สังคมสงฆ์ในยุคก่อนพุทธกาล : ความหมาย
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกชื่อ "สงฆ์" ตามลักษณะการปกครองสมัยโบราณที่โดดเด่นของกลุ่มลิจฉวี ที่มีระบบสภา หรือ เรียกว่า ระบบ "ลิจฉวีสงฆ์" นั้น ในพระไตรปิฎกได้กล่าวเล่าเรื่องราวนี้ ซึ่งเป็นเรื่องราวของความประพฤติปฏิบัติของกลุ่มกษัตริย์ในเมืองเวลสาลีไว้มาก ได้แก่
👉หลักการปกครองบริหารบ้านเมือง
ด้วย "วัชชีอปริหานิยธรรม 7 ประการ"
👉การกำหนดตำแหน่งการบริหารงานด้านบทบาทและหน้าที่
พรรณนาภาพลักษณ์ของเมืองที่อุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง
พื้นที่กว้างใหญ่ พลเมืองมาก
👉ความงดงามและการประดับตบแต่งกายเหมือนเทวดาชั้นดาวดึงส์
👉วิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั่งสุขุมมาลชาติ
👉ความสามารถในการยิงธนูของกุมารลิจฉวี ในสถานที่
ที่เรียกว่า "สัณฐาคาร" หรือ ที่เรียกว่า "รัฐสภา"
เหตุที่ทรงคุ้นเคยการปกครองในระบบชนเผ่าลิจฉวีมาก่อน จึงให้ความสำคัญต่อบทบาทของกลุ่มลิจฉวีเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นระบบ "สงฺฆ" ในการปกครอง จึงทรงนำคำว่า "สงฆ์" มาเป็นชื่อกลุ่มของสังคมที่ทรงตั้งใหม่ เรียกว่า "ภิกษุสงฆ์" ซึ่งหมายถึง ภิกษุของพระพุทธเจ้า ผู้มีทัศนคติ และมีความประพฤติตรงกันตามหลักพระธรรมวินัย
ดังนั้น....คำว่า "สงฆ์" ทางคัมภีร์พระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงตั้งและนำชื่อ "สงฆ์"เรียกชื่อกลุ่มผู้มาสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกและประพฤติตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์
การบวชพระ : เป็นชีวิตที่ประเสริฐ ประพฤติตนตามหลักพระธรรมวินัย สงบเสงี่ยม สง่างาม |
ในหนังสือปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ได้ให้ความไว้ว่า
สงฆ์ หมมายถึง หมู่คน หรือสัตว์ มีชาติเสมอหรือต่างกัน
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
ในพจนานกรมพุทธศาสน์ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า
สงฆ์ หมายถึง หมู่ คณะ ชุมชน
ภาษาไทย เรียกว่า "พระสงฆ์" หรือ "ภิกษุสงฆ์"
คำว่า "พระ" ตามรูปศัพท์ มาจากคำว่า "วร"
"วร" แปลว่า ประเสริฐ, เลิศ, วิเศษ
ดังนั้น คำว่า ภิกษุ หรือ พระภิกษุ
ตามความหมายในภาษาไทยหมายถึง บุคคลผู้ประเสริฐ
ภิกษุ แปลว่า ผู้ขอโดยสงบ, ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร,
ผู้ที่ใช้สอยผ้าที่ถูกทำลายแล้ว
มีข้อมูลเรื่องการให้ความหมายของภิกษุในพระไตรปิฎก ไว้ว่า
ภิกษุ คือ ผู้ออกบวชเพราะเห็นภัยในวัฏสงสาร (พกสูตร)
ภิกษุ คือ ผู้สำรวม กาย วาจา ใจ ใช้ชีวิตสันโดษ
ยินดีในการเจริญภาวนา(พระสูตรหังสฆาตภิกขุ)
ภิกษุ คือ ผู้สำรวมกายและใจ ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ยินดีในการเจริญกรรมฐาน (สารีปุตตเถรคาถา)
พอจะอธิบายขยายความ คำว่า "ภิกษุ" ได้ว่า มีความหมายหลายอย่าง เช่น ผู้ขอ ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏ
ส่วนคำว่า "สงฆะ" หรือ สงฆ์ แปลว่า หมู่ หรือ คณะ ไม่ได้ใช้กับพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น ขึ้นอยู่กับคำนำหน้าของคำว่า สงฆ์ หรือ สังฆะ เช่น หมู่แมลง หมู่สัตว์ ก็ใช้ได้
ดังนั้น คำว่า ภิกษุสงฆ์ จึงหมายถึง หมู่แห่งภิกษุ
ตัวอย่าง ภิกฺขุสงฺฆปริวาโร สตฺถา แปลความได้ว่า
พระศาสดา มีหมู่แห่งภิกษุเป็นบริวาร
คำว่า ภิกษุสงฆ์ หรือ ภิกฺขุสงฺโฆ หมายถึง พระภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป
สรุป ภิกษุ โดยมากหมายถึง ภิกษุบุคคล
สงฆ์ หมายถึง หมู่คณะของพระภิกษุที่ทำสังฆกรรมตามพระธรรมวินัย
จำแนกได้ 2 คือ
- สมมุติสงฆ์ พระภิกษุปุถุชนที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมใด ๆ
- อริยสงฆ์ พระภิกษุที่บรรลุธรรมแล้ว
ดังนั้น
ลักษณะพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ตามความประสงค์พระพุทธเจ้า จึงมีลักษณะแตกต่างไปจากสังคมดั้งเดิมก่อนพุทธกาล ภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงมาจากการประพฤติปฏิบัติธรรมในวิถีชีวิตการออกบวชตามคำสอนในพระธรรมวินัย
ดังพุทธพจน์ตรัสว่า
"แม้บุคคลจแต่งตัวแบบใดก็ตาม ถ้าเขาเป็นผู้สงบ ฝึกตนได้ เป็นผู้แน่วแน่ สงบจากกิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ ละเว้นการเบียดเบียนสรรพสัตว์ ประพฤติสม่ำเสมอ ควรเรียกบุคคลเช่นนั้นว่า พราหมณ์ สมณะ หรือ ภิกษุ ก็ได้" (ขุ.ธ.(ไทย) 25/ 142/ 75)
ขอขอบคุญแหล่งข้อมูล และรูปภาพ
- ความหมายของคำว่าสงฆ์ จากคัมภีร์พระเวท : Dutt,Sukumar. Buddhist Monks and Manasteries of India. Delhi : Motilal Banarsidass,1988.และสังฆมุขย : Chatterjee,Asim Kimar. Political History of Pre-Buddist India. Calcutta : India Publicity,1980.
- เรื่องราวของเผ่ากษัตริย์ลิจฉวี ที่ใช้คำว่า "สงฆ์" ในระบบการปกครอง เรียกว่า ลิจฉวีสงฆ์
- วัชชีอปริหานิยธรรม 7 ประการ (ที.ม.(ไทย)10/134/78-80)
- การกำหนดตำแหน่งการบริหารองค์กรตามบทบาทหน้าที่ จนกระทั่งสภาพของเมือง ความเป็นอยู่ และประชากรมีมาก(วิ.ม.(ไทย) 5/326/179
- พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบกลุ่มเจ้าลิจฉวีมีบุคลิกและการแต่งกายคล้ายเทวดาชั้นดาวดึงส์ : ลิจฉวีวัตถุ (วิ.ม.(ไทย)5/289/106)
- และมีชีวิตอยู่ดั่งสุขุมมาลชาติ(สํ.นิ.(ไทย) 16/230/318-319)
- วาลสูตร เรื่องราวของการยิงธนูของกุมารลิจฉวีในอาคารสัณฐาคาร ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในการปกครองของกลุ่มลิจฉวีสงฆ์(สํ.ม.(ไทย)19/1116/628)
- ความหมายของคำว่า "สงฆ์"
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน พ.ศ.2542 กรุงเทพฯ:นามมีบุคส์พับลิเคชันส์,2544
- พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลทรัพย์ พิมพ์ครั้งที่ 11 กรุงเทพฯ:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.2551
- หนังสือปทานุกรม บาลี อังกฤษ ไทย สันสกฤต ของ พระเจ้าบรมเธอพระองค์เจ้ากรมพระจันทบุรีนฤนาถ พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย
- ความหมายของคำว่า "ภิกษุ
- พระไตรปิฎกออนไลน์(ขุ.ธ.(ไทย)25/142/75) พุทธพจน์ เรื่องลักษณะภิกษุ
- เพจรูปภาพจากบล็อกดี ๆ 072 และเพจการบ้าน
ขอกราบขอบพระคุณ สาธุ ขอกราบอนุโมทนาบุญ
ตอบลบกราบอนุโมทนาสาธุครับ
ตอบลบสาธุ สาธุ สาธุ
ตอบลบสาธุๆๆ
ตอบลบ