ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สติ สัมปชัญญะ : บทที่ ๖ : การศึกษาขาดครูดีไม่ได้ : ความหมายของคำว่า "ครู"

 


 สติสัมปชัญญะ | รากฐานการศึกษา

ตอน

การศึกษาขาดครูดีไม่ได้ 

ความหมายของคำว่า "ครู"

          ความจริงกายภาพ-จิตภาพที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติ มีความสำคัญต่อการศึกษามากฉันใด ครูดีก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าความจริงฉันนั้น
          ครูคืออะไร คำว่า ครู มีรากศัพท์จากคำว่า ครุ และ คารวะ ซึ่งเป็นคำเดียวกันในภาษาบาลี
          ครุ แผลงเป็น ครู
          ครุ แปลว่า หนัก หมายถึง หนักแน่น
       ครูต้องหนักแน่นในเรื่องอะไร
       ๑. ครูต้องหนักแน่นเพื่อค้นคว้าหาความจริงกายภาพ-จิตภาพที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติ ให้เข้าใจถูกต้องและครบถ้วนชัดเจนทั้งเหตุทั้งผลและพร้อมอธิบายขยายความ
       ๒. ครูต้องหนักแน่นประพฤติตนให้เหมาะสมถูกต้องตรงต่อความจริง เพื่อให้เกิดเป็นความดี มีใจผ่องใส มีใจเก็บไว้กลางกายเป็นนิจ มีอารมณ์ดี อารณ์เดียว เมื่อทำอะไรแล้วต้องไม่มีความเดือดร้อนใด ๆ ตามมาภายหลังทั้งต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย
       ๓. ครูต้องหนักแน่น ยอมหนักแรงถ่ายทอด สั่งสอน ฝึกหัด ดัดนิสัย อบรมศิษย์ให้เข้าถึงความจริงกายภาพ-จิตภาพที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติ และประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสมตรงตามความจริงตามครู
       ส่วนศัพท์คำว่า คารวะ แผลงเป็น เคารพ แปลว่า ตระหนัก ครูต้องตระหนักในเรื่องอะไร
      ๑. ตระหนักในความสำคัญของการรู้ความจริงทั้งกายภาพและจิตภาพ
      ๒. ตระหนักในความดีที่ได้รู้ ได้เห็นจากบุคคล สิ่งของ เหตุการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งตรึงติดฝังใจ
       ๓. นำความดีที่ติดตรึงใจนั้นมาประพฤติตนให้ดี ตามที่ได้รู้ได้เห็นนั้น เพื่อจะได้ทำความดี มีสิ่งของดี ประสบแต่เหตุการณ์ดีตามนั้น และพัฒนาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
        ความเคารพจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่งสำหรับศิษย์ที่ต้องมีต่อครู
        ด้วยเหตุที่ครูเป็นผู้มีความหนักแน่น มีความตระหนักติดใจในความดี ครูจึงมีความน่าเคารพน่ากราบไหว้บูชาเพราะ
        ๑. ครูรอบรู้ความจริงที่ต้องรีบรู้ และรู้วิธีประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะสมตรงกับความจริงนั้น
               ๑.๑ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเอง ศิษย์ และผู้อื่นตามมาภายหลัง
               ๑.๒ มีแต่ความสุขความเจริญเท่านั้นตามมา นี้เป็นความจริงที่ผู้เป็นครูต้องรีบรู้และต้องรีบประพฤติถูกต้องตรงไปตรงมา
        ๒. ครูประพฤติตนเหมาะสมถูกต้องตรงตามความจริงที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติ เพื่อให้ตนเป็นต้นแบบความดีแก่
        ๓. ครูเพียรถ่ายทอด อบรม สั่งสอนศิษย์ด้วยความเมตตา กรุณา และอดทน
              ๓.๑ เพื่อให้ศิษย์รู้ชัดความจริงที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติปฏิบัติ
              ๓.๒ เพื่อให้ศิษย์ประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสมถูกต้องตรงตามความจริงที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติให้เคย คุ้นชิน ติดแน่นฝังใจ เป็นนิสัยดีประจำตนเช่นครูดี 

2 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา