ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประเพณีวันพระ : พลังศรัทธาของชาวพุทธ

ต้นแบบความดีก่อเกิดพลังศรัทธาของชาวพุทธอย่างไร

 
พลังศรัทธาของชาวพุทธ ตลอด 2500 กว่าปี ยังมีประเพณีและวัฒนธรรมชาวพุทธ สืบทอดต่อเนื่อง กันมา ตั้งแต่โบราณกาล แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความจริงที่สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ทุกยุค ทุกสมัย ทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ เรียกว่า “อกาลิโก” แม้ว่าในปัจจุบัน ข่าวโจมตีพระพุทธศาสนา และการทำร้ายภาพลักษณ์ของคณะสงฆ์มีให้อ่านทุกวันตามสื่อออนไลน์ข่าว ข่าวเงินทอนวัด ข่าวพิธีกรทำรายการได้วิพากษ์วิจารณพระสงฆ์ หรือการใช้ช่องว่างกฎหมายมาใช้กับพระสงฆ์ว่าเป็นผู้ต้องหา ทั้ง ๆ ยังไม่ได้พิสูจน์ หรือตรวจสอบข้อมูลความเป็นจริง กระแสสังคมบนโลกโซเซียลก็ตัดสินลงโทษ และกล่าวจาบจ้วงพระเถระผู้ใหญ่โดยไม่กลัวบาปกรรม และ  สร้างวจีกรรมอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขสังคมที่มีความวิกฤติต่อความศรัทธาพระพุทธศาสนาของชาวพุทธ เป็นสิ่งที่ควรรีบเร่งทำ ประชาชนจึงควรรู้ว่า ชาวพุทธที่ดี ต้องมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างไร หรือควรประพฤติปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธเยี่ยงไร ความไม่รู้ในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ทำให้มีมุมมองที่แตกต่างกัน ก่อเกิดศรัทธาวิกฤตทั่วประเทศ หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ท่านมีความคิด และช่วยเหลือเกี่ยวกับวิกฤติศรัทธาชาวพุทธ อย่างไรบ้าง
พระพุทธรูป : รูปตัวแทนพระพุทธเจ้า
เรามาลองศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอดีตยุคประวัติศาสตร์ของไทยบ้างว่า ชาวพุทธสมัยนั้น มีความประพฤติปฏิบัติต่อพระสงฆ์และมีวิธีรักษาพระพุทธศาสนา อย่างไร

ประเทศไทยเริ่มนับยุคประวัติศาสตร์ คือ สมัยสุโขทัย ซึ่งมีอายุประมาณ  200 ปี ต่อมาคือ ยุคกรุงศรีอยุธยา มีอายุประมาณ 500 ปี ยุคที่สาม คือ ยุคปัจจุบัน ยุครัตนโกสินทร์ มีอายุกว่า 250 ปีแล้ว วัตถุประสงค์บทความนี้ เป็นการเขียน ถึงเหตุการณ์ พระพุทธศาสนาเถรวาท ยุคสุโขทัย เกี่ยวกับประเพณีวันพระ
 หลักฐานศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่1 ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ชาวพุทธมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหง พระยาลิไท ทรงสืบหาพระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาประกาศพระพุทธศาสนาในสุโขทัย(ศิลาจารึกหลักที่ ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 21-32) อาราธนาจำพรรษาที่วัด ชาวเมืองสุโขทัย จึงทำกิจกรรมที่วัด บำรุงพระพุทธศาสนาหลายอย่าง เช่น ถวายภัตตาหาร ฟังธรรม รักษาศีล เรียนหนังสือ ส่งเสริมการศึกษาพระสงฆ์ บำรุงเสนาสนะ จนเกิดเป็นประเพณี และเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น สืบสานวัฒนธรรมชาวพุทธ ต่อ ๆมาถึง ยุคปัจจุบัน
 ภาพหลักศิลาจารึกสุโขทัยหลัก

 พลังความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวสุโขทัยมีพลังเข้มแข็งมาก  ทุกระดับชนชั้นในทุก ๆ วันพระ ผู้ปกครองเมืองพาประชาชนเข้าวัดปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ทำทาน รักษาศีล(วันปกติรักษาศีล5 วันพระรักษาศีล8) เป็นประจำ เมื่อถึงคราวเทศกาลเข้าพรรษา ก็ปฏิบัติธรรมกันทั้งเมือง เมื่อออกพรรษา ก็ทำการทอดกฐิน มีการดำเนินชีวิตด้วยหลักธรรมคำสอน เมืองสุโขทัย ในน้ำปลา ในนามีข้าว ใครสะดวกทำกิจการค้าขายอะไร รัฐก็ช่วยเหลือ ให้ความอิสระเสรี ไม่มีการเก็บภาษีใด ๆ หรือ เสียภาษี คนต่างเมืองเข้ามาอยู่อาศัย ก็มีความรู้สึกปลอดภัย และชาวพุทธสมัยนั้นยังช่วยเหลือสังคม แก้ไขปัญหาทุกข์ในการทำมาหากินของประชาชนพลเมืองด้วยหลักธรรมเป็นประจำ ดังนั้นในทุก ๆวันพระ ชาวเมืองต่างพร้อมใจกันเข้าวัดปฏิบัติธรรมเป็นประจำ จนเป็นประเพณี สืบทอด ต่อ ๆ มาถึงปัจจุบัน
 ภาพพระภิกษุฝึกอบรมพระนวกะ

                 พระภิกษุมีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด มีศีลาจารวัตร ประพฤติวัตรปฏิบัติงดงาม และน่าเลื่อมใส เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของประชาชน รักและใฝ่เรียนรู้ในพระไตรปิฎก จนแตกฉานและชำนาญในการนำหลักธรรมมาสั่งสอนอบรมแก่ประชาชน จนประชาชนเป็นพุทธมามกะที่มีความเลื่อมใสและมีความเคารพต่อพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ประชาชนนำหลักธรรมไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นวิถีชีวิตของชาวพุทธในสังคมสุโขทัย เป็นกรอบศีลธรรมที่ดีงามในสังคม ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งพระเจ้าแผ่นดินแต่ละพระองค์ทรงมีความศรัทธาในการถือศีล ปฏิบัติธรรม และได้ออกบวชเรียน และสามารถเล่าเรียนจนแตกฉานในคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลี จนสามารถเขียนวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา กลายเป็นมรดกทางวรรณกรรมของพระพุทธศาสนาตกทอดมาถึงยุคปัจจุบัน สังคมของชาวพุทธในสมัยสุโขทัยจึงเป็นสังคมที่มีความสุขเพราะ วัฒนธรรมการศึกษาในสมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรือง ปรากฏหลักฐานแหล่งการศึกษาคือวัด มีการสร้างวัดมากมาย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการศึกษาพระภิกษุ ประชาชน และการถือศีลปฏิบัติธรรมของกษัตริย์ มีการปฏิบัติตามทางสายกลาง ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท (สุภาพรรณ ณ บางช้าง "พระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัย" งานวิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
 ภาพนั่งสมาธิ

 ประชาชนเข้าวัด ทำบุญ ทำสมาธิ

ดังนั้น ทุกวันพระ ในสมัยสุโขทัย คนไทยทั้งประเทศก็จะหยุดทำงาน และเข้าวัด ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม การเข้าวัดทำบุญทุกวันพระจึงเป็นประเพณีมาแต่โบราณ มาถึงยุคปัจจุบัน หากเราชาวพุทธดำรงรักษาไว้ การทำบุญทุกวันพระ โดยการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ทำทาน รักษาศีล ฟังธรรม “ทำความดี ละเว้นความชั่ว” ครอบครัวก็เป็นสุข ทุกคนมีทิฐิเสมอกัน ทำประโยชน์ตน และ ประโยชน์ท่าน ก่อให้เกิดกระแสความดีเกิดไปทั้งสังคม สังคมสงบสุข ประเทศชาติก็มั่นคง
ความศรัทธาของชาวพุทธ ที่นับถือพระพุทธศาสนา กลายเป็นพลังศรัทธาที่ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งที่ทำให้วัดต่าง ๆ ทั่ว ประเทศ ยังคงดำรงอยู่อย่างมั่นคง ในทุก ๆ วันพระ มีประชาชนหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย เข้าวัด ฟังธรรม ทำทาน รักษาศีล ทำภาวนา สำนึกของชาวพุทธที่มีบทบาทหน้าที่ในการบำรุงพระพุทธศาสนา นั้น ก็ยังได้รับคำสอนสืบต่อเนื่องกันมา  เหมือนครั้งสมัยพุทธกาล ที่พระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธ ได้กราบทูลขอพุทธานุญาตจากพระพุทธเจ้า เพื่อให้มีการประชุมสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาเรียกว่า "วันพระ"

เมื่อชาวพุทธเข้าวัดเป็นประจำ ทำกิจวัตรด้านพระพุทธศาสนาสม่ำเสมอ เช่น การเคารพพระพุทธเจ้า เคารพพระธรรม เคารพพระสงฆ์ เคารพในการศึกษา เคารพในความไม่ประมาท เคารพในปฏิสันถาร หากชาวพุทธทุกคน ทำหน้าที่ที่ดีของชาวพุทธ ย่อมไม่มีความเสือม พระพุทธศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรือง พลังศรัทธาของชาวพุทธ ก็มั่นคงเหนียวแน่น อายุพระพุทธศาสนาก็จะยืนยาวนาน ตลอดกาล (องฺ.ปญฺจก. (แปลไทย) 36/582)




ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงข้อมูล

15 ความคิดเห็น:

  1. กราบอนุโมทนา สาธุเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  2. กราบอนุโมทนาสาธุกับบทความเตือนสติชาวพุทธค่ะ

    ตอบลบ
  3. อนุโมทนา
    สาธุ สาธุ สาธุ

    ตอบลบ
  4. สิ่งล้ำค่าต่างๆได้จากพระพุทธศาสนา,เมตตา,ความยิ้มแย้มแจ่มใส,มิตรไมตรีซึมซับในใจคนที่เป็นชาวพุทธำเ้หล่อหลอมกันเป็นสายเลือด,ได้อะไรความรุนเเรงก็ไม่ค่อยจะมีในหมู่ผู้มีศีล,ความสงบก็ได้,สันติก็ได้ชนกลุ่มใดนำไปปฏิบัติก็มีสุข,กาย,ใจน่าอนุโมทนา

    ตอบลบ
  5. สาธุค่ะ เราชาวพุทธมาเดินตามรอยของบรรพชนในกาลก่อนเพื่อร่วมสร้างสังคมให้สงบร่มเย็น เป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองที่แท้จริง

    ตอบลบ
  6. สาธุ สาธุ สาธุครับ

    ตอบลบ
  7. สาาธุๆๆ ขออนุโมทนาบุญฯ

    ตอบลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. อนุโมทนาบุญสำหรับข้อมูล...เราชาวพุทธจะได้รู้ข้อมูลแบบละเอียดๆค่าา...สาาาธ!!!

    ตอบลบ
  10. กราบอนุโมทนาบุญสาธุ สำหรับข้อมูลทางพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตโบราณกาลครับ

    ตอบลบ
  11. อยากให้ประเพณีหยุดงานวันพระกลับมาใหม่ในสังคมไทย สาธุ

    ตอบลบ
  12. กราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะสาธุๆๆ

    ตอบลบ

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา