ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สติ สัมปชัญญะ : บทที่ ๖ : ตอน การออกแบบบทฝึกนิสัย,การใช้บทฝึกนิสัย,การประเมินบทฝึกนิสัย

 


สติสัมปชัญญะ | รากฐานการศึกษา

ตอนที่ ๔,๕,๖

บทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติสัมปชัญญะ

: การออกแบบบทฝึกนิสัย,การใช้บทฝึกนิสัย,การประเมินบทฝึกนิสัย 

การออกแบบบทฝึกนิสัย

คุณครู หรือคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง หรือครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สามารถออกแบบบทฝึกนิสัยได้หลากหลายรูปแบบตามความถนัดของผู้ออกแบบและลักษณะผู้เรียน ดังนี้
          ๑. มีหัวข้อครบตามส่วนประกอบบทฝึก ดังตัวอย่างบทฝึกนิสัยตนเองผ่านการเจริญสติเก็บใจไว้กลางกายบทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติสัมปชัญญะผ่านการเดิน บทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติสัมปชัญญะผ่านการทำความสะอาดโต๊ะและเก้าอี้นักเรียน
          ๒. ยึดความจริงที่ต้องรีบประพฤติปฏิบัติเป็นหลัก แล้วระบุความจริงกายภาพ-จิตภาพที่ต้องรีบรู้ เพื่อแสดงความเป็นเหตุเป็นผล ในแต่ละขั้นตอนที่ต้องประพฤติปฏิบัติ ดังตัวอย่างบทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติสัมปชัญญะผ่านกิจวัตรประจำวันจากการใช้ห้องสุขาด้านท้าย

การใช้บทฝึกนิสัย

          บทฝึกนิสัยสามารถใช้ได้ทั้งในและนอกห้องเรียน ใช้ได้ในกิจวัตรประจำวันทั้งที่บ้าน โรงเรียน สถานที่ต่าง ๆ การนำไปใช้ พ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู ครูพระ ควรฝึกผู้เรียนให้ประพฤติปฏิบัติภายใต้คำแนะนำ ให้กำลังใจ พูดคุยปรึกษากันอย่างสร้างสรรค์ หากจะใช้วิธีลองผิดลองถูก ต้องให้เหตุผลว่าถูก-ผิดเพราะอะไร ควรมีครูกำกับเพื่อป้องกันศิษย์เข้าใจผิด คิดผิด พูดผิด และทำผิด ๆ

การประเมินบทฝึกนิสัย

          บทฝึกนิสัยที่ดีต้องทำให้ผู้เรียน ๑) รู้ชัดความจริงกายภาพ-จิตภาพที่ต้องรีบรู้ รีบประพฤติ ๒) ประพฤติปฏิบัติถูกต้องตรงความจริงนั้นให้เป็นนิสัย พ่อแม่ ครู ครูพระ จึงควรให้ผู้เรียน คือ ลูกหลานเรา ศิษย์ได้ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเป็นประจำ ภายใต้การเอาใจใส่ แนะนำ โดยมีพ่อแม่ ครู ครูพระ ประพฤติปฏิบัติเป็นนิสัยดีให้เห็นเป็นแบบอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา