลื่อนไหวทำตามคำสั่งนั้น หากใจไม่สั่งการ แม้ร่างกายแข็งแรงปานใด ย่อมอยู่เฉย ๆ ไม่อาจขยับเขยื้อนทำงานใด ๆ ได้
          กายเป็นรูปธรรมสามารถมองเห็นจับต้องได้ ขณะที่ใจเป็นนามธรรมมองไม่เห็นแต่รู้ได้ว่ามี อาการที่แสดงออกให้รู้ได้ว่าเรามีใจ คือ การมีอารมณ์ความรู้สึก มีความจำ มีความคิด และมีความรู้ เมื่อใดที่คนมีแต่กายไม่มีใจอยู่ร่วมด้วย จะเรียกกายนั้นว่า ศพ
         ใจถูกบังคับให้ต้องมีกายเป็นบ้านไว้อยู่อาศัย ทุกคนมีกายจึงต้องมีใจ มีใจก็ต้องมีกาย ความมีชีวิตจึงจะเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ ที่สำคัญ ใจทำหน้าที่เป็นนาย กายเป็นบ่าว การงานทุกชนิดจึงสำเร็จได้ด้วยใจ 

         ถ้าใจไม่ดี ขุ่นมัว การทำ การพูด ก็พลอยไม่ดีไปด้วย เพราะความไม่ดีนั้นเป็นเหตุ ความทุกข์ย่อมติดตามมา เหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าโค ถ้าใจดี ใจผ่องใส การทำ การพูดก็พลอยดีไปด้วย เพราะความดีนั้น ความสุขย่อมติดตามมาเหมือนเงาตามตน เราจึงต้องศึกษาธรรมชาติของใจ เพื่อการดำเนินชีวิตของเราจะได้ถูกต้องเป็นสุขตลอดทาง

ทุกคนมีกายจึงต้องมีใจ

มีใจก็ต้องมีกาย
ความมีชีวิตจึงจะเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้
ที่สำคัญ ใจทำหน้าที่เป็นนาย กายเป็นบ่าว
การงานทุกชนิดจึงสำเร็จได้ด้วยใจ


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

สติ สัมปชัญญะ : บทที่ ๑ ตอน สิ่งแวดล้อม ๕ ที่ต้องคำนึงถึงก่อนทำความดี

                   

ทุกคนอยากเป็นคนดี แต่ดีได้ไม่ทุกคน
ตอน

สิ่งแวดล้อม ๕ ที่ต้องคำนึงถึงก่อนทำความดี

          สิ่งแวดล้อม ๕ ประเภท ที่ต้องคำนึงก่อนการทำงานทุกครั้ง เพื่อป้องกันความเดือดร้อนเสียหายที่จะตามมาคือ
          ๑. สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เช่น แดด ลม ฝน ดิน ต้นไม้ ต้นหญ้า ฯลฯ
          ๒. สิ่งแวดล้อมที่เป็นสัตว์น้อยใหญ่ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า สัตว์ปีdแมลงต่าง ๆ ฯลฯ
          ๓. สิ่งแวดล้อมที่เป็นมนุษย์ ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ หญิง ชาย ต่างชาติ ต่างศาสนา ต่างผิวพรรณ ฯลฯ
          ๔. สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุสิ่งของ อุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาอำนวยความสะดวก ซึ่งวัตถุสิ่งของแต่ละชนิดล้วนมีผลข้างเคียงให้ต้องระมัดระวังด้วยกันทั้งลิ้น
          ๕. สิ่งแวดล้อมที่เป็นแบบแผนความประพฤติ เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ สัตว์ คน ชุมชน สังคม และวัตถุสิ่งของ เพื่อให้ใจอยู่ในกายมีความผ่องใสอยู่เป็นนิจ มีสติระลึกรู้สิ่งที่ควรคิด ถ้อยคำที่ควรพูด และกิจที่ต้องทำได้อย่างถูกต้อง เกิดเป็นนิสัยดีงามประจำตัวแต่ละคน จะได้อยู่ร่วมกันสงบสุขร่มเย็น สิ่งแวดล้อมที่เป็นแบบแผนความประพฤตินี้มี ๒ ประเภท คือ
            ๕.๑ สิ่งแวดล้อมที่เป็นแบบแผนความประพฤติที่กำหนดโดยมนุษย์ แบบแผนนี้เป็นกฎและจริยธรรมของสังคม ที่สังคมมนุษย์ เช่น ประเทศ รัฐบาล สังคม ชุมชน องค์กร หมู่คณะ ครอบครัว ฯลฯ ร่วมกันกำหนดขึ้น กฎนี้มีการประกาศให้ทราบทั่วหน้า หากใครไม่ทำตามก็มีบทลงโทษตามกฎหมาย หรือตามกฎของสังคมนั้น ๆ เช่น ระเบียบแบบแผน วัฒนธรรม ประเพณี กฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย เป็นต้น สิ่งแวดล้อมประเภทนี้มีผิดบ้าง ถูกบ้างไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าผู้บัญญัติกฎมีความรอบรู้ในเรื่องความจริงของโลกและชีวิตถูกต้องมากน้อยเพียงใด ความประพฤติของเขาถูกต้องตรงต่อความจริงที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์เพียงใด หากผู้บัญญัติยึดประโยชน์ตนเฉพาะหน้า ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนที่จะตามมาแก่ตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม สังคมที่มีผู้บัญญัติกฎเช่นนี้ย่อมก่อความเดือดร้อนต่อสังคมโลกอย่างมหันต์
             ๕.๒ สิ่งแวดล้อมที่เป็นแบบแผนความประพฤติที่มนุษย์ไม่ได้กำหนด แต่เป็นสภาวสากลและเป็นกฎสากลของโลก ได้แก่ กฏแห่งกรรม กฏไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นธรรมชาติความจริงของทุกสรรพสัตว์และสรรพสิ่ง เป็นกฎที่ไม่มีการประกาศให้ทราบ แต่ปรากฏให้เห็นจนมนุษย์ชาชิน จึงมองข้ามและคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งที่เป็นกฎที่แน่นอนและควบคุมสรรพสัตว์และสรรพสิ่ง ให้อยู่ใต้อำนาจของกฎสากลนี้ ดังตัวอย่าง
      ใครรักษาศีล ๕                      เป็นการทำความดี ได้กายมนุษย์ ได้ใจใสระดับมนุษย์
                                                    เข้าถึงความเป็นมนุษย์ได้
       ใครมีหิริโอตตัปปะ               เป็นการทำความดี ได้กายเทวดา ได้ใจใสระดับเทวดา
                                                    เข้าถึงความเป็นเทวดาได้
       ใครมีพรหมวิหารธรรม         เป็นการทำความดี ได้กายพรหม ได้ใจใสระดับพรหม
                                                    เข้าถึงความเป็นพรหมได้
      ใครไร้ศีล ๕                            เป็นการทำความชั่ว แม้กายเป็นคน แต่ใจขุ่นมืดระดับสัตว์
                                                    เข้าถึงความเป็นสัตว์ดิรัจฉานหรือสัตว์นรกได้
       ใครช่องเสพอบายมุข ๖       เป็นการทำความชั่ว แม้กายเป็นคน แต่ใจขุ่นมืดระดับสัตว์
                                                    เข้าถึงความเป็นสัตว์ดิรัจฉานหรือสัตว์นรกได้
                                                                         ม.อุ. ๑๔/๒๘๙-๒๕๓)/๓๔๙-๓๕๗ (ไทย.มจร)
   สิ่งแวดล้อมที่เป็นแบบแผนความประพฤติสากลนี้ แม้ยากที่จะมีผู้ใดคันพบได้ แต่มีผู้รู้จริงจำนวนมากคันพบแล้วนำมาเปิดเผย บัญญัติ สั่งสอน หากเราทั้งหลายตั้งใจเพียรศึกษา รีบรู้ รีบประพฤติตามคำสอนของท่านผู้รู้จริง ใจของเราก็จะยิ่งผ่องใสขึ้น เมื่อใจใสขึ้นก็อยากทำความดี เว้นขาดจากความชั่วให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    อย่างไรก็ตาม สิ่งแวดล้อม ( ประเภทข้างต้น ยังสามารถจำแนกออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ๑) สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต คือ คนและสัตว์ หรือเรียกว่า สรรพสัตว์ และ ๒) สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต คือ สรรพสิ่ง ทั้งสรรพสัตว์และสรรพสิ่งรวมกัน เรียกว่า สิ่งแวดล้อมทั้งปวง สิ่งแวดล้อมทั้งปวงย่อมตกอยู่ภายใต้กฎสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งแวดล้อมที่เป็นคน สภาพใจใสหรือขุ่นของคนมีผลอย่างมากต่อความเจริญและความเสื่อมของสิ่งแวดล้อมทั้งปวง คนไม่ว่าทราบหรือไม่ทราบกฎสากลของโลกนี้ ถ้าใจขุ่นมัวย่อมปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง กลายเป็นผู้ทำลายตนและสิ่งแวดล้อมรอบตน แต่หากใครทราบและปฏิบัติตนได้ถูกต้องจนใจใส ย่อมเกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและแก่สิ่งแวดล้อมทั้งปวงอีกด้วย
     ความรู้จริงถึงลักษณะหรือคุณสมบัติพิเศษของสิ่งแวดล้อมแต่ละอย่างให้ครบทั้ง ๕ ประเภทอย่างถ้วนถี่ รอบคอบก่อนลงมือทำความดีทุกครั้ง จึงเป็นเรื่องสำคัญละจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งแวดล้อมแต่ละอย่างล้วนมีทั้งส่วนที่เป็นคุณและเป็นโทษต่อมนุษย์ด้วยกันทั้งสิ้น
     ที่สำคัญการทำความดีไม่ว่ามากหรือน้อย ย่อมไม่ต่างกันกับการเดินทวนกระแสน้ำ ผู้เดินทวนกระแสน้ำ นอกจากต้องออกแรงเดินฝากระแสน้ำที่ไหลมาปะทะแล้ว ยังต้องระวังโขดหิน หลุมบ่อ หลักตอที่จมอยู่ใต้น้ำด้วย ยิ่งน้ำขุ่นหรือยามค่ำคืนยิ่งต้องระวังอันตรายให้มากฉันใด การทำความดีไม่ว่ามากหรือน้อยก็ต้องใช้ ๑) แรงกาย แรงสติปัญญา ความรู้ ความสามารถที่ตนเองมีให้เต็มที่ ๒) ต้องระมัดระวังภัยอันอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย ๓) ต้องหาประโยชน์ที่มีจากสิ่งแวดล้อมแต่ละอย่างมาช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้เต็มที่ ความดีที่ตั้งใจทำจึงจะลุล่วงด้วยดีฉันนั้น

     ข้อควรระวังอย่างยิ่งคือ คนส่วนมากมักหลงทึกทักว่า ตนรู้จริงในสิ่งแวดล้อม ๕ ดีแล้ว เพราะต่างคนต่างอยู่กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มาตั้งแต่เกิด จึงขาดความระมัดระวัง ขาดการเตรียมความพร้อมก่อนลงมือทำความดี ด้วยเหตุนี้แม้ตั้งใจและลงมือทำความดีอย่างเต็มที่ ก็ยังยากที่จะหลีกเสี่ยงความผิดพลาดเสียหายและความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปีจึงเกิดเหตุร้ายซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ ไฟฟ้าช็อต รถคว่ำ ซึ่งหลายครั้งหลายคราวก็เกิดเหตุตรงสถานที่เดิม ๆ ซ้ำ ๆ บางคราวแม้แต่ผู้ชำนาญการด้านนั้น ๆ ก็ทำให้เกิดความเสียหายเสียเอง เพราะประสบกับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ดิน ฟ้าอากาศแปรปรวน เป็นต้น จึงกลายเป็นว่า คนเราทำดีได้ยาก ทำชั่วได้ง่าย แล้วพากันท้อถอยในการทำความดี ซึ่งความจริงแล้วเป็นเพราะเขาเหล่านั้นประมาท ไม่รู้จริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ



วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2565

สติ สัมปชัญญะ : บทที่ ๑ ตอน ความสำคัญของความดี

 

ทุกคนอยากเป็นคนดี แต่ดีได้ไม่ทุกคน
ตอน

 ความสำคัญของความดี

ความดีมีความสำคัญต่อมนุษยชาติด้วยเหตุผล ๒ ประการ คือ
       ๑. ความดีทำให้จิตใจชาวโลกมีความผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะความผ่องใสของใจเป็นต้นทางของการคิดดี พูดดี ทำดีทั้งหลาย
       ๒. ความดีทำให้ไม่มีความเดือดร้อนที่จะเกิดตามมาแก่ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ๕ เพราะว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก หากเราไม่เกรงใจเขา เขาก็จะไม่เกรงใจเรา ไม่เฉพาะคนเท่านั้น ยังมีสัตว์อีกนานาชนิดอยู่ร่วมโลกกับเราทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ เมื่อรวมกันแล้วจำนวนสัตว์ก็มีมากกว่มนุษย์ ที่สำคัญสัตว์แต่ละตัวก็รักสุข เกลียดทุกข์ เกลียดความเดือดร้อน รักตัวกลัวตายไม่น้อยกว่ามนุษย์ ดังนั้น ก่อนจะกระทำสิ่งใด ๆ ลงไปจึงต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ๕ รอบตัวด้วย

   ความเป็นคนดี

ไม่อาจสำเร็จได้เพราะความอยากเป็น
แต่ความเป็นคนดี จะสำเร็จได้เพราะ
ได้ทำความดีมาอย่างรอบคอบ
ต่อเนื่อง และมากพอจนติดเป็นนิสัย 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

สติ สัมปชัญญะ : บทที่ ๑ ทุกคนอยากเป็นคนดี แต่ดีได้ไม่ทุกคน ตอน ความหมายความดี

 

เรามาเริ่มอ่านบทที่ ๑ กันได้เลย ว่าหลวงพ่อท่านสอนอะไรเราไว้บ้าง การที่เราเริ่มทำอะไรให้ได้ดีนั้น เราจะต้องเริ่มต้นด้วยความสนใจใคร่รู้ว่าเรื่องนั้นๆ มีเนื้อหาในการสอนอบรมเราอย่างไรบ้าง

ทุกคนอยากเป็นคนดี แต่ดีได้ไม่ทุกคน 

ตอน ความหมายความดี

      ผู้คนทั้งโลกไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ล้วนอยากเป็นคนดีด้วยกันทั้งนั้น แต่มีเพียงบางคนที่ได้เป็นคนดีสมความตั้งใจ เพราะความเป็นคนดีไม่อาจสำเร็จได้ เพียงด้วยความอยากเป็น แต่เป็นคนดีได้ เพราะได้ทำความดีมาอย่างรอบคอบ ต่อเนื่องและมากพอจนติดเป็นนิสัยรักในการคิดดี พูดดี ทำดีฝังใจ ไม่หลงเหลือนิสัย คิด พูด ทำอะไรมักง่าย โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบเสียหาย ให้เป็นหอกตามทิ่มแทงตนเองและผู้อื่น ให้ต้องเดือดร้อนภายหลัง

ความหมายความดี

       ท่านผู้รู้จริงเคยให้คำจำกัดความของกรรมดีไว้ว่า
       บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่ต้องเดือดร้อนใจในภายหลัง มีใจบิกบานอิ่มเอมเสวยผลของกรรมอยู่ กรรมที่
ทำแล้วย่อมเป็นกรรมดี
       จากคำจำกัดความของกรรมดี แสดงว่า
๑. ความดีเป็นผลของการทำกรรมดี ความชั่วเป็นผลของการทำกรรมชั่ว
                เหตุ                                                                          ผล
         ทำกรรมดี                                               ความดี ความสุข ความเจริญ
         ทำกรรมชั่ว                                             ความชั่ว ความทุกข์ ความเสื่อม


๒. ลักษณะอาการของผู้ทำความดี มีลักษณะดังนี้
      ๒.๑ ผู้ทำ มีความตั้งใจดี ความดีของใครย่อมไม่เกิดขึ้นเองลอย ๆ แต่เกิดจากความตั้งใจดีของผู้นั้น
      ๒.๒ ผู้ทำ มีความพยายามทำกรรมดีนั้น ๆ จนกระทั่งประสบความสำเร็จตามที่ตั้งไว้
      ๒.๓ เกิดประโยชน์ ต่อผู้ทำความดีนั้นเป็นอันดับแรก คือ มีใจผ่องใสเบิกบานขึ้น อิ่มเอมใจยิ่งขึ้น และหากการกระทำนั้นยิ่งทำให้ใจของผู้ทำและผู้อื่นเบิกบานผ่องใสมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ เป็นความดีมากขึ้นเท่านั้น
      ๒.๔ ไม่ก่อความเดือดร้อนใด ๆ แก่ผู้ทำเองและผู้อื่นตามมาในภายหลังโดยเด็ดขาด แต่ในขณะทำงานนั้น หากมีเหตุให้ต้องเหนื่อยยากบ้าง มีอุปสรรคบ้าง ซึ่งจะเป็นเพราะตนเองบกพร่อง สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยก็เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งต้องอดทนและหาทางแก้ไขให้ลุล่วงจนกว่าจะสำเร็จก็ไม่จัดว่าเป็นความเดือดร้อน
       ลักษณะอาการของผู้ทำความดี-ความไม่ดี ดังภาพที่ ๑
       ตัวอย่างความเดือดร้อนหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นขณะทำความดี แต่ไม่ถือว่าเป็นความเสียหายของการทำความดีนั้น
       ชาวนาชาวไร่ ต้องกรำแดด ลม ฝน ขณะทำไร่ ไถนา ถึงกับปวดร้าวทั้งตัว ปวดหัว เป็นไข้บ้างเพียงวันสองวันก็หาย กรณีนี้ไม่จัดว่เป็นความเดือดร้อน เพระแม้ไม่ได้ทำงานบางครั้งก็มีอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ หรือในการบริจาคทานที่มีผู้ร่วมทำบุญจำนวนมาก มีพระภิกษุจำนวนมาก ๆ มีการจราจรคับคั่ง แม้มีการกระทบกระทั่งกันบ้าง เสร็จงานก็มีแต่ความปลื้มใจตามมา เหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นความเดือดร้อน


แผนภาพที่ ๑ ลักษณะอาการของคนที่ทำความดี-ความไม่ดี


       ครูต้องเหนื่อยพร่ำสอนศิษย์ ศิษย์ต้องอดหลับอดนอนเพื่อทำการบ้าน ต้องขยันทำแบบฝึกหัด อดไปเที่ยวเล่นสนุก พ่อแม่ต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินคำเทอมให้ลูก จัดว่าเป็นความดี เพราะสุดท้ายทั้งศิษย์ ครู พ่อแม่ ไม่มีใครเดือดร้อนในภายหลัง ทุกคนมีแต่ได้ประโยชน์ตามมา คือ
           ๑) ศิษย์มีความรู้ไปประกอบการงานเลี้ยงชีพ
           ๒) ครูภาคภูมิใจที่ศิษย์เป็นคนดีมีความสามารถ
           ๓) พ่อแม่ได้ลูกเก่งและดีไว้พึ่งพายามชรา
           ๔) ประเทศชาติได้คนดีไว้พัฒนาประเทศ
ในทางกลับกัน เมื่อเด็กเอาแต่เล่นสนุกเฮฮา หนีโรงเรียน ครูก็ไม่ว่ากล่าวให้ตนเองเหนื่อย พ่อแม่ก็ปล่อยเลยตามเลย ลูกอยากเรียนก็เรียน ไม่อยากเรียนตนก็ชอบ ไม่ต้องเหนื่อยหาเงินเสียค่เทอม แถมพ่อแม่เองก็ติดอบายมุข คุณประโยชน์ปัจจุบันใด ๆ ก็ไม่เกิด ประโยชน์อนาคตก็ไม่ได้ ทำลายทั้งอนาคตของตน ทำลายทั้งอนาคตของชาติให้ยับเยิน เหล่านี้นับเป็นความชั่วความเดือดร้อนทั้งสิ้น
          การวัดประเมินตัดสินความดีของผู้ใด จึงไม่ได้วัดจากความเหนื่อยมาก เหนื่อยน้อย สบายมาก สบายน้อย ง่าย หรือยากขณะทำงาน แต่วัดกันที่ความไม่มีเรื่องเดือดร้อนตามมาถึงตนและคนอื่นทั้งที่อยู่ใกล้ไกล ที่สำคัญตนเองต้องได้ประโยชน์เต็มที่จากการทำความดีนั้น ส่วนผู้อื่นได้ประโยชน์มากน้อยเท่าไรถือว่าเป็นผลพลอยได้

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

สติ สัมปชัญญะ : ก่อนบทปฐมกาล "แผนผังภาพ การศึกษาที่แท้จริง"

      ก่อนที่เราจะได้อ่านบทที่ 1 เราเปิดหน้าหนังสือ ก็จะพบกับแผนผังภาพสรุปสิ่งที่เราต้องศึกษาก่อน ซึ่งก็ได้มีการสร้างเป็นแผนผังภาพ ลงเนื้อหาไว้เป็นภาพสรุปส่วนที่หลวงพ่อได้สอนไว้ ให้เราได้เพิ่มความเข้าใจมากขึ้น ลองศึกษาเนื้อหาส่วนนี้ให้เข้าใจ ยิ่งอ่านก็ยิ่งเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อท่านได้พยายามสอน เริ่มอ่านกันเถอะ

 การศึกษาที่แท้จริง : แผนผังภาพ (แผนภาพที่ 1 หน้า 12)

เราพอจะเข้าใจว่า แผนภาพด้านบนนี้บอกอะไรเราได้บ้าง????

หากเราหากฝึกตนเองมี "สติ สัมปชัญญะ" จนเป็นนิสัย ก็จะทำให้ตัวเรารักที่จะทำความดี รักที่ละเว้นการทำความชั่วนั้น เราจะต้องฝึกตัวเราให้มีสติก่อน จนกระทั่งรู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไร ใจเราก็ย่อมผ่องใสตลอดวัน

แผนภาพที่ 2 (หน้าที่ 13 ) 

แผนภาพด้านล่างนี้ เป็นการทำความเข้าใจในคำนิยามต่าง ๆ ตามลำดับๆ
 


 

แผนภาพสรุปคำนิยาม ดังนี้

สติ

เป็นธรรมกำกับใจ ไม่ให้แวบเที่ยวออกนอกตัว
ให้คิดแต่ดี ๆ เหมือนหางเสือเรือ
กำกับเรือให้ผ่าคลื่นลมไปให้ถึงที่หมาย

สัมปชัญญะ

เป็นธรรมให้ช่างสังเกตเห็น รู้ ความจริง
ในสิ่งที่กำลังกระทำ ทั้งด้านร้ายและดี
แล้วเว้นสิ่งที่ร้าย เลือกกระทำแต่สิ่งที่ดี

 

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ 

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565

สติ สัมปชัญญะ : บทสรุปส่งท้าย

 

การอ่านหนังสือในส่วนของ " บทสรุปส่งท้าย " เป็นการอ่านเพื่อเข้าใจโครงสร้างและเนื้อหาว่า เริ่มต้นและจบอย่างไร ให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่า ตัวเราเองอ่านแล้วควรได้ความรู้เรื่องอะไร มาอ่านกันได้เลย..

บทสรุปส่งท้าย

          ที่ผ่านมาเราอยู่ในยุคแห่งความศรัทธา คือ ผู้ใหญ่ บอกให้จำ นำไปท่อง พูดให้คล่อง ตอบให้ถูก ไม่ต้องสงสัยว่าทำไม ไม่ต้องถามหาเหตุผล ไม่ชักชาแค่ให้รีบทำตามที่สั่ง ทุกคนต่างขมีขมัน ทำตามด้วยความเชื่อมั่นฝังใจว่าคำสั่งคำสอนของผู้ใหญ่เป็นสิ่งถูกต้อง ใครทำตามย่อมได้ดี มีแต่ความสุขความเจริญ เราได้รับการปลูกฝังให้เคารพเชื่อฟัง มีศรัทธาต่อผู้ใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ พระภิกษุ ผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคม ในบ้าน ในเมืองอย่างไม่มีข้อแม้เงื่อนไขใด ๆ เช่นนี้มานานแสนนาน

         ปัจจุบันเมื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และระบบสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้วิชาการและข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ไม่ยุ่งยากและไม่ต้องลงทุนมากเหมือนสมัยก่อน เพราะความรู้ไม่ได้มีแต่ที่ผู้ใหญ่ ไม่ได้มีแต่ในห้องเรียน แต่อยู่ในเครื่องมือสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ใคร ๆ สามารถพกพาติดตัวไปได้สะดวกทุกที่ ซึ่งเราเรียกว่า โทรศัพท์มือถือ

          คนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในสภาวการณ์เช่นนี้ ย่อมต้องการเหตุผลมากกว่าคำสั่ง ซึ่งผู้ใหญ่ส่วนมากก็มักตอบเหตุผลไม่ได้ เพราะตนเองก็เติบโตและเจริญก้าวหน้ามาได้จากการทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ หาได้รุ่งเรืองจากอำนาจการคิดรู้ของตนเองไม่ ช่องว่างระหว่างวัย ช่องว่างทางความคิดก็เกิดขึ้นทันที ซึ่งนำไปสู่ความร้าวฉานในสังคม แล้ว เราจะปล่อยให้วัฏจักรนี้หมุนวนช้ำรอยเดิมต่อไปอีกหรือ

          ผู้รู้จริงทั้งที่มีมาในอดีต ปัจจุบัน และจะมีในอนาคต ท่านได้ให้หลักคิดไว้ว่า อย่ามัวมาเสียเวลาหาเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ เยอะแยะมากมายเลย แต่ให้รีบมาหาความจริงที่สามารถเอาชนะความจริงน่าตระหนกประจำโลก ๔ กันก่อนเพราะนั่นคือที่มาของเหตุผลแท้จริงทั้งปวง การศึกษาที่ถูกต้องแท้จริงจึงต้องเกิด เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ฝึกหัด ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มองตน พิจารณาตน เห็นตนเองให้ชัดว่า บัดนี้ตนเองรอบรู้ชัดความจริงที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติได้ถูกต้อง ครบถ้วนมากน้อยเพียงใด แล้วรีบนำความจริงนั้นมาประพฤติปฏิบัติแก้ไขนิสัยตน ให้ตนเป็นผู้มีนิสัยเว้นขาดจากความชั่วทั้งปวง ฝึกให้มีนิสัยรักทำแต่ความดีไม่ทำความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น มีแต่สร้างประโยชน์สุข และสุดท้ายให้ตนมีนิสัยรักทำใจให้ผ่องใสเป็นนิจ มีสติสัมชัญญะในทุกภารกิจการงาน เพื่อควบคุมเหนี่ยวรั้งใจไม่ให้แวบออกนอกกาย ไม่คิดร้าย ไม่พูดร้าย และไม่ทำร้ายตนเองและใคร ๆ นั่นคือเรากำลังเข้าสู่ยุคพุทธิจริต คือ ยึดความจริงและความดีเป็นที่ตั้ง

          ท่านผู้รู้จริงคือใคร ท่านก็คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นที่เคารพ กราบไหว้บูชาของทั้งมนุษย์ เทวดาและพรหม เหตุที่ไม่ประสงค์ระบุพระนามท่านตั้งแต่ต้นเพื่อให้คนยุคปัจจุบัน ซึ่งไม่ค่อยได้ร่ำเรียนพระพุทธศาสนา ไม่ค่อยได้เข้าวัด ฟังธรรม สวดมนต์ เจริญสมาธิ แผ่เมตตา เมื่ออ่านหนังสือสติสัมปชัญญะรากฐานการศึกษาของมนุษยชาติจะได้คิดใครครวญไตร่ตรองความเป็นเหตุเป็นผลอย่างอิสระเต็มที่ ว่าจริงดังที่ผู้รู้จริงทั้งหลาย ท่านได้ค้นพบ และวางรากฐานการประพฤติปฏิบัติไว้แล้วหรือไม่ เพราะผู้รู้จริงก็เคยบอกไว้เองว่า จงอย่าเชื่อเพราะผู้นั้นผู้นี้บอก แต่เชื่อเพราะได้ขบคิด ได้คิดตรองแล้วตรองอีกจนรู้ และได้ฝึกหัด ฝึกฝน เพียรประพฤติปฏิบัติด้วยตนเองจนรู้ความจริงด้วยตัวเองแล้วเหตุผลถูกต้องตรงตามความเป็นจริงอื่น 1 ก็จะพรั่งพรูให้รู้ว่าทำไม ต้องคิด ต้องพูด ต้องทำอย่างนี้ อย่างนั้น ความไม่รู้ว่าเรามีใจหรือไม่ ความไม่เชื่อว่าใจมีจริงไหม สมองเท่านั้นที่เป็นใหญ่คอยควบคุมสั่งกายจริงหรือไม่ ความจริงจิตภาพที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติ อันดับแรกก็คือ การฝึกสติเก็บใจไว้ในกายเป็นนิจ ความจริงดังกล่าวเหล่านี้จริงหรือไม่ ความเคลือบแคลงสงสัยเหล่านี้จะได้หมดไปจากใจ คำถามที่ว่าทำไม ทำไม ๆ จะได้มอดมลายหายสูญไป แล้วชาวโลกทุกคนจะได้เอาเวลาชีวิตอันแสนสั้นของตนมาฝึกฝน อบรมใจให้มีสติสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่นอยู่กลางกายกระทั่งรู้เห็นความจริงตามอย่างท่านผู้รู้จริงทั้งหลายที่มีมาแล้วในอดีต ปัจจุบัน และที่จะมีมาอีกในอนาคต

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

 

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565

สติสัมปชัญญะ : อ่านหนังสือหน้า "สารบัญ"


หน้าสารบัญ เป็นการอ่านเพื่อทำให้เรารู้จักใจความสำคัญในหนังสือ และเนื้อหาของบทต่าง ๆในหนังสือว่ามีอะไรบ้าง เหมือนการสร้างโครงบ้านว่าต้องสร้างห้องกี่ห้อง แต่ละห้องมีอะไรบ้าง เราจะได้เข้าใจว่า แต่ละห้องต้องมีเครื่องใช้ไม้สอยอะไรบ้าง เป็นการเห็นภาพรวมของบ้าน หรือ หนังสือที่เราอ่าน เรามาอ่าน "สารบัญ" สติ สัมปชัญญะ ว่า มีกี่บท แต่ละบทมีเนื้อหาอะไร เราจะได้เกิดภาพในสมอง สิ่งที่เราจะได้ความรู้ในหนังสือเล่มนี้...

 สารบัญ


เรื่อง                                                                                                                   หน้า
__________________________________________________________________________________________________________
คำนำ                                                                                                                    
สารบัญ                                                                                                                 
บทที่ ๑    ทุกคนอยากเป็นคนดี แต่ดีได้ไม่ทุกคน                                                   ๑๕  
               ความหมายความดี                                                                                  ๑๖
               ความสำคัญของความดี                                                                           ๒๐
               สิ่งแวดล้อม ๕ ที่ต้องคำนึงถึงก่อนทำความดี                                           ๒๒
               แนวทางการฝึกตัวของผู้รักที่จะเป็นคนดี                                                ๒๖
บทที่ ๒    ธรรมชาติของใจที่รู้เห็นได้ยาก                                                               ๓๓     
               ฐานที่ตั้งของใจ                                                                                        ๓๔
               คุณสมบัติของใจ                                                                                      ๓๔
               สติสัมปชัญญะเครื่องมือควบคุมใจ                                                         ๗๖
บทที่ ๓    สติ                                                                                                          ๓๙
               ความหมายของสติ                                                                                  ๔o
               ลักษณะของสติ                                                                                       ๔๐
               หน้าที่ของสติ                                                                                          ๔๒
               ศัตรูของสติ                                                                                             ๔๓
               สติทำให้มีนิสัยรอบคอบไม่ประมาท                                                       ๔๓
               การฝึกสติ                                                                                                ๔๕
บทที่ ๔   สัมปชัญญะ                                                                                             ๔๙
              ความหมายและลักษณะของผู้มีสัมปชัญญะ                                           ๕๐
              ลักษณะความรู้ตัว ๔ ของผู้ทำงานอย่างมีสติสัมปชัญญะ                       ๕๕
              หลักการทำงานอย่างชาญฉลาดเพิ่มพูนสติสัมปชัญญะ                          ๕๘
บทที่ ๕   สติสัมปชัญญะในกิจวัตรประจำวัน                                                         ๖๕
              กิจวัตรเพื่อฝึกสติสัมปชัญญะ                                                                  ๖๖
              ความสำคัญของการฝึกสติสัมปชัญญะในระดับครอบครัว                      ๗๓
              ความจริงน่าตระหนกประจำโลกที่ถูกมองข้าม ประการที่ ๑                   ๗๕
                          ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้
              ความจริงน่าตระหนกประจำโลกที่ถูกมองข้าม ประการที่ ๒                   ๗๕
                          ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความทุกข์
              ความจริงน่าตระหนกประจำโลกที่ถูกมองข้าม ประการที่ ๓                   ๗๙
                          ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความสกปรก
              ความจริงน่าตระหนกประจำโลกที่ถูกมองข้าม ประการที่ ๕                   ๘๒
                          สัตว์โลกตกอยู่ใต้กฎแห่งกรรม
              หลักเกณฑ์ตัดสินกรรมดี-ชั่ว                                                                    ๘๕
              การให้ผลของกรรม                                                                                  ๘๕
บทที่ ๖   สติสัมปชัญญะรากฐานการศึกษา                                                           ๘๙
              กำเนิดผู้รู้จริงครูดีต้นแบบ                                                                        ๙๐
              หลักคิดการจัดการศึกษา                                                                          ๙๓
              ความจริงที่ต้องจัดการศึกษา                                                                    ๙๕
              ความจริงคือหัวใจการศึกษา                                                                     ๙๘
                           ความหมายของความจริง                                                            ๙๘
                           ประเภทของความจริง                                                                 ๙๙
              ความจริงที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติ                                                              ๑๐๖
              ใจเป็นเครื่องมือเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ทำให้รู้ความจริง                       ๑๐๘
                           วิธีรู้ความจริง                                                                               ๑๐๘
                           เครื่องมือรู้ความจริง                                                                    ๑๑๐
              ความหมายการศึกษา                                                                               ๑๑๓
              การศึกษาขาดครูดีไม่ได้                                                                            ๑๑๕
                           ความหมายของคำว่า "ครู"                                                           ๑๑๕
                           เหตุผลที่การศึกษาต้องมีครูดี                                                       ๑๑๗
                           หน้าที่ครูดี                                                                                    ๑๒๐
              บทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติสัมปชัญญะ                                                       ๑๒๖
                          ความหมายนิสัย                                                                            ๑๒๖
                          ความหมายบทฝึกนิสัย                                                                  ๑๒๘
                          ส่วนประกอบบทฝึกนิสัย                                                               ๑๒๘
                          การออกแบบบทฝึกนิสัย                                                               ๑๒๙
                          การใช้บทฝึกนิสัย                                                                          ๑๓๐
                          การประเมินบทฝึกนิสัย                                                                 ๑๓๐
                          ตัวอย่างบทฝึกนิสัยตนเอง                                                             ๑๓๑
                                      การทำงานอย่างมีสติสัมปชัญญะ                                      ๑๓๒
                                      บทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติเก็บใจไว้ในกาย                          ๑๓๓
                                      บทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติสัมปชัญญะผ่านการเดิน            ๑๓๔
                                      บทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติสัมปชัญญะผ่านการทำความสะอาด
                                      โต๊ะและเก้าอี้นักเรียน                                                        ๑๓๕
                                      บทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติสัมปชัญญะผ่านการใช้ห้องสุขา ๑๓๖
บทสรุปส่งท้าย                                                                                                         ๑๔๗
บรรณานุกรม                                                                                                           ๑๕๐
วิธีฝึกสมาธิเบื้องตัน                                                                                                 ๑๕๒

หมายเหตุ :  ลิงก์หัวข้อต่างๆ วางไว้ในเลขหน้าบทนั้นๆ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565

สติ สัมปชัญญะ : อ่านหนังสือหน้า "คำนำ"


การอ่าน "คำนำ" เป็นสิ่งจำเป็น ควรอ่าน อันดับแรกก่อน ไปอ่านบทอื่น ๆ ทำให้เราทราบถึงเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารว่า ในหนังสือเล่มนี้ มีความเป็นมาและข้อความสำคัญมีอะไรบ้าง.....คำนำกล่าวว่า...

คำนำ

 ตลอดเวลา ๒ ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด ๑๙ (COVID-19) และถูกกระหน่ำซ้ำเติมด้วยวิบัติภัยธรรมชาตินานาชนิดอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ผู้คนเจ็บป่วยทั้งโลกมากถึง ๒๕0 ล้านคนและล้มตายกว่า ๕ ล้านคน นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ของโลกในช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ซึ่งนำความเสียหายทุกด้านมาสู่โลกมนุษย์อย่างมากและยากต่อการฟื้นฟู


    ท่ามกลางความสูญเสียทั้งโลก มีเรื่องน่ชื่นชมอยู่อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ ผู้นำประเทศ รวมถึงองค์กรต่าง ๆ
ทั่วโลกได้พยายามป ระสานความร่วมมือต่อสู้ป้องกันโรคร้ายนี้กันอย่างสุดชีวิต มีทั้งการแบ่งปันยา ให้ยืมยากันระหว่างประเทศ ตลอดจนความทุ่มเทช่วยเหลือกันในด้านอื่น ๆ อย่างรีบเร่ง ราวกับประชาชนทุกคนทั่วโลกเป็นญาติสายโลหิตเดียวกัน

    แม้โรคระบาดมีแนวโน้มลดลงแต่ยังไม่หมดไปเด็ดขาด แต่ละประเทศต่างก็เตรียมฟื้นฟูประเทศของตนเต็มที่เพื่อให้ทันต่อวิบัติภัยเหนือความคาดหมายชนิดอื่นที่อาจมาช้ำเติม ซึ่งแต่ละประเทศก็เห็นตรงกันว่า การพัฒนาการศึกษาทุกระดับชั้นในสถานศึกษาปติทั่วประทศ และการให้การศึกษานอกสถานศึกษาแก่ประชาชนทุกเพศ วัย ฐานะ อาชีพให้เข้าใจวิชาการยุคใหม่ เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปพร้อมกันทั้งประเทศของตน เป็นสิ่งที่พึ่งทำอย่างเร่งด่วน แต่พึ่งอย่าด่วนทำเกินไป เพราะท่านผู้รู้จริงได้เตือนสติไว้ว่า
       ความรู้วิชาการไม่ว่าด้านใด สาขาใด ทรงคุณค่ามากเพียงใด หากไปเกิดกับคนพาล คือ คนขาดสติสัมปชัญญะเป็นนิจ มีจิตขุ่นมัวเป็นนิจ มีแต่จะนำความฉิบหายมาให้ เพราะเขาย่อมนำความรู้วิชาการนั้นไปใช้ในทางที่ผิด ๆ

    แต่ความรู้วิชาการไม่ว่าด้านใด หากไปเกิดกับบัณฑิตผู้มีจิตผ่องใส มีสติสัมปชัญญะมั่นคง สามารถควบคุม
ใจให้รู้จักยั้งคิดเป็นนิจได้ แม้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็มีแต่นำความสุขความเจริญมาให้ เพราะเขาย่อมนำความรู้วิชาการนั้นไปใช้ในทางที่ถูกที่ควรเท่านั้น

    ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ กองวิชาการอาศรมบัณฑิต จึงได้จัดพิมพ์หนังสือ สติสัมปชัญญะ รากฐานการศึกษา
ของมนุษยชาติ เพื่อเป็นธรรมบรรณาการแก่ท่านที่เคารพรัก เป็นที่ระลึกในวาระอายุวัฒนมงคลของหลวงพ่อทัตตชีโว ครบ ๘๑ ปี ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ โดยคณะศิษยานุศิษย์ได้พร้อมใจกันแสดงความกตัญญูกตเวทีร่วมกันประมวลบทเทศน์สอนและประสบการณ์การฝึกอบรมลูกศิษย์ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตตลอด ๕o พรรษากาลของท่าน คัดเลือกเฉพาะส่วนที่ว่าด้วยสติสัมปชัญญะ อันเป็นธรรมพื้นฐานของการศึกษาและการทำความดีทุกชนิดของมนุษย์ มาไว้ในเล่มเดียว โดยพยายามรักษาภาษาพูดง่าย  ตามสไตล์ของหลวงพ่อ พร้อมกับแทรกบทฝึกนิสัยและภาพการ์ตูนประกอบ ซึ่งเหล่าศิษย์ช่วยกันเรียบเรียง ช่วยกันวาดอย่างประณีตเป็นธรรมบูชา

    คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อท่านอ่านหนังสือ สติสัมปชัญญะ รากฐานการศึกษาของมนุษยชาติ เล่มนี้และประพฤติปฏิบัติตามบทฝึกนิสัยแล้ว ย่อมเกิดประโยชน์ในการสร้างบุญบารมีได้ตลอดรอดฝั่ง เพื่อไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรมของท่านเอง รวมทั้งญาติสนิทมิตรสหายและสัมพันธชนของท่านด้วย
 

คณะศิษยานุศิษย์
๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔ 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล