ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565

เคล็ด(ไม่)ลับในการสร้างความสุข : ตอน "กฐินสัมฤทธิ์"

 

ประเพณีการทอดกฐิน คือการทำบุญถวายผ้าทอดกฐินเป็นทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ปีหนึ่งมีครั้งเดียว วัดแต่ละวัดจะต้องมีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาครบ 5 รูปจึงสามารถรับกฐินได้ ซึ่งมีระยะเวลา 1 เดือนในการรับกฐินของแต่ละวัด 

โดยต้องถวาย "เป็นสังฆทาน" ไม่เจาะจงภิกษุสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง ต้องมีพระสงฆ์ผู้จำพรรษา
อยู่ในวัดใดวันหนึ่ง ครบ 3 เดือน และ ไม่ต่ำกว่า 5 รูป ในการทำพิธี
โดยกำหนดระยะเวลาตาม "พระวินัย" ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำา เดือน 12
อีกทั้งยังต้อง กรานกฐิน ให้เสร็จภายในวันนั้นอีกด้วย

โดยในปัจจุบันมีจำนวน วัด ในประเทศไทยมากถึง 40,000กว่าวัดทั่วประเทศ
แต่จากข้อมูลสถิติ เผยให้เห็นว่ามีจำนวนวัดที่ถูก ทิ้งร้างมากขึ้นเช่นกัน

จากผลสำรวจในปีพุทธศักราช 2514 พบว่า วัดมีการถูกทิ้งร้างมากถึง 3,000 กว่าวัด
และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

จนในปัจจุบันนี้ ผ่านมากว่า 50 ปี มีจำนวนวัดร้างเพิ่มขึ้น ถึง 6000 กว่าวัด
ด้วยปัญหานี้ถือว่ามีแนวโน้วที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
จนทำให้มี "กฐินตกค้าง" มากขึ้นทุกปี
จึงมีแนวคิดในการริเริ่มโครงการเพื่อแก้ไขปัญหานี้ นั่นคือ โครงการ
"กฐินสัมฤทธิ์เด็กดีวีสตาร์"



 โครงการที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญา กฐินตกค้าง
ให้มีการจัด ทอดกฐิน ไปสู่ทุกวัดทั่วไทย เป็นโครงการที่ดำริขึ้น โดย  "หลวงพ่อธัมมชโย"
ซึ่งคำว่า "กฐินสัมฤทธิ์" หมายถึง กฐินที่นำความสำเร็จมาสู่ผู้ให้และผู้รับ
โดยมีเหล่า "เด็กดี V-Star" เป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการนี้
โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างเยาวชน ให้เป็นต้นแเบบ
ในการทำความดี ได้แสดงออกถึงพลังที่มีด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูศีลธรรม ให้เกิดขึ้นแก่สังคม
ผ่านเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียนให้เข้มแข็งขึ้น
นับเป็นโครงการที่จะผลักดัน การทอดกฐินให้เฟื่องฟูไปสู่ทุกวัด
และไม่มีกฐินตกค้างบนพื้นแผ่นดินไทย ได้อย่างยั่งยืน

วัดร้าง หมายถึง วัดที่ไม่มีพระจำพรรษา หรือ มีพระจำพรรษาน้อย ปัจจุบันพบวัดบ้างวัดมีแค่เจ้าอาวาสเพียงรูปเดียว และสามเณรน้อยอยู่ประจำวัดเพียงสองหรือสามรูป ซึ่งการดูแลรักษา การฝึกฝนอบรม การรักษาประเพณีต่าง ๆ การศึกษาธรรมของชาวพุทธก็ไม่มีความพร้อมในการถ่ายทอดออกมาให้ชาวพุทธได้รับความรู้และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ความสุขของมนุษย์จริงๆแล้วคือ อะไร 

เมื่อทำความดีใจก็เกิดปีติเป็นสุข  กายก็เป็นสุข เมื่อใจเป็นสุข ชีวิตก็ยิ่งมีความสุขยิ่งขึ้น สุขภาพชีวิตก็ดีตาม

หลวงพ่อธัมมชโย ได้กล่าวไว้ว่า...

ถ้ามี “วัดร้าง” เกิดขึ้น
ในยุคที่เรามาเกิดสร้างบารมี
มันอายฟ้าอายดิน
วัดร้างต้องเป็นวัดรุ่งด้วยมือของเรา
เรามีเวลาอยู่ในโลกนี้ไม่นาน
ไม่ควรปล่อยเวลา
ให้ผ่านไปฟรีๆ แก่ไปฟรีๆ
ให้ทุกวินาทีผ่านไป
พร้อมกับบุญบารมีที่เพิ่มขึ้น
เวลาเป็นบุญบารมี
เราต้องใช้ทุกอนุวินาที
สร้างบุญบารมีให้เต็มกำลัง 

(จากชุดหนังสือ การสร้างบารมี คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ )

 

 

“ในเมื่อเด็กตัวเล็กๆ ยังสามารถเป็นประธานกฐินได้ แล้วทำไมเราถึงจะเป็นประธานกฐินไม่ได้”

ดังนั้นขอเชิญชวนผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน 

ร่วมกันเป็นเจ้าภาพรวมทอดกฐินสัมฤทธิ์วัดทั่วประเทศ สร้างความสุขให้กับตนเอง ครอบครัว สังคม  

โครงการกฐินสัมฤทธิ์ได้จัดกิจกรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และยังดำเนินการจัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญในการทำหน้าที่ปกป้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและเป็นต้นบุญต้นแบบในการทำความดีของเหล่าเด็กดี V-Star กฐินสัมฤทธิ์จึงนับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่ชาวโลกจะได้มีโอกาสเห็นภาพเด็กดี V-Star ทำหน้าที่เป็นประธานกฐินสัมฤทธิ์และช่วยเหลือการจัดงานในส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นภาพที่นำความปลื้มปิติมาให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็น มาเป็นกำลังใจให้เยาวชนคนดีที่โลกต้องการกันเถอะ

ปัจจุบันสถานการณ์ช่วงโควิด19 ระบาด ก็ได้ปรับวิธีการทอดกฐินสัมฤทธิ์ ผ่าน Zoom หรือ แม้ว่าจะได้รับการผ่อนปรน จนเข้าสู่สถานการณ์ปกติ สาธุชนก็ได้เข้าร่วมพิธีในพื้นที่จริง ซึ่งเมื่อมาทำกิจกรรมในวัด ทางวัดก็ได้แจ้งเตือน ไม่ให้ประมาท

ซึ่งก็ได้แจ้งขอความร่วมมือให้ใส่หน้ากากอนามัยกันไว้ก่อน ตอนอยู่ที่บ้านจะถอดหน้ากากอนามัยก็แล้วแต่ แต่มาร่วมกิจกรรมงานบุญที่วัด ขอให้ใส่หน้ากากอนามัยกันไว้ก่อน เพราะเราอยู่กันเยอะ ไม่ใช่เราไม่คุ้นเคย เราก็ใส่กันมานานแล้ว ใส่แค่วันเดียวที่มาร่วมงานบุญที่วัด ใส่ไม่กี่นาที แต่ชีวีจะยืนยาว...

ทานบารมี
เป็นบ่อเกิด
แห่งโภคทรัพย์สมบัติ

ตอนนี้มีชีวิตอยู่
มีทรัพย์อยู่
มีเนื้อนาบุญอยู่
ก็ให้รีบมีศรัทธาสร้างบุญให้กับตนเอง

บุญก็จะหนุนนำให้ชีวิตมีความสุข ตลอดเวลาและตลอดไป


  ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2565

เหล่ากอสมณะ : ชีวิตออกแบบได้ "บวชตั้งแต่อายุยังน้อย"

ในทุกวันอาทิตย์ ช่อง GBNUS LIVE  จะมีรายการ  "ผู้ออกแบบชีวิต On Zoom" ช่วงนี้จะเป็นรายการสัมภาษณ์ชีวิตอดีตที่เคยเป็นสามเณร และได้บวชเรียน บำเพ็ญตบะ ฝึกฝนตนเอง ศึกษาเล่าเรียนบาลีตั้งแต่อายุยังน้อย ชีวิตพระภิกษุสงฆ์แต่ละรูป ท่านมีความเพียร และอดทนในการฝึกตนเพื่อเป็นพระแท้  อย่างไร เรามาฟังโอวาทหลวงพ่อทัตตชีโว ที่ท่านเคยให้โอวาทแก่สามเณรน้อยไว้ว่า.....


บวชเพื่อสั่งสมผังความหนาแน่นในเพศสมณะ

การที่ลูกได้บวซตั้งแต่อายุยังน้อย ถือเป็นความโชคดีเหลือหลาย
เพราะทำให้ได้รู้จักการรักษาศีล การนั่งสมาธิ และไต้ศึกษาคำสอนของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่เยาว์วัย ไม่มีที่ใดในโลกจะปลอดภัยเท่ากับการได้
อยู่ในเพศของสมณะหรอกลูก

ศีลในตัวมาเตือนให้บวช

การที่คนเราจะได้เกิดมาเป็นคนนั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ถ้าหากไม่ได้
มีบุญจากการรักษาศีลข้ามภพข้ามชาติมาตี่ ก็ไม่มีโอกาสไต้มาเกิดเป็นคน
เพราะหากชาติใดพลาดพลั้งไปทำผิดศีล วิบากกรรมก็จะส่งผลให้ต้องไป
เกิดเป็นสัตว์ไต้

ส่วนผู้ที่รักษาศีลข้ามภพข้ามชาติมาดีส่งผลให้ได้เกิดมาเป็นคน และ
อำนาจศีลในตัวก็จะมาเตือนให้อยากเข้าวัตปฏิบัติธรรมตั้งแต่อายุยังน้อย
มาเตือนให้อยากบวช อยากเข้ามาอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนา เหมือนลูก ๆ
ทุกรูป

แม้ศีลในตัวจะเตือนให้ได้มาบวชแล้ว แต่ลูกก็คงเห็นแล้วว่า เพื่อน
ของเราบางรูปก็ลาสิกขาออกไป ฟ้องว่าภพชาติที่แล้วเขามีบุญบวชช่วงสั้น
แต่เพราะความคุ้นกับศีลในระดับเป็นนักบวชของเขายังหนาแน่นไม่พอ จึง
ไม่อาจจะครองตัวอยู่ในเพศสมณะได้ แต่ลูก ๆ มีบุญบวชช่วงยาว และบุญ
จากการรักษาศีลข้ามภพข้ามชาติมีความหนาแน่นมากพอ จึงสามารถบวช
ไต้จนถึงวันนี้

คำว่า "ความหนาแน่น" ในที่นี้คือ การที่เคยบวชช่วงยาวมาข้ามภพ
ข้ามชาติ และเมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจรักษาศีลอย่างตี รวมทั้งศึกษาธรรมะด้วย
เมื่อเกิดใหม่ในแต่ละซาติ อำนาจความหนาแน่นของบุญจากการรักษาศีล
ความหนาแน่นของเนกขัมมบารมี จึงเตือนให้อยากบวชเหมือนอย่างที่เคย
ทำมาทุกชาติ

วิธีที่จะทำให้เห็นภาพตามที่หลวงพ่อพูดไต้ชัดเจนมีอยู่วิธีเดียว คือ
ต้องตั้งใจนั่งสมาธิให้ข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ และต้องประคองใจให้เห็น
พระธรรมกายชัด ใส สว่าง มั่นคง อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จากนั้น
ก็ไประลึกชาติดู แล้วลูกจะหมดความสงสัย เพราะเห็นอย่างที่หลวงพ่อบอก
ด้วยตัวเอง


สร้างผังบวชให้หนาแน่นด้วยการแก้ไขนิสัยตัวเอง


ในกลุ่มที่บวชเป็นสามณรมาด้วยกัน แต่ละรูปมีความมั่นคงในศีล
ไม่เท่ากัน บางรูปมีความมั่นคงในศีลมาก ส่วนบางรูปก็ยังกะพร่องกะแพร่ง
รูปใดที่ศีลกะพร่องกะแพร่ง แสดงว่าผังเดิมข้ามชาติก็ทำมากะพร่อง
กะแพร่ง กระย่องกระแย่ง

กระย่องกระแย่งเป็นอย่างไร ลองนึกถึงอาการของคนที่ไม่ได้ใส่
รองเท้า แล้วเดินข้าไปในดงของต้นไมยราบ เขาจะเดินยีกยัก ๆ ลงน้ำหนัก
เหยียบพื้นไม่เต็มฝาเท้า เพราะกลัวว่า หนามของต้นไมยราบจะต่ำเท้า ที่เดิน
อย่างนั้นแหละเรียกว่า กระย่องกระแย่ง

พวกที่รักษาศีลมากระย่องกระแย่งชาติที่แล้ว พอมาถึงชาตินี้
แม้เขาจะบวชด้ตลอดชีวิต แต่ถ้าไม่ปรับปรุงแก้ไขนิสัยของตัวเอง เขาก็จะยัง
คงมีเชื้อกระย่องกระแย่งติดเป็นนิสัยข้ามชาติต่อไปอีก

หลวงพ่อและพระอาจารย์พอจะช่วยขี้ทางในการสร้างบารมี
ตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลวงปู่วัดปากน้ำ หลวงพ่อธัมมชโย
และคุณยายอาจารย์ฯ ได้ แต่การที่จะทำให้กลายเป็นนิสัยติดตัวข้ามชาติ
ลูกต้องฝึกเอาเอง เพราะฉะนั้นชาตินี้ขอให้ตั้งใจ อดทนฝึกฝนตนเอง ฝืนใจ
แก้ไขนิสัยไม่ดีให้หมดไป

เมื่อเราตั้งใจแก้ไขนิสัยกันอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันอย่างนี้ บุญบารมี
ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะไปปิดบัญชีวิบากกรรมที่เคยทำผิดพลาดมา เสริมผัง
ที่ดีในอดีต และเป็นการสร้างผังหรือสร้างโปรแกรมในอนาคตชั้นเยี่ยมให้แก่
ตัวเราเอง เทคโนโลยีทงโลกตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ ฉันใด เราก็สามารถ
ตั้งโปรแกรมการสร้างบารมีของเราได้ ฉันนั้น

เมื่อเกิดใหม่ในภพชาติต่อไป ความมั่นงในศีลจะส่งผลให้เกิดมาเป็น
คน ได้รูปร่างลักษณะที่ดีพร้อมความใสและความนิ่งของใจที่สั่งสมมา จะทำ
ให้จิตใจเราผ่องใสจนกระทั่งถึงระดับที่สามารถระลึกชาติได้ ภาพในอดีตชาติ
ที่เราเคยสั่งสมความรู้ใด ๆ มานับภพนับชาติไม่ถ้วน ก็จะย้อนกลับมาให้เห็น
เหมือนกรอภาพวิดีโอ เมื่อเห็นแล้วก็จะเกิดเป็นความรู้ และความรู้ตรงนี้
จะส่งผลให้เราสามารถสร้างบารมีได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก

หลวงพ่อขออนุโมทนาที่ลูกทุกรูปตั้งใจบวช ตั้งใจรักษาศีลกันมา
อย่างตึ ทั้งศึกษาพระปริยัติ ทั้งนั่งสมาธิ และตั้งใจช่วยหลวงพ่อจัดงาน
ประชุมพระ ประชุมคน เป็นหมื่น เป็นแสน ด้วยอำนาจกุศลผลบุญเหล่านี้
ขอให้ลูกหลวงพ่อทุกรูปบวชเป็นพระภิกษุได้ และรักษาศีลได้มั่นคง
ให้เป็นศีลที่บริสุทธิ์ เป็นศีลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์
ทั้งหลายสรรเสริญว่าดีแล้ว ยอดเยี่ยมแล้ว ให้ศีลอันบริสุทธิ์นี้กลายเป็น
ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ติดตัวข้ามภพข้ามชาติไป และนับจากนี้เป็นต้นไป
ก็ให้มีแต่ความพอใจในการประพฤติพรหมจรรย์ให้ทับทวีหนาแน่นยิ่งขึ้น
และให้สามารถปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ซึ่งจัดเป็นอริยมรรคได้สมบูรณ์
มั่นคงตลอดไป ให้เข้าถึงพระธรรมกายโตยง่ายและแตกฉานวิชชาธรรมกาย
ตามหลวงปู่วัดปากน้ำ หลวงพ่อธัมมชโย และคุณยายอาจารย์ฯ ไปได้
โดยง่ายตลอดไปทุกภพทุกชาติ ตราบวันถึงที่สุดแห่งธรรมเทอญ

จากใจแอดมิน....เมื่อเห็นว่า การบวชมีประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และ ผู้อื่น 

ก็ขอเชิญชวนชายแมนๆ มาบวชกันเถอะ สร้างกุศลใหญ่ข้ามชาติให้ตนเอง ชีวิตก็เป็นสุขตลอดเวลา

บวช ทดแทนพระคุณบิดามารดา

สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

เปิดทางสวรรค์และนิพพาน

ให้กับตนและทุกคนในโลก

 


บวชบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ ปี 2565
อบรม 13พ.ย.65 - 7มี.ค.66
พิธีบรรพชา ส.26พ.ย. ณ วัดพระธรรมกาย

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

 

 

สุขแบบพระ : หัวใจของนักบวช

 

หัวใจของนักบวช คือ การรักษาพระธรรมวินัย

พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อทัตตชีโว (ขณะดำรงสมณศักดิ์ พระภาวนาวิริยคุณ)
พวกเราทุกรูปมีโอกาสได้บวชตั้งแต่อายุยังน้อย ได้ เรียนรู้เรื่องบุญ เรื่องบาปตั้งแต่ยังเล็ก ไม่ต้องไปก่อเวรยิง นกตกปลา ไม่ต้องไปเสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง ไม่ต้องไปหานรก เข้าตัวแบบชาวโลก ก็ขอให้เราตระหนักถึงความโชคดีของ เราไว้ให้มาก

เมื่อพวกเราทุกรูปมีบุญได้บวชกันตั้งแต่อายุ ๑๒ - ๑๓ ปี จนกระทั่งวันนี้บวชเป็นสามเณรผ่านมา ๙ - ๑๐ ปี แล้ว และกำลังจะได้บวชเป็นพระภิกษุสมความปรารถนา ต้องถือว่าเป็นการบวชที่ประสบการณ์ราบรื่น ได้เรียนเต็ม ที่ ไม่ต้องห่วงเรื่องขบฉัน ไม่ต้องห่วงเรื่องขาดแคลนตำราเรียน มีอาจารย์สอนหนังสือไว้พร้อมทั้งหมด สิ่งแวดล้อม มีความเหมาะสมเหลือเกิน ที่จะสนับสนุนให้เราได้ศึกษา และฝึกฝนทั้งหยาบทั้งละเอียดให้บริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งๆ ขึ้นไป

การฝึกหยาบ คือ การเรียนด้านศาสตร์ที่เป็นความ รู้ปริยัติ เช่น ภาษาบาลี เป็นต้น การฝึกละเอียด คือ การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปรับปรุง นิสัยตนเองให้บริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งๆ ขึ้นไป

บางคนในโลกนี้ ร่ำเรียนกันมาจนพูดได้หลายสิบ ภาษา แต่ว่าขาดไปภาษาหนึ่ง นั่นคือ ภาษาคน เพราะมุ่ง เอาแต่การเรียนวิชาการ แต่ยังไม่ได้แก้ไขปรับปรุงนิสัยของ ตน การฝึกตนจึงต้องฝึกหยาบคู่ไปกับการฝึกละเอียด มิ ฉะนั้น จะมีแต่ความรู้ แต่นิสัยจะยังไม่ดี

ในการเรียนของการคณะสงฆ์เรา แบ่งเป็นสายบาลี กับสายนักธรรม สาเหตุที่แบ่งเป็นสองสายแบบนี้ ก็เพราะ ต้องการให้พวกเรารู้ว่า เมื่อเรียนภาษาบาลีแล้ว งานที่ต้องทำไม่ใช่แค่การรู้ภาษาบาลี แต่ยังมีงานแก้ไขปรับปรุงตัวเองด้วย ซึ่งการแก้ไขปรับปรุงตนเองนั้น จะมีสอนอยู่ในสายนักธรรม

ดังนั้น เป้าหมายของสองสายนี้จึงต้องไปร่วมกัน การเรียนบาลีทำให้ได้รู้จักการแปลภาษาบาลีคล่อง เพราะพุทธ วจนะในการฝึกตนเก็บอยู่ในภาษาบาลี การเรียนนักธรรม เพื่อให้ได้รู้จักการแก้ไขปรับปรุงนิสัยตัวเอง เพราะการปิด นรก เปิดสวรรค์ ไปนิพพานอยู่ที่การฝึกตน

พวกเราโชคดีที่บวชตั้งแต่ยังเล็ก จนกระทั่งเติบโตได้ บวชเป็นพระภิกษุ จึงต้องรู้หลักการรักษาความเป็นสมณะ ของตนเองให้ดีว่า บาลีมีไว้ไขภาษา นักธรรมมีไว้แก้ไข ปรับปรุงตนเอง สองอย่างนี้พรากจากกันไม่ได้

ข้อได้เปรียบของการบวชตั้งแต่เล็ก คือพวกท่านจะ ไม่มีขยะในใจ ไม่ต้องไปก่อเวรก่อบาป ไม่ต้องไปเฉียดคุก จดหมายจากพระลูกชาย  เฉียดตะรางเหมือนเด็กชาวโลกบางคน คนที่มาบวชตอน เป็นผู้ใหญ่ กว่าจะเอาขยะในใจที่ติดมาออกไปได้ ต้องใช้ คำว่าแทบลากเลือด

สมัยหลวงพ่อเข้าวัดใหม่ๆ ยังไม่ได้บวช พอหลับตา ทำสมาธิ ควายที่เคยฆ่าตอนเรียนสัตวบาล มันมาดิ้นบนตักให้เห็นเลย กว่าจะล้างขยะออกจากใจได้ ฝึกสมาธิ ผ่านไปเป็นสิบปี พวกท่านไม่ต้องมาผ่านเส้นทางนี้ นี่คือความมีโชคของทุกคน ที่ได้เติบโตอยู่ในเส้นทางที่บริสุทธิ์ ผุดผ่องดีงาม

โบราณบอกว่า ใจบริสุทธิ์เหมือนผ้าขาวนั้นเป็นความจริง หลวงพ่อต้องมาอาศัยคุณยายอาจารย์และหลวงพ่อครูไม่ใหญ่ช่วยโกยขยะออกจากใจอยู่หลายสิบปี จึงรอดมานั่งอยู่ได้ตรงนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อหลวงพ่อบวชแล้ว จึงปิดนรกหนทางนรกให้ตนเองได้ พวกเราเมื่อบวชเป็นพระใหม่ ก็ขอให้ฝึกตนตามหลักสูตรไป รักษาความโชคดีของ เราไว้ให้ได้ อย่าไปเพิ่มขยะให้ใจตนเอง

ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม คนที่ไม่ได้ฝึกทั้งหยาบและ ละเอียดควบคู่กันมานั้น ชะตาชีวิตจะหนีไม่พ้นต้องเป็นคนขยะ เมื่อพวกเราบวชแล้ว ขอให้รักษาธรรมวินัยให้ดี อะไรที่ผิดธรรมวินัยแม้เพียงนิดเดียว อย่าได้ไปลองทำเด็ดขาด ต้องรู้จักรักษาความเป็นสมณะของเราให้ดี เผลอไปลองเข้าไม่รักษาธรรมวินัยให้ดี เราจะกลายเป็นคนขยะทันที

เพื่อนที่เข้ามาบวชรุ่นเดียวกับเรา นั่งเรียนเก้าอี้ติดกันกับเรา ใช้โต๊ะตัวเดียวกัน ห้องเรียนเดียวกัน ใช้กุฏินอนหลังเดียวกัน แต่หลุดออกไปก่อนก็มี เพราะเขาไม่ ได้ระวังสิ่งเหล่านี้ ซึ่งคือชีวิตของนักบวช เราต้องยืนอยู่ บนเส้นทางของธรรมวินัยให้เคร่งครัด เพราะว่าการรักษา ธรรมวินัย คือการรักษาชีวิตพระของเรา คือการรักษาชีวิต ของพระพุทธศาสนาเรา

เมื่อวันที่หลวงพ่อบวชเพิ่งบวชได้ ๗ วัน คุณยาย อาจารย์เคยเตือนหลวงพ่อว่า “ท่านทัตตะ ท่านต้องช่วยยาย เทศน์อบรมคนนะ เพราะยายแก่แล้ว แล้วก็สอนวิธีเทศน์ ให้หลวงพ่อ” จากนั้นอีกไม่กี่วัน คุณยายก็บอกกับหลวง พ่ออีกว่า “ท่านทัตตะ ยายขอนะ ถ้าไม่ครบ ๑๐ พรรษา ห้ามออกไปเทศน์นอกวัด” ก่อนบวชนั้นหลวงพ่อเคยย่ำข้ามทวีปมาแล้ว แต่พอบวชแล้ว คุณยายก็ยังขอให้บวช ครบ ๑๐ พรรษาก่อน จึงไปเทศน์นอกวัด

หลวงพ่อก็ตอบคุณยายชัดว่า “พระไม่ได้คิดอยาก เทศน์อะไรเลย แต่คุณยายให้เทศน์ก็เทศน์” แต่เพราะ หลวงพ่อเองทั้งถูกคุณยายขอร้องให้ช่วยเทศน์และขอร้องไม่ให้ไปเทศน์นอกวัด หากไม่ครบ ๑๐ พรรษา จึงอยากทราบเหตุผล

คุณยายท่านตอบชัดเจน “ท่านต้องรู้นะ ผู้ที่ไม่ ปรารถนาดีต่อพระบ้าง ต่อพระพุทธศาสนาบ้าง มันมีอยู่ ท่าน บวชพรรษาแรกๆ รู้ไม่ทันเขาหรอก แล้วเราเองไม่ระมัดระวังตัว ไม่รู้ว่าควรทำไม่ควรทำ พอเกิดเป็นตำหนิขึ้นมา ชาตินี้ ทั้งชาติท่านจะแก้ไขยาก เขาสึกกันไปเยอะแล้ว” นี่คือสิ่งที่ คุณยายท่านเตือนหลวงพ่อเมื่อบวชได้ไม่กี่วัน

ส่วนหลวงพ่อครูไม่ใหญ่ คุณยายท่านขอว่า “ชาตินี้ทั้ง ชาติ อย่าไปเทศน์นอกวัด” หลวงพ่อก็เลยถามเหตุผลจาก คุณยายว่าทำไม คุณยายตอบชัดเจนดีเหลือเกินว่า “อันตราย เพราะหลวงพ่อท่านหุ่นดีเหลือเกิน พูดเพราะเหลือเกิน ฉลาดเหลือเกิน คนที่ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนามีอยู่มาก ท่านจึงตกเป็นเป้าให้โจมตีได้ง่าย” เพราะว่าหลวงพ่อท่าน ฉลาดเหลือเกินนี่เอง จึงทำงานใหญ่ได้ขนาดนี้ คุณยายจึง ต้องป้องกันไว้ตั้งแต่ต้น ทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้ไปทำผิดอะไร แต่ก็มีคนเอาขี้ป้ายจนลากขึ้นศาล เพราะเขาเห็นว่า ท่าน คือกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา เขาจึงจะเอาให้ตาย ให้ได้ นี่คือสิ่งที่คุณยายท่านมองเห็นการณ์ไกล จึงป้องกัน หลวงพ่อท่านไว้ตั้งแต่ต้น

คุณยายท่านป้องกันหลวงพ่อครูไม่ใหญ่และหลวง พ่อไว้ตั้งแต่พรรษาแรกๆ แบบนี้ จึงได้มาเป็นหลวงพ่อของ พวกเรา

ดังนั้น เมื่อพวกท่านบวชแล้ว ก็ขอให้รักษาพระธรรม วินัยให้ดี เพราะการรักษาพระธรรมวินัย คือ การรักษา ชีวิตพระของพวกท่านเอง ก่อนจะไปทำหน้าที่เป็นครูสอน ศีลธรรมผู้อื่น ต้องรู้จักสอนตัวเองให้อยู่ในพระธรรมวินัย ให้เป็นก่อน ถ้ายังรักษาตนเองให้พ้นจากอันตรายไม่เป็นการจะไปรักษาพระพุทธศาสนา การจะไปตอบแทนคุณ ญาติโยมไม่มีทางทำได้ดี ต้องรู้จักวิธีที่จะรักษาความเป็น เพชรของเราไว้ ไม่ให้กลายเป็นขยะก่อน จึงจะไปทำหน้าที่ ครูสอนศีลธรรมได้

เมื่อเราฝึกทั้งหยาบและละเอียด คือ มีทั้งความรู้ และปรับปรุงแก้ไขนิสัยตนเองได้ดีแล้ว การจะก้าวเข้าไป เป็นครูสอนศีลธรรม อย่าเพิ่งไปมองอะไรไกลเกินตัว การ ทำหน้าที่ของครูสอนศีลธรรมอย่างแท้จริงนั้น คือ การฝึก อบรมคนในทิศ ๖ ให้เป็นคนดี

เราเรียนนักธรรมมาแล้วว่า หน้าที่พระภิกษุโดย เบื้องต้นมี ๒ ประการ
หน้าที่ข้อแรก คือ ฝึกฝนอบรมตนตามพระธรรม วินัยอย่างเคร่งครัด
หน้าที่ข้อที่สอง คือ สั่งสอนอบรมประชาชนในสังคม ให้มีศีลธรรม
พิธีมุทิตาสักการะ พระภิกษุ-สามเณรผู้สอบผ่านเปรียญธรรม 9,6,3 ประโยค สาธุชนผู้สอบผ่านบาลีศึกษา 9,6,3 ประโยค ปีพุทธศักราช 2563-2565 ในวันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2565 ณ วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี


พระพุทธองค์ทรงให้หลักสำคัญไว้แล้วว่า การเผยแผ่ พระพุทธศาสนา คือ การเผยแผ่ผ่านทิศ ๖ พระภิกษุเรามี หน้าที่เป็นกัลยาณมิตรต่อชาวโลก การที่โลกจะสงบสุข ได้ พระเราต้องสอนให้แต่ละคนปฏิบัติหน้าที่ในทิศ ๖ ให้ สมบูรณ์ โดยมีพระเราเป็นต้นแบบศีลธรรม

การที่พระพุทธศาสนาจะยืนหยัดอยู่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับ ว่า ทิศ ๖ ของชาวพุทธแต่ละคนมีความเข้มแข็งขนาดไหน

คนที่จะต้องไปทำให้ทิศ ๖ ของชาวพุทธเข้มแข็ง ก็คือ คน ที่อยู่ทิศเบื้องบน ซึ่งชาวโลกยกย่องไว้ในฐานะเป็นครูสอน ศีลธรรม

การเรียนในห้องเรียน วัดความรู้โดยผ่านผลการสอบ แต่การทำงานในฐานะครูสอนศีลธรรม วัดความสำเร็จโดย ผ่านการสร้างเครือข่ายคนดี ในฐานะของครูสอนศีลธรรม เราจึงมองข้ามความสำคัญของใครไม่ได้เลย แม้แต่คน งานในวัด เจ้าหน้าที่ในวัด ก็มองข้ามไม่ได้ เพราะแต่ละ คน คือทิศ ๖ ที่อยู่รอบตัวเรา

คนที่มองข้ามคนอื่น ไม่เรียนรู้การทำหน้าที่ครูสอน ศีลธรรมให้ครบทั้ง ๖ ทิศ ก็ยากจะรักษาตัวเองไว้ได้ ยาก จะทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ เพราะคนที่ จะมาช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนา ค้ำจุนพระพุทธศาสนา ปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ได้ตกลงมาจากท้องฟ้า แต่ว่า มาจากทิศ ๖ รอบตัวเรา

ถ้าเราปล่อยให้คนในทิศ ๖ รอบตัวเรา ไม่ต้องมาก แค่คนใดคนหนึ่ง ตั้งตัวเป็นศัตรูกับพระพุทธศาสนา เราก็ ตกอยู่ในอันตรายแล้ว การบวชของเราไม่ราบรื่นแล้ว เรา อาจจะร่ำเรียนเขียนอ่านมามาก จบการศึกษามาดี แต่ถ้า ทิ้งเรื่องการทำหน้าที่ครูสอนศีลธรรมประจำทิศ ๖ เท่ากับ สอบตกโดยไม่รู้ตัว ถือว่าทำหน้าที่เบื้องต้นของพระภิกษุ ไม่สมบูรณ์

ดังนั้น เมื่อเรามีโอกาสได้บวชสามเณรมาตั้งแต่ อายุยังน้อย และได้บวชพระตั้งแต่อายุยังไม่มาก ก็ขอให้รู้ไว้ว่าเราโชคดีที่ไม่ต้องไปก่อบาปก่อเวรเหมือนกับชาวโลก ไม่ต้องไปหานรกใส่ตัว ไม่ต้องหาขยะมาเก็บไว้ในใจ เราก็ต้องรักษาความโชคดีของเรานี้ไว้ให้มั่นคง รักษา ตัวเองให้อยู่ในพระธรรมวินัยซึ่งเป็นชีวิตพระของเรา และทุ่มเทฝึกฝนตนเองไปทั้งหยาบและละเอียด คือเป็นผู้มี ทั้งความรู้และมีศีลธรรมบริสุทธิ์อยู่ในตัว เมื่อถึงคราวจะ ต้องทำหน้าที่ครูสอนศีลธรรม เพื่อตอบแทนคุณข้าวปลา อาหารของญาติโยม เราก็จะรักษาความเป็นพระของเราเป็น และทำหน้าที่ครูสอนศีลธรรมให้แก่ชาวโลก ด้วยการ เป็นกัลยาณมิตรแนะนำการทำหน้าที่ในทิศ ๖ ให้ชาวโลก ได้สมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาก็จะเริ่ม แผ่ขยายออกจากตัวเราเป็นศูนย์กลางนั่นเอง

ด้วยอำนาจบุญบารมีรัศมีกำลังฤทธิ์ของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ หลวงพ่อขออวยพรให้การบวช ครั้งนี้ของลูกทุกรูป จงมีแต่ความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อยู่บนเส้นทางพระธรรมวินัยยิ่งๆ ขึ้นไป ให้เป็นขุนพล กล้าของกองทัพธรรม แตกฉานในวิชชาธรรมกาย เป็น ผู้นำพระพุทธศาสนาและวิชชาธรรมกายแผ่ขยายไปทั่วโลก ฝึกฝนตนเองสร้างบารมีไปกับหลวงพ่อและหมู่คณะ ได้ตลอดรอดฝั่ง ตราบกระทั่งวันถึงที่สุดแห่งธรรม เทอญ 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565

เหล่ากอสมณะ : ชีวิตนักบวช สุขดีที่หนึ่งเลย


 ชีวิตนักบวช สุขดีที่หนึ่งเลย

วัตถุประสงค์ของการบวชก็เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง สลัดตนให้
พ้นจากกองทุกข์ เพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์แก่ชาวโลก
การบวชอุทิศชีวิตให้กับพระศาสนาของลูกเณรในครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าปีติยินดี
 

เพราะไม่มีชีวิตใดจะประเสริฐเลิศเท่ากับชีวิตของนักบวซอีกแล้ว
ชีวิตนักบวชเป็นชีวิตสุดท้ายในสังสารวัฏ หลังจากที่เราผ่านชีวิตขึ้น ๆ ลง ๆ
มานับภพนับชาติไม่ถ้วน เดี๋ยวสำเค็ญ เดี๋ยวสบาย เกิดเป็นชนชั้นล่างบ้าง
ชั้นกลางบ้าง ชั้นสูงบ้าง พลัดไปสู่อบายบ้าง พอไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต
ได้สร้างบุญก็ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ วน ๆ เวียน ๆ กันไปอยู่อย่างนี้
 

ดังนั้น ชีวิตสุดท้าย คือ ชีวิตของนักบวช ชีวิตของพุทธบุตร ถ้าเป็นหญิง
ก็เป็นภิกษุณี ถ้าเป็นชายก็เป็นพระภิกษุ นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ชุดสุดท้าย
ฉะนั้นชุดนี้เป็นชุดที่ประเสริฐเลิศที่สุด ใครได้อยู่ในชุดนี้ต้องปลื้มอกปลื้มใจ
ทีเดียว เพราะว่ามนุษย์ในโลกนี้มีประมาณ 6-7 พันล้านคน ผู้ชายมีประมาณ
3 พันล้านคน ผู้หญิง 3 พันล้านคน ที่บวชได้ คือ ฝ่ายชาย แต่ก็บวชไมได้
ทั้งหมด แม้เป็นเทวดา ครุฑ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ พรหม อรูปพรหม
ก็บวชไม่ได้ อย่างในพิธีอุปสมบท ลำดับแรก พระอุปัชฌาย์ต้องถามก่อนว่า
เป็นมนุษย์รึ ? ขนาดว่าเห็นเป็นมนุษย์ชัด ๆ เข้ามาในโบสถ์ ยังต้องถาม
ก็แปลว่า ถ้าไม่ใช่มนุษย์บวชไม่ได้ แม้เป็นมนุษย์ที่ต้อยโอกาสก็บวช
ไม่ได้ เป็นหญิงไปครึ่งหนึ่งแล้ว เป็นผู้ฉิง อีกเท่าไรก็ไม่รู้ ก็หมดสิทธิ์
 

ผู้ได้โอกาสที่จะบวชได้จริง ๆ มีไม่กี่คนในโลก ไม่คิดไม่แปลก
ยิ่งคิดยิ่งแปลก ดังนั้นผู้ที่บวช คือ ผู้ได้โอกาส ผู้ที่ไม่ได้บวชทั้งหมด คือ
ผู้ต้อยโอกาส ผู้มีบุญเท่านั้นจึงอยู่ในเพศของนักบวชได้ นี่เป็นความจริงแท้
 

แต่บางทีนักบวชบางรูปอาจจะลืมไป คิดว่าเราเป็นผู้ด้อยโอกาส เกิดมา
ยากจน มีชีวิตลำเค็ญ ไม่รู้จะไปทางไหน เขาเลยส่งเข้าวัด มองเผิน ๆ
อาจจะเป็นเช่นนั้น แต่มองลึก ๆ สิ คนจนมีมากมายในโลก คนรวย
ก็เยอะแยะในโลก แต่ไม่ได้บวช แปลว่า ต้องมีบุญมีบารมีข้ามชาติ ต้องมีบุญ
มีผังแห่งการบวชข้ามชาติมามาก บวชช่วงสั้นบ้าง บวชช่วงยาวบ้าง
บวชตลอดชีวิตบ้าง ต่อเนื่องกันมา
 

เพราะฉะนั้น เมื่อเรามาเกิดแล้ว จะเกิดจากไหนไม่สำคัญ
สำคัญว่า เกิดมาแล้ว ถึงเวลาต้องบวชเป็นสามเณร เป็นพระภิกษุอย่างนี้
จึงจะถือว่า เป็นผู้ได้โอกาส เป็นผู้มีบุญญาธิการที่สั่งสมมาตีแล้ว
 

ฉะนั้นจะต้องทำความเห็นใหม่ คิดผิดคิดใหม่ได้ ใครที่คิดว่าเรา
เป็นผู้ต้อยโอกาสแล้วมาบวช คิดใหม่ แต่คิดใหม่อย่าให้ผิด ต้องให้มีปีติ
และภาคภูมิใจ ในทุกครั้งที่ลืมตามาเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ห่มครองกาย และแม้
แต่นอนหลับก็ต้องฝันให้เห็น ถ้าไม่ฝันก็จะต้องมีจิตสำนึก มีวิญญาณ
ของนักบวช นั่นแหละคือความปีติและภาคภูมิใจของเรา
 

ดูตัวอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลัก ความเป็นใหญ่เป็นโต
ใคร ๆ ก็ปรารถนากันทั้งนั้น สละแม้กระทั่งทรัพย์ อวัยวะ และชีวิต
เพื่อความเป็นใหญ่เป็นโต แต่พระองค์ทรงสละความเป็นใหญ่เป็นโต
ทรงเคยเป็นถึงพระเจ้าจักรพรรดิ* แต่ในที่สุด ก็เสด็จออกบวช แปลว่า
เพศนักบวชเหนือกว่าทุก ๆ เพศภาวะ นี่คือสิ่งที่เราควรจะปีติและภาคภูมิใจ
ถ้าคิดตรงนี้ไม่ออก ทำงานพระศาสนายาก การบวชก็ไม่มีความสุข
ถ้าคิดตรงนี้ออก สุขทุกคืนทุกวันเลย บวชเป็นพระ-เณรนี่สุขดีที่หนึ่งเลย
สุขมาก สุขทุกคืน สุขทุกวัน หลับตาก็สุข ลืมตาก็สุข สุขสองเวลาทั้งหลับตา
กับลืมตา หายใจเข้าก็สุข หายใจออกก็สุข

ดังนั้น เนื่องในวาระโอกาสที่ลูกสามเณรจะอุปสมบทอุทิศชีวิต
เป็นพุทธบูชาในครั้งนี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรแก่การอนุโมทนาสาธุการเป็นอย่างยิ่ง
หลวงพ่อจึงขออำนวยพรให้การบวชครั้งนี้เป็นการบวชทั้งภายนอกและ
ภายใน โตยภายนอกได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ มีศีล 227 ข้อ และภายใน
ให้มีพระธรรมกายที่บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ตัวยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นพระแท้
ที่โลกต้องการ
โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565

โอวาทพระมงคลเทพมุนี : พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒๖ เรื่อง มงคลสูตร : ความไม่ประมาทในอะไร

กัณฑ์ที่ ๒๖ มงคลสูตร

ความไม่ประมาทในอะไร

 ความไม่ประมาทน่ะ ไม่ประมาทในอะไร ไม่ประมาทในการรักษาสุจริต ละทุจริตเสีย ทำสุจริตให้เกิดมีเสมอไป ไม่ประมาทในการละความเห็นผิด ทำความเห็นถูกให้มีเสมอไป ไม่ประมาทในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ทำให้กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีเป็นเนืองนิตย์ไม่ขาดสาย ไม่ประมาทในกายบริสุทธิ์ ไม่ประมาทเหล่านี้เป็นความไม่ประมาทเผินๆ เป็นความไม่ประมาทของคนมีปัญญาไม่ละเอียดนัก มีปัญญาหยาบ ถ้าว่าไม่ประมาทจริง ไม่ประมาทในการทำใจให้หยุดให้นิ่ง ทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ ทำใจให้หยุดนิ่งจนกระทั่งเห็นดวงใส เท่าดวงจันทร์เท่าดวงอาทิตย์ ถ้าเห็นแล้วก็ไม่ปล่อยละที่นี้ นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด อุจจาระ ปัสสาวะ ชำเลืองไว้เสมอ มองอยู่เสมอ ใจจรดอยู่เสมอ ไม่เผลอกันละ ไม่ให้ใจหลุดทีเดียวจากดวงธรรมที่เกิดขึ้นนั่น ไม่ให้ใจหลุดทีเดียว ติดทีเดียว ถ้าติดได้ขนาดนั้นไม่ทำให้หลุดเลย นั่ง นอน เดิน ยืน เว้นไว้แต่หลับ นั่นประพฤติตนเขาเรียกว่า สาตฺติกา นิจฺจ ทฬฺหปรกฺกมา ผู้มีความเพียรก้าวหน้า หมั่นเป็นนิตย์ มีผลเจริญไปหน้าไม่มีถอยหลังเลยดังนั้น เรียกว่าคนฉลาด นั้นเรียกว่าฉลาดจริงๆ ละ ไม่เผลอจริงๆ ละ การไม่เผลอเช่นนั้นแหละ จะเข้าถึงดวงธรรมเป็นลำดับไป จะเข้าถึงดวงศีลเป็นลำดับไป หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลถูกส่วนเข้า ไม่เผลอในการหยุดอยู่นั้น จะเข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ไม่เลินเล่อเผลอตัว เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาไม่เผลอ เดินหน้าไปอย่างเดียวไม่ถอยหลังกลับ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญาไม่เผลอ แล้วจะเห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีกไม่เผลอ แล้วก็จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีกไม่เผลอ แล้วจะเห็นกายมนุษย์ละเอียด ถึงกายมนุษย์ละเอียดแล้ว ใจมนุษย์ละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ไม่เผลอเหมือนกัน เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างนี้แหละ จนกระทั่งถึงตลอดกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด กายโสดา กายโสดาละเอียด กายสกทาคา กายสกทาคาละเอียด กายอนาคา กายอนาคาละเอียด กายอรหัต กายอรหัตละเอียด มาถึงพระอรหัตละเอียดก็รู้ว่า อ้อ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปอย่างนี้ ท่านไม่ประมาทอย่างนี้จึงได้ถึงอย่างนี้

เพราะมนุษย์ปุถุชนเหลวไหลเลินเล่อเผลอตัว มีเงินสักเล็กสักน้อยก็ใช้กันเสียอย่างฟุ่มเฟือยทีเดียว เทกระเป้าใช้ทีเดียว  ไม่รู้ว่าจะต้องไปหาเงินที่ไหน ไม่รู้ว่าตัวโง่ถึงขนาดนี้จึงได้ลำบาก เป็นนายเงินไม่ได้ ต้องเป็นบ่าวเงินร่ำไปนั้นฉันใด เมื่อเข้าถึงธรรมแล้วปล่อยธรรมเสียแล้วก็ทำใหม่อีกต่อไป อย่างนั้นจะเป็นธรรมสามี จะเป็นเจ้าธรรมไม่ได้จะต้องเป็นบ่าวธรรมแบบหาเงินนั่นแหละ ต้องปฏิบัติร่ำไป พอเข้าถึงธรรมแล้วยึดเอาไว้ไม่ปล่อยทีเดียว จนกระทั่งถึงที่สุดทีเดียวอย่างนี้เรียกว่าธรรมสามี พระศาสดาเป็นธรรมสามี เป็นเจ้าพระอรหันต์ขีณาสพเมื่อไม่ปล่อยธรรมเช่นนี้เรียกว่าธรรมสามี ไม่ปล่อยธรรม ธรรมเช่นนี้เรียกว่า อปุปมาโท จ ธมฺเมสุ เป็นผู้ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ไม่ว่าธรรมหมวดไหน หมู่ไหน ดวงไหน เมื่อเข้าถึงแล้วเป็นไม่ปล่อยกันทีเดียว เด็ดขาดอย่างนี้ชายก็เรียกว่าชายสามารถ หญิงก็เรียกว่าหญิงสามารถ จะเป็นที่พึ่งแก่ตัวและบุคคลผู้อื่นทั่วไปในอัตภาพชาตินี้

เหตุนั้น แก้มาในมงคล ๓ ข้อนี้เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญอันสูงสุด ผู้ใดเว้นขาดจากความชั่วด้วยกาย วาจา ใจแล้ว สำรวมอยู่ในความไม่เมาทั้งหลาย สำรวมจากการดื่มน้ำที่ทำบุคคลผู้ดื่มเมา เป็นดนมีสติ ไม่เลินเล่อไม่เผลอตัว เมื่อมีสติไม่เลินเล่อไม่เผลอตัวแล้ว ก็ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย เมื่อไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ละก็ ไปนิพพานได้แล้วไม่ต้องสงสัย  เป็นหลักใหญ่ใจความในทางพุทธศาสนา โลกก็ดังนี้ เมื่อประกอบการงานที่ไหนก็เอาธรรม ๓ ประการนี้เข้าไปสวมเข้า มันก็ทะลุทุกสิ่งทุกประการในการงานนั้นๆ

จบพระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ ๒๖ มงคลสูตร มงคลสูตรข้อที่ ๑๙,๒๐,๒๑
โอวาทเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๗
 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

 

โอวาทพระมงคลเทพมุนี : พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒๖ เรื่อง มงคลสูตร : ความไม่ประมาทในการรักษาตัว


กัณฑ์ที่ ๒๖ มงคลสูตร
ความไม่ประมาทในการรักษาตัว

ไม่ประมาทในการรักษาตัว ถ้าว่าประมาทในการรักษาตัว เจ็บไข้เกิดขึ้นบ่อยๆ ถ้าไม่ประมาทในการรักษาตัวแล้ว เจ็บไข้ได้ทุกข์มีน้อย หรือไม่มีเสียเลยก็ได้ หากว่า จะมีก็น้อยเพราะรู้อยู่ การที่จะเกิดโรคในอวัยวะร่างกาย เมื่อไม่ประมาทในการรักษาตัวแล้ว รู้อยู่ว่าอาหารนี้เป็นตัวสำคัญ ถ้าเพลี่ยงพล้ำน้อยนักทำให้เกิดโรค มากนักทำให้เกิดโรค เมื่อบริโภคใหม่เข้าไป เก่าไม่ออก เกิดโรค ถ้าว่าบริโภคใหม่เข้าไป เก่าออกเกินส่วนไปก็เกิดโรค นี้เป็นข้อสำคัญในการรักษาตัว ตัวเองเป็นคนฉลาดของตัวเอง คนอื่นฉลาด ฉลาดสู้ตัวของตัวเองไม่ได้ จะเป็นอะไรตัวก็รู้ รู้ทีเดียว แต่ว่าสิ่งที่จะเกิดโรคน่ะ ในเรื่องอาหารที่เข้าที่ออกในทางมุขทวาร ในทางปากนั่นแหละ นั่นทางเข้า แล้วก็ทางออกทางอุจจาระ เมื่อเข้าทางปากก็ออกทางก้น นั่นแหละทางเข้า ทางออกต้องระวังไว้เถิด อย่าเผลอเลย ถ้าเผลอทางเข้าทางออกอย่างนี้ละก็ จะเกิดโรค มีโรคประจำกาย ถ้าว่าไม่เผลอในทางเข้าทางออกของอาหารอย่างนี้ และมีใจสอดเข้า ไประวังอยู่ในทางข้างใน นี่ ไปนอนอยู่ที่ไหน อาหารออกอย่างไร มีปัญญาฉลาดไหว พริบอย่างนี้ละก็ รักษาตัวรอด นี่แหละรักษาได้อย่างนี้แหละ โรคภัยไข้เจ็บไม่ประทุษร้ายร่างกาย

 
ที่โรคภัยไข้เจ็บประทุษร้ายร่างกาย เพราะรักษาทางเข้าออกของอาหารที่ไปประจำอยู่นั้นไม่ดี ไม่พินิจพิจารณา คันตัว เกิดคันขึ้นตามอวัยวะร่างกายต่างๆ หรือเกิดร้อนขึ้นก็ดี หรือเกิดตึงขึ้นก็ดี เกิดขัดเกิดยอกขึ้นก็ดี เพราะอาหารทั้งนั้นเป็นตัวสำคัญ ไม่ใช่เรื่องอื่น เรื่องอื่นไม่ทำให้ร่างกายเดือดร้อนอาดูรเท่าอาหารที่เข้าออกได้ นั่นแหละเป็นข้อสำคัญ ถ้าว่าฉลาดในการรักษาอย่างนี้เรียกว่าไม่ประมาทในอนามัย เขาว่าฉลาดในอนามัย อนามัยน่ะไม่ให้มีภัยมีพิษ ไม่ให้มีความทุกข์ในอวัยวะร่างกาย ไม่ให้มีภัยมีพิษ ให้มีความสุขในอวัยวะร่างกาย นี่เรียกว่าฉลาดในเรื่องอนามัย ถ้าฉลาดในเรื่องอนามัยก็ได้รับความสุข รับความสุขเกิดจากอนามัยเพราะเหตุใด เหตุว่าการฉลาดรักษาตัวเช่นนี้ต้องคนมีปัญญา คนโง่ๆ รักษาไม่ถึง คนมีปัญญารักษาถึง รักษาตัวเช่นนี้โรคภัยไข้เจ็บไม่ใคร่มี ถ้าว่าโรคภัยไข้เจ็บไม่มี พระมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับสั่งทีเดียว อโรคฺยา ปรมา ลาภา การไม่มีโรคนี่แหละเป็นลาภอย่างยิ่ง การมีโรคกับไม่มีโรคเป็นของสำคัญ ถ้าไม่มีโรคจะทำอะไรทำสำเร็จหมด ถ้ามีโรคจะประกอบการงานอันใดหมดไม่สำเร็จสักอย่างหนึ่ง การปกครองก็ไม่สำเร็จเพราะมีโรคเสียแล้ว การเล่าเรียนก็ไม่สำเร็จเพราะโรคเข้าประจำกายเสียแล้ว ทุกอย่างทำกิจการอันใดจะประกอบอาชีพอันใดไม่สะดวกทีเดียว เพราะมีโรคประจำกายเสียแล้ว ถ้าว่าไม่มีโรคก็ได้ชื่อว่าเป็นลาภอย่างยิ่ง 

กดอ่านบทความต่อไป....ความไม่ประมาทในอะไร
 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

โอวาทพระมงคลเทพมุนี : พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒๖ เรื่อง มงคลสูตร : ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย


กัณฑ์ที่ ๒๖ มงคลสูตร

มงคลที่ ๒๑ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย


อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายน่ะ อะไรบ้าง ไม่ประมาทในการละความชั่ว ทำความดีให้เกิดมี ไม่ประมาทในความเห็นผิด ทำความเห็นถูกให้บังเกิดมี ไม่ประมาทในความทุจริต ทำความสุจริตให้บังเกิดมี การไม่ประมาทนั้น จบพระไตรปิฎก คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ความดีมีมากน้อยเท่าใดรวมอยู่ในความไม่ประมาทสิ้น ความชั่วมีมากน้อยเท่าใดรวมอยู่ในความประมาทสิ้น คำว่าไม่ประมาทคำเดียว เท่านั้น จบสกลพุทธศาสนา มีคำรับรองอยู่ว่า พระบรมศาสดาทรงรับสั่งด้วยพระองค์เองว่า รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายในพื้นชมพูทวีป รอยเท้าสัตว์ใดจะไปใหญ่กว่ารอยเท้าช้างไม่มี รอยเท้าอื่นย่อมประจุลงในรอยเท้าช้างทั้งสิ้น แม้ฉันใดก็ดี ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายนี้ ได้ชื่อว่าครอบไว้ซึ่งความดีในสกลพุทธศาสนาหมดทั้งสิ้น ในสากลโลก ความไม่ประมาทนี้ก็ย่อมครอบงำในสากลโลกทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นความไม่ประมาทนี้ เป็นข้อสำคัญ คือไม่เผลอตัว ไม่เผลอสติ ไม่เผลอในกิจการทั้งปวง แม้จะทำนา ก็ไม่ประมาทในเรื่องทำนา ทำปรกติดีเรียบร้อยอย่างผู้ทำนาที่ดี แม้จะทำสวน ก็ไม่ประมาทในเรื่องทำสวน ทำสวนอย่างดี อย่างบุคคลที่ทำสวนอย่างดีเรียบร้อย ไม่ประมาทในการทำไร่ ทำไร่อย่างเต็มภูมิของผู้ทำไร่ที่ดีเรียบร้อย ไม่ประมาทในการทำ หน้าที่ราชการงานเดือนที่ตัวได้กระทำนั้นๆ ทำถูกต้องร่องรอยดี เต็มหน้าที่ของตัว ไม่ขาดตกบกพร่องใดๆ นั้นก็เรียกว่าไม่ประมาท ไม่ประมาทในการหน้าที่อันใด ค้าขายทุกชนิดไม่ประมาทไม่ขาดทุน มีเสมอกับกำไรเป็นเบื้องหน้า นี่เพราะความไม่ประมาท ถ้ามีความประมาทแล้วทำให้เสียหาย เหตุนั้น ความไม่ประมาทนี้กินความกว้างนัก กว้างทีเดียว

กดอ่านบทความต่อไป....ความไม่ประมาทในการรักษาตัว
 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

โอวาทพระมงคลเทพมุนี : พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒๖ เรื่อง มงคลสูตร : การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา

 
กัณฑ์ที่ ๒๖ เรื่อง มงคลสูตร 

มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

มชฺชปานา จ สญฺญโม สญฺญโม เขาแปลว่า สำรวม มชฺชปานา เว้นจากน้ำเมา เว้นจากน้ำที่ทำให้บุคคลผู้ดื่มเมา ถ้าไขบทออกไปก็คือสุราและเมรัย เป็นเหตุที่ตั้งของความประมาทที่เรารู้กันทั่วอยู่นี้ เรียกว่า มชฺชปานา จ สญฺญโม สำรวมไม่ดื่มน้ำที่ทำให้บุคคลผู้ดื่มเมาเด็ดขาดทีเดียว น้ำที่ทำให้บุคคลผู้ดื่มเมาน่ะมีมากหนา ไม่ใช่อย่างเดียวหนา เบียร์นี้ก็ใช้ไม่ได้ ที่เขาใช้กันอยู่ในประเทศไทยนี่น่ะ เป็นเครื่องดองของเมาเหมือนกัน เพราะทำให้เมาเหมือนกัน เบียร์หรือเหล้าในประเทศนอกก็มีหลายชนิด เหล้าหวานก็มีดื่มเข้าไปแล้วเมา อย่างเบียร์ถ้าดื่มเข้าไปแล้วเมา หรือไม่เช่นนั้น อย่างยานกเขาคู่ที่ทางรัฐบาลประกาศเลิกกันไปแล้ว นั่นก็สำคัญเหมือนกัน ยานกเขาคู่ ขายเหล้ากลางเมืองแท้ๆ แต่ว่าเอาชื่อยาเข้าไปเป็นประกันเสียเท่านั้น พระฉันเข้าไปตีกันหัวร้างข้างแตก หนักเข้าเกิดเรื่องต้องเลิกกัน นกเขาคู่น่ะ นั่นก็เป็นน้ำเมาแท้ๆ ไม่ใช่ยา

แต่ว่าเมื่อผู้เป็นโรคภัยไข้เจ็บมุ่งมาดปรารถนาไม่ดื่มสุรา เป็นสุราเข้ากระสายบ้าง แต่ว่าแทรกเล็กน้อยพอให้ยาเริ่มจะทำงานเท่านั้น แต่ว่าเจตนาความดื่มสุราของเจ้าไข้ไม่มี มุ่งที่จะหายโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น นี้ไม่มีโทษ อย่างนี้ไม่มีโทษแท้ๆ เพราะไม่ได้มุ่งดื่มสุราจริงๆ เป็นกระสายเท่านั้น เหมือนสารหนูเป็นของบริโภคตาย ใส่ยาแต่พอเล็กน้อยได้ เป็นประโยชน์ทำให้โรคหาย ส่วนสุราก็เหมือนกัน เป็นกระสายยาจริงๆ ไม่ใช่ยาไปเป็นกระสายสุรานะ คนติดสุราปฏิญาณแล้วไม่ดื่มสุราต่อไป หนักเข้าเวลาอยากจะดื่มสุราเต็มที่เข้า อดไม่ไหว กลัวจะเสียสัตย์ ไปเอายาผงเล็กๆ น้อยๆ ก็ช่างเถอะ หยิบเอาใส่ เข้าไปเล็กๆ น้อยๆ นี่เป็นกระสายยา ตั้งเสียอย่างนี้แต่ว่าดื่มสุราแท้ๆ อย่างนั้นงดเว้นไม่ได้ ดื่มสุราจริงๆ ไม่ใช่เอามาเป็นกระสายยา เอายามาเป็นกระสายสุราเสีย ไม่ใช่เอาสุรามาเป็นกระสายยา เหตุนั้นนี้การนับถือพุทธศาสนา เว้นจากการดื่มน้ำเมาน่ะ ถ้าจำเป็นขึ้นเหมือนคนคลอดบุตร ไม่ได้มุ่งดื่มสุรา ไม่อยากทีเดียวน้ำเมา แต่ว่ามันจำเป็น มันจะตาย เลือดมันจะทำตาย ก็จำเป็นที่จะต้องดื่มสุราละ เขาก็ดื่มเข้าไปได้ ข้อนี้ถ้างดเว้นกันเสียเป็นอย่างไร งดเว้นเสียก็ได้ถ้าเขามียาวิธีอื่นแก้ ถ้างดเว้นต้องมียาวิธีอื่นแก้ ถ้าไม่มีวิธีอื่นแก้ละก็ งดเว้นไม่ได้ ชีวิตทีเดียว เมื่อจะป้องกันอันตรายต่อชีวิตเช่นนั้น ถ้าปรับโทษกันว่ากระไร ปรับโทษกันอย่างไร ไม่ได้มุ่งดื่มสุรา เพราะมุ่งแต่จะแก้โรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น นี่ควรลดหย่อนก็ต้องลดหย่อนนะ เพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ทางพุทธศาสนา การถือการปฏิบัติไม่ใช่แก้ไขให้ถึงความเดือดร้อน แก้ไขแต่มนุษย์ไม่ให้เดือดร้อน ให้พ้นภัยอันตรายด้วยประการใดประการหนึ่ง ข้อที่สมควรไม่เป็นโทษ ข้อที่ไม่สมควรแหละเป็นโทษทั้งนั้น อย่าไปสงสัย ถ้าว่าข้อที่สมควรล่ะไม่เป็นโทษ ข้อที่ไม่สมควรล่ะเป็นโทษทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการดื่มสุรา ถ้าว่าเจตนาดื่มสุราอยู่แล้วก็ใช้ไม่ได้ ถ้าเจตนาจะดื่มยาละก็ใช้ได้ นี่ตำราเขาก็มี เหมือนแกงเนื้อเขาเอาสุราใส่เพื่อให้มันยุ่ยเท่านั้น นั่นสุราก็ใส่ลงไปเหมือนกันในแกงนั้น หรือสิ่งอื่นอีกที่เขาเจือสุราน่ะมีหลายอย่างที่เขาปรุงอาหารแล้วเจือสุรา แต่ถ้าว่ารสกลิ่นของสุราไม่ปรากฏ เช่นนี้บริโภคได้ หยาบกว่าปรกติธรรมดา ไม่มีโทษมีกรณ์อันใด ให้รู้จักผ่อนปรนอย่างนี้ แต่ทว่าเจตนาดื่มสุรา อย่าให้มีก็แล้วกัน

การดื่มสุราน่ะ ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้ายนะ สุรามันเกิดขึ้นในประเทศใด ประเทศนั้นย่อยยับหนา สุรามันไปติดอยู่กับคนใดละคนนั้นก็ย่อยยับหนา หญิงก็ดีชายก็ดี ติดสุรา ดื่มสุราละก็ ย่อยยับหนา เอาตัวรอดไม่ได้ เพราะเหตุไร เพราะสุราเมื่อดื่มเข้าไปแล้วน่ะ ทำคนดี ๆ ให้เป็นคนเสีย ทำคนมีสติดีให้เป็นคนมีสติเสีย ทำคนที่มีอารมณ์ดีให้เป็นคนมีอารมณ์ฉุนเฉียว ให้อารมณ์อกแล่กไปเสียแล้ว สติดีๆ ทำให้เผลอตัวไปเสียแล้ว ทำให้ไม่รู้ตัวเสียแล้ว ไม่รู้จักบิดามารดา ไม่รู้จักสมณพราหมณ์ ไม่รู้จักผู้หลักผู้ใหญ่ผู้เฒ่าผู้แก่ ดื่มสุราเข้าไปแล้วเห็นช้างเท่าหมูทีเดียว นี่ร้ายนัก เขาเรียกว่าฆ่าตัวเองทั้งเป็นทำลายตัวเองอย่างดื้อๆ ฆ่าตัวเองทั้งเป็นน่ะเพราะอะไร ตัวเองดีๆ ทำให้เป็นคนเสีย ตัวเองบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ทำให้ไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ กลายเป็นคนบ้าเสียแล้ว นี่แหละเรียกว่าดื่มสุราละ มีโทษมากนักเหลือที่จะคณนานับทีเดียว ควรเว้นขาดจากใจ ภิกษุสามเณรน่ะเว้นขาดทีเดียว ภิกษุดื่มเข้าไปแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ทีเดียว ถ้าว่าอุบาสก อุบาสิกาดื่มเข้าไปแล้วศีลก็ขาดทีเดียว ศีล ๕ สิกขาบทเป็นข้อสำคัญนัก เณรดื่มอึกเดียวแหละศีล ๑ สิกขาบทขาดหมด พอสุราล่วงลำคอก็หมดกัน เป็นเณรไม่ได้ อุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถดื่มสุราอึกเดียวเท่านั้น ศีลหมดแล้ว ไม่เหลือแล้ว ถ้าว่าสมาทานวิรัติ เช่นนี้ขาดแต่เฉพาะสุรา สิกขาบทอื่นไม่ขาด นี้ถ้าว่าสามเณรไม่ได้ ดื่มเข้าไปแล้วขาดหมด มันเป็นปาราชิกของเณร สุราน่ะโทษสูง  เหตุนี้ การดื่มน้ำที่ทำให้บุคคลผู้ดื่มเมาน่ะต้องเวันให้ขาด ต้องเวันให้ขาดทีเดียว เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ประกาศตามวาระพระบาลีว่า มชุชปานา จ สญญโม

กดอ่านบทความต่อไป...ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ


โอวาทพระมงคลเทพมุนี : พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒๖ เรื่อง มงคลสูตร : การเว้นขาดจากบาป


กัณฑ์ที่ ๒๖ เรื่อง มงคลสูตร

มงคลที่ ๑๙ การเว้นขาดจากบาป


อารตี วิรตี ปาปา ปาปา เขาแปลว่าความชั่วลามกนัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่ง ปาปา เขาแปลว่าบาป แปลอย่างนี้น่ะทับศัพท์ เว้นจากความชั่วความลามกน่ะ เว้นทั่วจากความชั่วความลามก ที่เรียกว่า อารตี ปาปา เว้นขาดจากความชั่วและความลามกนี่แหละ วิรตี ปาปา เว้นทั่วจากความชั่วความลามก ยังไม่ขาดจากใจ เว้นขาดจากความชั่วความลามก เว้นขาดทีเดียว แต่ทว่าต้องรวมเสียใน ๒ ศัพท์นั้น แปลว่า เว้นทั่ว ขาดจากความชั่วความลามก ๒ ศัพท์นั้นต่อกันเข้า สนธิกันเสียก็ได้ความ ถ้าเห็นว่าความซ้ำกันจึงไม่แยกจากกันเสีย แต่ว่าถ้าไม่แยกจากกันตรงนี้แล้วละก็ มงคล ๓๘ ในมงคลสูตรจะได้มงคล ๓๗ เท่านั้น ได้ตรวจดูแล้วไม่รู้ว่าไปซ่อนอยู่ที่ไหน ถ้าแยก ๒ ข้อนี้ออกไปก็เป็นมงคล ๓๘ เพราะเหตุฉะนั้น การเว้นทั่วจากความชั่วความลามก ความเว้นขาดจากความชั่วความลามก เว้นทั่วนั้นชนิดหนึ่งนะ เว้นขาดนั้นอีกชนิดหนึ่ง เว้นทั่วแต่ยังไม่ขาด เว้นขาดต้องขาดหมดไป เว้นทั่วไม่ขาดลงไปแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าว่าพินิจพิจารณาชาติสัตว์เป็นอย่างนั้น

เมื่อเข้าใจดังนี้ละก็ พึงรู้ว่าเว้นทั่วขาดจากความชั่วความลามกเว้นอย่างใด ความชั่วความลามกเมื่อเกิดด้วยกาย กายของเราประพฤติชั่ว ฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม กว้างออกไปนี่ชั่วทั้งนั้น วาจาชั่วเล่า พูดปด ส่อเสียด คำหยาบ พูดเปล่าประโยชน์ ชั่วทั้งนั้น ใจชั่วเล่า โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา ให้ผิดจากคลองธรรม ชั่วทั้งนั้น ๑๐ อย่างนี้หมด เว้นทั่วเว้นขาดหมดทีเดียว เรียกกุศลกรรมบถ ๑๐ ทั้งหมดสะอาดสะอ้านบริบูรณ์เป็นอันดีทีเดียว เรียกว่าเว้นทั่วเว้นขาด เว้นทั่วขาดจากความชั่ว ความลามกนี้ก็นัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่ง อารตี ตัวนั้นบังคับถึงเจตนาวิรัติ เว้นทั่วเว้นขาด ตลอดถึงเจตนาวิรัติ ที่อาฆาตเบียดเบียนสัตว์ตัวเป็นให้จำตายไม่มีเด็ดขาด เรียกว่าเว้นทั่วเว้นขาดด้วยเจตนา ที่จะคิดฉอลักหลอกลวงฉ้อโกงไม่มีเป็นอันขาด เว้นทั่วขาดจากประพฤติผิดล่วงกามมิจฉาจารอย่างใดอย่างหนึ่งไม่มีเด็ดขาด เว้นจากการพูดปดขาดจากใจ ไม่มีเป็นอันขาด มีเจตนาเว้นจากการกล่าวคำส่อเสียดให้เขาแตกร้าวจากกัน ให้เขาทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน ให้มารักกับตนไม่มีเป็นอันขาด เว้นจากการกล่าวคำหยาบช้า ด่าชาติด่าตระกูล เป็นต้น ไม่มีเป็นอันขาด เจตนาเว้นดังนี้ หรือเว้นกล่าวคำ ไม่มีเหตุผล โปรยประโยชน์ ฟังแล้วไม่ได้เรื่องเปลืองเวลา ไม่มีเป็นอันขาด เว้นจากการละโมบอยากได้สมบัติของคนอื่นมาเป็นของตนก็ไม่มีเป็นอันขาดเหมือนกัน เว้นจากการโกรธประทุษร้ายให้เขาถึงความวิบัติพลัดพรากอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีเป็นอันขาด ขาดจากใจทีเดียว เว้นจากความเห็นผิด เห็นผิดไม่มีเป็นอันขาด นี้ก็ได้ชื่อว่า อารตี วิรตี ปาปา เว้นจากความชั่วความลามกทั้งหมด เกิดจากเจตนาของใจ เจตนานั่นน่ะ เป็นศีลด้วย ที่พระองค์ทรงรับรองว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นแหละเป็นศีล เจตนาเป็นศีลทีเดียว นี่ให้เว้นเสียอย่างนี้ เป็นอุบาสกอุบาสิกาต้องเว้นขาดดังนี้ ถึงจะเป็นอุบาสกเป็นอุบาสิกาได้ เป็นภิกษุสามเณรน่ะพ้นมาแล้วจากความเป็นอุบาสกอุบาสิกา แต่ว่าต้องเป็นผู้เว้นหนักกว่าอุบาสกอุบาสิกา เพราะสูงขึ้นมาแล้ว จะเหลวไหลเลอะเทอะไม่ได้ บัดนี้ไม่ยอม ปรับโทษทีเดียว ถ้าเว้นไม่ได้ปรับโทษทีเดียว นี่แหละ อารตี วิรตี ปาปา นี้ ปาปา เป็นความชั่วความลามก ความชั่วแต่ไม่ลามก ความลามกแต่ไม่ชั่ว ชั่วกับลามกรวมกันเข้าเป็นข้อที่หนักอยู่ เพราะฉะนั้นต้องเว้นขาด เว้นทั่ว ขาดจากความชั่วลามก ไม่มีเกี่ยวข้องกับใจทีเดียว นี้เป็นอันใช้ได้ใน อารตี วิรตี ปาปา
 
กดอ่านบทความต่อไป....การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา
 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565

โอวาทพระมงคลเทพมุนี : พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๒๖ เรื่อง มงคลสูตร


กัณฑ์ที่ ๒๖ เรื่อง มงคลสูตร 

เริ่มพระธรรมเทศนาอธิบายความ

การเว้นขาดจากบาป
การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

๑๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๗

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ หน)

อารตี วิรตี ปาปา มชฺชปานา จ สญฺญโม
อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมนฺติฯ

ขุ.ขุ. (บาลี) ๒๕/๖/๔

ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญอันสูงสุดในพระพุทธศาสนาและในสากลโลก สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสเทศนาพระสูตรนี้ ก็เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความสูงสุดในหมู่มนุษย์ทั้งหลายว่า ธรรม ๓ ประการ นี้เป็นมงคลอันสูงสุด มนุษย์ทั้งหลายควรบูชาให้มั่นในขันธสันดาน

ในวาระพระบาลีเป็นหลักเป็นประธานว่า อารตี วิรตี ปาปา เว้นขาดจาก ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์เป็นให้ตาย อีกนัยหนึ่งว่า เว้นขาดจากชั่ว เว้นขาดจากการเบียดเบียนสัตว์และทำลายจนกระทั่งตลอดถึงชีวิต มชฺชปานา จ สญฺญโม สำรวม จากการดื่มน้ำที่ทำให้บุคคลที่ดื่มเมา อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ไม่พลั้งเผลอในธรรมทั้งหลาย หรือไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย เอตํ ติวิธตฺตยํ ข้อมงคลทั้ง ๓ นี้ มงฺคลํ เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญ อุตฺตมํ อันสูงสุด ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป

กดอ่านบทความต่อไป...การเว้นขาดจากบาป

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ