ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565

เคล็ด(ไม่)ลับในการสร้างความสุข : ตอน "กฐินสัมฤทธิ์"

 

ประเพณีการทอดกฐิน คือการทำบุญถวายผ้าทอดกฐินเป็นทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ปีหนึ่งมีครั้งเดียว วัดแต่ละวัดจะต้องมีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาครบ 5 รูปจึงสามารถรับกฐินได้ ซึ่งมีระยะเวลา 1 เดือนในการรับกฐินของแต่ละวัด 

โดยต้องถวาย "เป็นสังฆทาน" ไม่เจาะจงภิกษุสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง ต้องมีพระสงฆ์ผู้จำพรรษา
อยู่ในวัดใดวันหนึ่ง ครบ 3 เดือน และ ไม่ต่ำกว่า 5 รูป ในการทำพิธี
โดยกำหนดระยะเวลาตาม "พระวินัย" ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำา เดือน 12
อีกทั้งยังต้อง กรานกฐิน ให้เสร็จภายในวันนั้นอีกด้วย

โดยในปัจจุบันมีจำนวน วัด ในประเทศไทยมากถึง 40,000กว่าวัดทั่วประเทศ
แต่จากข้อมูลสถิติ เผยให้เห็นว่ามีจำนวนวัดที่ถูก ทิ้งร้างมากขึ้นเช่นกัน

จากผลสำรวจในปีพุทธศักราช 2514 พบว่า วัดมีการถูกทิ้งร้างมากถึง 3,000 กว่าวัด
และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

จนในปัจจุบันนี้ ผ่านมากว่า 50 ปี มีจำนวนวัดร้างเพิ่มขึ้น ถึง 6000 กว่าวัด
ด้วยปัญหานี้ถือว่ามีแนวโน้วที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
จนทำให้มี "กฐินตกค้าง" มากขึ้นทุกปี
จึงมีแนวคิดในการริเริ่มโครงการเพื่อแก้ไขปัญหานี้ นั่นคือ โครงการ
"กฐินสัมฤทธิ์เด็กดีวีสตาร์"



 โครงการที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญา กฐินตกค้าง
ให้มีการจัด ทอดกฐิน ไปสู่ทุกวัดทั่วไทย เป็นโครงการที่ดำริขึ้น โดย  "หลวงพ่อธัมมชโย"
ซึ่งคำว่า "กฐินสัมฤทธิ์" หมายถึง กฐินที่นำความสำเร็จมาสู่ผู้ให้และผู้รับ
โดยมีเหล่า "เด็กดี V-Star" เป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการนี้
โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างเยาวชน ให้เป็นต้นแเบบ
ในการทำความดี ได้แสดงออกถึงพลังที่มีด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูศีลธรรม ให้เกิดขึ้นแก่สังคม
ผ่านเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียนให้เข้มแข็งขึ้น
นับเป็นโครงการที่จะผลักดัน การทอดกฐินให้เฟื่องฟูไปสู่ทุกวัด
และไม่มีกฐินตกค้างบนพื้นแผ่นดินไทย ได้อย่างยั่งยืน

วัดร้าง หมายถึง วัดที่ไม่มีพระจำพรรษา หรือ มีพระจำพรรษาน้อย ปัจจุบันพบวัดบ้างวัดมีแค่เจ้าอาวาสเพียงรูปเดียว และสามเณรน้อยอยู่ประจำวัดเพียงสองหรือสามรูป ซึ่งการดูแลรักษา การฝึกฝนอบรม การรักษาประเพณีต่าง ๆ การศึกษาธรรมของชาวพุทธก็ไม่มีความพร้อมในการถ่ายทอดออกมาให้ชาวพุทธได้รับความรู้และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ความสุขของมนุษย์จริงๆแล้วคือ อะไร 

เมื่อทำความดีใจก็เกิดปีติเป็นสุข  กายก็เป็นสุข เมื่อใจเป็นสุข ชีวิตก็ยิ่งมีความสุขยิ่งขึ้น สุขภาพชีวิตก็ดีตาม

หลวงพ่อธัมมชโย ได้กล่าวไว้ว่า...

ถ้ามี “วัดร้าง” เกิดขึ้น
ในยุคที่เรามาเกิดสร้างบารมี
มันอายฟ้าอายดิน
วัดร้างต้องเป็นวัดรุ่งด้วยมือของเรา
เรามีเวลาอยู่ในโลกนี้ไม่นาน
ไม่ควรปล่อยเวลา
ให้ผ่านไปฟรีๆ แก่ไปฟรีๆ
ให้ทุกวินาทีผ่านไป
พร้อมกับบุญบารมีที่เพิ่มขึ้น
เวลาเป็นบุญบารมี
เราต้องใช้ทุกอนุวินาที
สร้างบุญบารมีให้เต็มกำลัง 

(จากชุดหนังสือ การสร้างบารมี คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ )

 

 

“ในเมื่อเด็กตัวเล็กๆ ยังสามารถเป็นประธานกฐินได้ แล้วทำไมเราถึงจะเป็นประธานกฐินไม่ได้”

ดังนั้นขอเชิญชวนผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน 

ร่วมกันเป็นเจ้าภาพรวมทอดกฐินสัมฤทธิ์วัดทั่วประเทศ สร้างความสุขให้กับตนเอง ครอบครัว สังคม  

โครงการกฐินสัมฤทธิ์ได้จัดกิจกรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และยังดำเนินการจัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญในการทำหน้าที่ปกป้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและเป็นต้นบุญต้นแบบในการทำความดีของเหล่าเด็กดี V-Star กฐินสัมฤทธิ์จึงนับเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่ชาวโลกจะได้มีโอกาสเห็นภาพเด็กดี V-Star ทำหน้าที่เป็นประธานกฐินสัมฤทธิ์และช่วยเหลือการจัดงานในส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นภาพที่นำความปลื้มปิติมาให้แก่ผู้ที่ได้พบเห็น มาเป็นกำลังใจให้เยาวชนคนดีที่โลกต้องการกันเถอะ

ปัจจุบันสถานการณ์ช่วงโควิด19 ระบาด ก็ได้ปรับวิธีการทอดกฐินสัมฤทธิ์ ผ่าน Zoom หรือ แม้ว่าจะได้รับการผ่อนปรน จนเข้าสู่สถานการณ์ปกติ สาธุชนก็ได้เข้าร่วมพิธีในพื้นที่จริง ซึ่งเมื่อมาทำกิจกรรมในวัด ทางวัดก็ได้แจ้งเตือน ไม่ให้ประมาท

ซึ่งก็ได้แจ้งขอความร่วมมือให้ใส่หน้ากากอนามัยกันไว้ก่อน ตอนอยู่ที่บ้านจะถอดหน้ากากอนามัยก็แล้วแต่ แต่มาร่วมกิจกรรมงานบุญที่วัด ขอให้ใส่หน้ากากอนามัยกันไว้ก่อน เพราะเราอยู่กันเยอะ ไม่ใช่เราไม่คุ้นเคย เราก็ใส่กันมานานแล้ว ใส่แค่วันเดียวที่มาร่วมงานบุญที่วัด ใส่ไม่กี่นาที แต่ชีวีจะยืนยาว...

ทานบารมี
เป็นบ่อเกิด
แห่งโภคทรัพย์สมบัติ

ตอนนี้มีชีวิตอยู่
มีทรัพย์อยู่
มีเนื้อนาบุญอยู่
ก็ให้รีบมีศรัทธาสร้างบุญให้กับตนเอง

บุญก็จะหนุนนำให้ชีวิตมีความสุข ตลอดเวลาและตลอดไป


  ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

2 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา