ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สติ สัมปชัญญะ : บทที่ ๖ : ตอน ความหมายบทฝึกนิสัย,ส่วนประกอบบทฝึกนิสัย

 


สติสัมปชัญญะ | รากฐานการศึกษา

ตอนที่ ๒,๓

บทฝึกนิสัยตนเองให้มีสติสัมปชัญญะ

: ความหมายบทฝึกนิสัย,ส่วนประกอบบทฝึกนิสัย

 ความหมายบทฝึกนิสัย

          บทฝึกนิสัย คือ ข้อกำหนดให้ปฏิบัติกิจนั้นเป็นประจำ จะละเว้นมิได้ เพราะถูกต้องตามคำสอนของผู้รู้จริงจนผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเกิดความเคย คุ้น ชิน ติด เป็นนิสัยประจำตน

ส่วนประกอบบทฝึกนิสัย

          บทฝึกนิสัยมีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้
          ๑. วัตถุประสงค์ เป็นการระบุว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติอะไรเพื่อให้เกิดคุณธรรม นิสัย หรือรู้ชัดความจริงอะไร การเขียนวัตถุประสงค์จะเขียนที่ชื่อบทฝึกนิสัยก็ได้หรือเขียนแยกเป็นหัวข้อก็ได้
          ๒. ความจริงกายภาพที่ต้องรีบรู้ เป็นการสรุปสาระสำคัญความจริงกายภาพที่ต้องรีบรู้ เขียนในรูปของสูตรสมการ ข้อความสำคัญ เพื่อผู้เรียนสามารถจับสาระสำคัญได้ถูกต้อง จดจำได้ง่าย คิดใคร่ครวญความเป็นเหตุเป็นผล ก็จะรู้เข้าใจว่าทำไมจึงต้องเรียน และจะนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร
          ๓. ความจริงจิตภาพที่ต้องรีบรู้ เป็นการสรุปสาระสำคัญความจริงจิตภาพที่ต้องรีบรู้ เขียนในรูปของคำ วลีประโยค ข้อความสำคัญที่จัดเรียงลำดับตามความลุ่มลึก เพื่อผู้เรียนสามารถสังเกตเห็น จดจำ คิด รู้ได้เข้าใจง่ายมีความเชื่อมโยงกับความจริงกายภาพที่ต้องรีบรู้ ความจริงที่ต้องรีบประพฤติอย่างไร จึงรู้ชัดเหตุผลว่าทำไมจึงต้องประพฤติปฏิบัติ
          ๔. ความจริงที่ต้องรีบประพฤติปฏิบัติ ประกอบด้วย ๔ ส่วนสำคัญ คือ
                 ๔.๑ มีสติเก็บใจไว้ในกาย
                 ๔.๒ มีสัมปชัญญะ สังเกต เห็น จำ คิด รู้ เกี่ยวกับตนเอง
                 ๔.๓ มีสัมปชัญญะ สังเกต เห็น จำ คิด รู้ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ๕
                 ๔.๔ ประพฤติปฏิบัติอย่างมีสติสัมปชัญญะ
          ๕. ผลการประพฤติปฏิบัติ ระบุความจริงที่เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติเมื่อทำถูกต้องเป็นประจำแล้วว่าเป็นอย่างไร หากผู้เรียนยังทำไม่ได้ ต้องติดตามช่วยชี้แนะแก้ไขข้อบกพร่องค่อย ๆ ให้กำลังใจ และพัฒนาจนกว่าจะทำได้เองเป็นนิสัยติดตัวไป 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา