ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สติ สัมปชัญญะ : รากฐานการศึกษาของมนุษยชาติ ตอน แนะนำหนังสือ และวิธีการอ่านหนังสือ



 ชุดหนังสือ "สติ สัมปชัญญะ " ผู้เขียน คือ คุณครูไม่เล็ก หรือ หลวงพ่อทัตตชีโว ครูผู้ให้อริยทรัพย์แห่งปัญญาแก่ทุกคน

ในวันคล้ายวันเกิด วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ของคุณครูไม่เล็ก ซึ่งปีนี้ ท่านครบรอบอายุมหามงคล 81 ปี ลูกศิษย์หลายๆ ท่านได้เข้าร่วมงานมุฑิตาวันมหาอายุมงคล ปีนี้ท่านได้มอบหนังสืออันทรงคุณค่าไว้ให้ลูกศิษย์ได้นำไปอ่านทบทวน และ นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ท่านใดอ่านจบแล้ว ก็ขออนุโมทนาบุญ มา ณ โอกาสนี้ ส่วนท่านใดยัง หยิบๆ จับ ๆ ก็เริ่มลงมือเถอะ เพราะทุกครั้งที่อ่านหนังสือของหลวงพ่อฯ เริ่มอ่าน ใจเราก็เบิกบาน และมีกาย วาจา ใจ ผ่องใสๆ เป็นลำดับๆ เรียกว่า "ได้สร้างบุญใหม่" ให้กับตนเองทุกวินาที ที่ใจจรดจ่อกับตัวหนังสือทุกอักขระ ที่ปรากฎในนั้น เพราะใจเราเป็นสมาธิ มากขึั้นเรื่อย ๆ 

หากท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน ก็สามารถอ่านในบทความนี้ ซึ่งนำมาลงเป็นบทความที่ละบท ที่ละเนื้อหา จบจบ อ่านแล้วมีประโยชน์ก็บอกต่อ หรือ นำไปแชร์ต่อ ในแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการค้นคว้า พบเจอเนื้อหา ความรู้ ในเรื่องราวของ "สติ สัมปชัญญะ"  ได้ตามข้อมูลที่ต้องการ เป็นส่วนๆ หรือ ทั้งหมดของหนังสือ ลองฝึกอ่าน วันละนิดวันละหน่อย เพื่อไม่ให้กระทบเวลาการทำภารกิจด้านอื่น ๆ ที่เราจำเป็นต้องทำในแต่ละวัน  หนังสือนี้ได้แจกเป็นธรรมทานที่เว็บกัลยาณมิตรไว้เป็นไฟล์ PDF ประเภท Ebook คือ เปิดอ่านออนไลน์ในเว็บเหมือนหนังสือ หรือ โหลดไปอ่านแบบออฟไลน์ได้ (จะวางลิงก์ไว้ให้ไปโหลดเก็บไว้อ่าน ตามเวลาที่ท่านสะดวก แต่ใครชอบอ่านวันละนิดละหน่อยแบบสบาย ๆ ก็มาอ่านที่บล็อก "เรื่องเล่าตามกาลเวลา" ไปพร้อมกัน) เราก็จะเข้าใจว่า ทำไมหนังสือเล่มนี้ "สติ สัมปชัญญะ" หลวงพ่อจึงบอกว่า เป็นรากฐานการศึกษาของมนุษยชาติ

มาเริ่มอ่านหนังสือสติ สัมปชัญญะ กันเถอะ แต่ก่อนอื่นเราก็ต้องอ่านโอวาทของคุณครูไม่เล็กที่ให้ไว้ในหน้าแรก ดังว่า...

   "การศึกษา คือ การพัฒนาตนเองให้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เพื่อมุ่งสู่การฝึกฝนตน ให้มีนิสัยใฝ่รู้ความจริงของสรรพสิ่ง แล้วนำความรู้ความจริงเหล่านั้น มาประพฤติปฏิบัติขัดเกลาทั้งกาย วาจา ใจ ให้เว้นชั่วทุกชนิด รักทำแต่ความดีอย่างสุดชีวิตจิตใจ และรักการกลั่นใจให้ผ่องใสเพื่อไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรม"     

 

หลวงพ่อทัตตชีโว หรือ คุณครูไม่เล็ก

 หนังสือ "สติ สัมปชัญญะ" เป็นลิขสิทธิ์ ของ วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งจัดพิมพ์โดย กองวิชาการ อาศรมบัณฑิต พิมพ์ครั้งแรกวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 10,000 เล่ม ในหนึ่งเล่ม ก็มีจำนวน 184 หน้า แต่มีเนื้อหาจริงๆ คือ ถึงหน้า 161 

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ : จากสถิติการอ่านหนังสือคนไทย ยุคเทคโนโลยี่ใหม่ๆ นี้ พบว่าคนไทยอ่านหนังสือแบบออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่าเดิม แม้ว่าประชากรจะชอบอ่านหนังสือเป็นเล่ม ๆ แต่ก็มีการอ่านแบบออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยเว็บไซด์ หนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นไฟล์ ebook ต่างๆ  

ประเภทหนังสือที่คนชอบอ่านมากที่สุดคือข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ส่วนประเภทหนังสือแบบธรรมะนั้น หากจัดลำดับก็จะอยู่ในลำดับที่ 5 เรามาลองคำนวณว่า หากเราจะอ่านหนังสือ "สติ สัมปชัญญะ แบบออนไลน์ วันละกี่บทดีต่อวัน หากอ่านวันละ 3 นาทีต่อวัน ซึ่งก็น่าจะประมาณ 2 หน้า(ทั้งหมด 164 หน้า ) 

ดังนั้นหนังสือ "สติ สัมปชัญญะ" ก็จะอ่านจบ ประมาณ 2 เดือนครึ่ง ซึ่งในบล็อกนี้ ก็จะลงไปเรื่อยๆ เอาเป็นว่า ท่านสะดวกอ่านช่วงวันเวลาไหน ก็มาอ่านละกัน เห็นว่าดี ก็ช่วยกันนำไปแบ่งปันให้กับชาวเน็ต เพื่อนร่วมโลกได้อ่าน สามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อการพัฒนาชีวิตของตนเองได้ดีขึ้น และผลพลอยได้คือ เพื่อให้การค้นหาหนังสือ สติ สัมปชัญญะ รากฐานการศึกษาของมวลมนุษย์ชาติ ค้นหาได้ง่ายขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์ และเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าต่อผู้ที่สนใจ.




วิธีการอ่านหนังสือ : อ่านคำนำ อ่านสารบัญ อ่านบทสรุป

อันดับแรก ควรอ่าน "คำนำ" ก่อน

จากนั้นจึง "อ่านสารบัญและหัวข้อย่อย"  : เพื่อทำให้เรารู้ใจความ เนื้อหาสำคัญในบทต่าง ๆ ที่เราต้องอ่าน มีอะไรบ้าง ผู้เขียนต้องการสื่ออะไร เราก็ได้รู้เรื่องราวคราวๆ และจะเข้าใจรายละเอียดได้ง่ายขึ้นเมื่อเราไปอ่านรายละเอียดแต่ละบท

ต่อมาจึง "อ่านบทสรุป"

เพื่อที่เราจะได้เข้าใจโครงสร้างหนังสือว่า เริ่มต้นและจบอย่างไร

จากนั้นจึงอ่านที่ละบท เพื่อทำความเข้าใจประเด็นหลัก จึงไปอ่านรายละเอียดอีกครั้ง 

ขณะอ่าน ก็ต้องตั้งคำถามด้วย ในประเด็นที่เราสงสัย และค้นหาคำตอบ ในบทต่อๆ ไป 

หรือ ผู้เขียนต้องการสื่ออะไรให้เราทราบเพิ่มเติม 

👉ไปที่ หน้า "คำนำ"

👉ไปที่ หน้า "สารบัญ" สติ สัมปชัญญะ

👉ไปที่ หน้า "บทสรุป"

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา : พระอนุรุทธเถระ

อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา ตอน พระอนุรุทธเถระ

 

 พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน กินททสูตรว่า...

บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ และผู้ที่ให้ที่พักชื่อว่า ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรมะ ชื่อว่าให้อมฤธรรม

อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชานั้นมากมายมหาศาล เป็นบ่อเกิดแห่งทิพยสมบัติ มนุษย์สมบัติ ทำให้ได้สมบัติอย่างยิ่งคือนิพพานสมบัติ เป็นการบูชาที่มนุษย์ทุกคนควรทำ ควรสั่งสมบุญพิเศษนี้ไว้จะได้มีชีวิตที่รุ่งเรือง ดังประทีปที่รุ่งโรจน์สว่างไสว เมื่อไปเกิดในเทวโลกก็จะเป็นเทวดาที่มีทิพยจักษุที่พิเศษกว่าเทวดาทั้งหลาย ในชาติที่ออกบวช เมื่อบำเพ็ญสมาธิ ย่อมบรรลุธรรมได้เร็วและเป็นเหตุให้ได้ตาทิพย์ ดังเรื่องของพระอนุรุทธเถระเจ้า ผู้ทรงอภิญญาเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีทิพยจักษุ

ในการแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมมุตตระ พระอนุรุทธเถระได้เกิดเป็นกุฎุมพีมีทรัพย์มาก วันหนึ่งได้ไปฟังธรรมร่วมกับมหาชน ครั้งนั้นพระปทุมมุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อแสดงธรรมจบลงแล้ว ได้ทรงสถาปนาพระอรหันต์องค์หนึ่งอยู่ในตำแหน่งเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย กุฎุมพีได้เห็นแล้วก็มีจิตเลื่อมใสคิดว่าภิกษุนี้ มีคุณความดีมาก จนพระผู้มีพระภาคเจ้าแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งอันเลิศด้านทิพยจักษุ 

แม้ตัวเราก็ควรจะได้เป็นเลิสทางด้านทิพยจักษุในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต คิดอย่างนี้แล้วจึงได้แหวกกลุ่มชนเข้าไปกราบนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์นับแสนรูปเพื่อไปรับภัตตาหารที่บ้านของตน 

เขาได้ถวายมหาทานติดต่อกันถึง 7 วัน ในวันที่ 7 ก็ได้ถวายผ้าอย่างดีพร้อมเครื่องเย็บและเครื่องย้อมแด่พระปทุมุตตระพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าภิกษุสงฆ์แสนรูป แล้วตั้งความปรารถนาเฉพาะพระพักตร์ว่า

ข้าพระองค์กระทำสักการบูชาในครั้งนี้ ไม่ได้ประสงค์ในทิพยสมบัติหรือมนุษย์สมบัติอื่นใดเลย 7 วันก่อนหน้านี้ พระองค์ทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้านทิพยจักษุขอให้ข้าพระองค์ได้ตำแหน่งผู้เลิศเช่นนั้น ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งอนาคตกาลเถิดพระเจ้าค่ะ

พระปทุมุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรวจดูในอนาคต ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุฎุมพีในอนาคตจะสำเร็จแน่นอน จึงพยากรณ์ว่า ในอนาคตอีกแสนกัปจะมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าโคดม ท่านจะได้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้านทิพยจักษุมีชื่อว่าอนุรุทธ

กาลต่อมา เมื่อพระปทุมุตตระพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว มนุษย์และเทวดาช่วยกันสร้างพระเจดีย์ทองสูง 7 โยชน์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เขาเกิดศรัทธาปรารถนาจะสั่งสมบุญกับพระเจดีย์ทองบ้างจึงเข้าไปถามพระสงฆ์ว่า…

ข้าแต่พระคุณเจ้า การทำบุญเพื่อให้เกิดผลเป็นทิพยจักษุนั้นจะต้องทำอย่างไรขอรับ ภิกษุสงฆ์ตอบว่า ควรบูชาด้วยประทีปนะอุบาสก

เมื่อทราบวิธีการแล้ว จึงได้ทำประทีปใหญ่ 1000 ต้น นำไปตั้งไว้รอบๆ เจดีย์ทอง และให้ดวงประทีปเล็กๆคั้นในระหว่างกลางประทีปดวงใหญ่ๆ จุดบูชาพระเจดีย์ทอง นับรวมกับประทีปที่มหาชนนำมาบูชา ก็เป็นประทีปหลายพันดวง ได้มีแสงสว่างประดุจกลางวัน เขาได้สั่งสมบุญอย่างอื่นอีกมากมายจนตลอดชีวิต

เมื่อละโลกไปแล้ว ได้ไปบังเกิดในเทวโลกเสวยทิพยสมบัติเป็นเวลานาน เป็นเทวดามีรัศมีกายรุ่งเรืองสว่างกว่าเทวดาทั้งหลาย ได้เป็นท้าวสักกเทวราช เสวยเทวราชสมบัติ ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถึง 30 ครั้ง เมื่อบุญลดหย่อนลง ได้มาเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อีกถึง 28 ครั้ง ดวงพระเนตร มีประสิทธิภาพพิเศษ สามารถมองเห็นได้ไกลถึง 1 โยชน์

ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า “มหากัสปะ” เมื่อพระองค์เสด็จกับขันธ์ปรินิพพานแล้ว มหาชนช่วยกันสร้างพระเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสำเร็จแล้ว ทำการบูชาพระศรีด้วยการบรรจุถาดสำริดด้วยเนยใส ทำไส้ไว้ตรงกลาง จุดบูชาโดยรอบพระเจดีย์ ท่านได้เกิดในตระกูลใหญ่มีทรัพย์มาก ปรารถนาจะบูชาให้ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ จึงให้ทำถาดสำริดใบใหญ่กว่าทานทั้งปวงบรรจุเนยใสจนเต็ม ทำไส้ พันไส้ไว้โดยรอบ ทำไส้ใหญ่ตรงกลาง จุดไส้ใหญ่นั้นให้สว่างขึ้น ถือถาดนั้นไว้บนศีรษะ เดินเวียนรอบพระเจดีย์เป็นพุทธบูชา

ชาติสุดท้ายได้เกิดเป็นโอรสพระเจ้าอาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีนามว่า “อนุรุทธ” ได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ เรียนกรรมฐานกับพระสารีบุตรเถระ และไปปฏิบัติธรรมที่ป่าแห่งหนึ่ง เกิดไม่เข้าใจพุทธพจน์บทหนึ่ง พระพุทธพจน์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบจึงเสด็จไปแสดงธรรมให้ฟัง จนท่านเกิดความเข้าใจ ทำความปรารถนาในใจท่านให้เต็มเปี่ยม เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จกลับแล้ว ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทรงคุณวิเศษคือ ปฏิสัมภิทา 4 และอภิญญา 6 ได้รับแต่งตั้งจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ในตำแหน่งผู้เลิสด้วยทิพยจักษุ ท่ามกลางพุทธบริษัท 4

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ท่านได้เป็นผู้เดียว ที่ได้ใช้ทิพยจักษุติดตามเห็นทุกขั้นตอนการเสด็จดับขันพระปรินิพพาน และประกาศให้คณะสงฆ์ทราบเป็นระยะ ๆ

เราจะเห็นได้ว่าการจุดประทีปเป็นพุทธบูชานั้น มีอานิสงส์ใหญ่ ทำให้ได้ทิพยจักษุ ควรที่เราทั้งหลายจะได้ทำตามอย่างเช่นบัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อน เพื่อบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่จะได้ติดตามเราไปทุกภพทุกชาติตราบถึงที่สุดแห่งธรรม

ชมตัวอย่างภาพสวยๆ จากพุทธศิลป์

 

 

ขอเชิญร่วมงานจุดประทีปมาฆบูชา วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565

ออนไลน์ผ่าน Zoom ตามห้องที่ท่านสะดวกในลิงก์ด้านล่าง

https://www.zoom072.net

หรือที่ช่อง

www.gbns.com


 

 

ชมคลิปภาพสวยๆ จากพุทธศิลป์

 
 
 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ