วัดธัญญะผล : เดินทางไปกราบนมัสการเจ้าอาวาสวัด
สามเณรธรรมทายาท 3,500 องค์
ในโครงการอุปสมบท บูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ประจำปี 2563
ปัจจุบันบวชเป็นสามเณร
เหล่าก่อสมณะกำลังเตรียมตัวเป็นพระแท้ ปฏิบัติสมณกิจประจำวัน
อีกไม่กี่วันก็จะกลายเป็นพระภิกษุทั้งหมด
สามเณรธรรมทายาท 3,500 รูป : ปฏิบัติภาวนารวมกันที่ลานมหาธรรมกายเจดีย์ |
ฝึกฝนตน และฝึกใจ ปฏิบัติภาวนา
ฝึกอดทน ฝึกอดกลั้น ฝึกความรับผิดชอบ
มีความตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติตน ขัดเกลาอุปนิสัยตนเอง
เคารพ เชื่อฟัง ตามคำแนะนำพระพี่เลี้ยง
มีความมุ่งหมั่น สร้างศรัทธา ความเชื่อมั่นในตนเอง
ประพฤติปฏิบัติดี ตามหลักธรรม
เพื่อให้เป็นเนื้อนาบุญเหล่าญาติโยม ที่มีความตั้งใจมาร่วมงานอุปสมบท
ในวันที่ 12,13,14 ธันวามคม 2563
ขณะฝึกตนอยู่ร่วมกัน
สามเณรทุกรูปได้ปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดในการป้องกันโควิด 19
พระอุปัชฌาย์ ขณะให้โอวาท ได้กล่าวชมเชยสามเณรธรรมทายาท ว่า... "ป้องกันโควิดได้อย่างดี" ในขณะฝึกตนอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ใหญ่ ทั้งเรื่องใส่หน้ากากอนามัย เรื่องการล้างมือ การเว้นระยะห่าง และก็ป้องกันตัวเองไว้ทุกวิถีทาง ทำให้เราปลอดจากโรคภัยใคร่เจ็บ ไม่มีเชื้อเข้ามา...
ตัวแทนทีมงานจัดงานบวช กราบท่านเจ้าอาวาสวัดธัญญะผล
วัดธัญญะผล เป็นวัด วัดหนึ่งใจจังหวัดปทุมธานี ที่เป็นวัดยอดเยี่ยมที่เจ้าอาวาสนำคณะพระภิกษุ และคณะญาติโยมในชุมชน ปฏิบัติศาสนกิจตามคำสอนพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และคนหมู่มาก มีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนามากมาย เช่น ปฏิบัติภาวนา รักษาศีล สวดมนต์ จัดกิจกรรมงานบวชในชุมชน เป็นต้น และยังร่วมโครงการหมู่บ้านศีลห้า คณะจัดงานบวชในโครงการอุปสมบทจึงได้เข้าไปขอความอนุเคราะห์ในการขอใช้พื้นที่ในการอุปสมบท ท่านก็เมตตาอนุญาตให้ทีมงานไปจัดบวช
น้องไข่เจียวจะพาทัวร์วัด แห่งธรรมะ ตามไปดูกันเลย
ประวัติวัดธัญญะผลและที่ตั้งวัด
วัดธัญญะผล สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2410 โดยมีอำแดงพุก นางเอี่ยม และสมภารหลง เป็นผู้ดำเนินการสร้างวัดและได้ขนานนามว่า “วัดพุทธนิมิตยาราม” ต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น “วัดธัญญะผล” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 มีที่ดินที่ตั้งวัดเนื้อที่ รวมจำนวน 33 ไร่ 1 งาน 43 ตารางวา มีนางวงษ์ รักษาธรรม, นายสมศักดิ์ สถิตกุลรัตน์ และนางเหรียญ สัจจาพันธ์เป็นผู้ถวาย โดยมีพระครูโกวิทอรรถวิบูลย์ เป็นผู้จัดซื้อเพิ่มเติมที่ดินผืนนี้
บริเวณวัดธัญญะผล : อุโบสถที่สามเณร 15 รูป จะเข้าไปบวชพระ |
ที่ตั้งวัดธัญญะผล
เลขที่ 57 หมู่ 5 คลอง8 ตำบลลำลูกกา
อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150
เปิดทำการทุกวันเวลา 7.00 – 16.00 น.
วัดนี้ มีประวัติยาวนานกว่าร้อยปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นวัดที่สะอาดมาก เมื่อเข้าไปวัด ก็จะได้บรรยากาศที่สดชื่น เขียวขจีไปด้วยต้นไม้ และพื้นที่ทุกส่วนก็สะอาดมาก เข้าไปพื้นที่บริเวณวัดแล้ว รู้ว่าใจสงบ และปลอดโปร่ง เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูโสภิตปุญญากร,ดร (กล้า กตปุญฺโญ ป.ธ.4) ท่านเป็นพระนักพัฒนา ลงมือทำกิจกรรมกับพระเณร พัฒนาวัดให้เป็นที่สัปปายะ เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติกิจของสงฆ์ และให้ชาวบ้านในชุมชนเข้ามาทำบุญ ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในแต่ละวัน
เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (2563) : พระครูโสภิตปุญญากร,ดร.(กล้า กตปุญฺโญ ป.ธ.4) |
ภายในวัดธัญญะผล มีอาคารปลูกสร้างเป็นสัดส่วน สวยงาม น่ามอง ตั้งแต่หน้าประตูวัด บนป้ายวัดด้านข้างทั้งสองฝั่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งซ้ายขวามีกรอบใส ๆ มองเข้าไปเห็นพระพุทธรูปองค์ขนาดพอประมาณนั่งขัดสมาธิหลับตา เมื่อมองไปภายในวัด ก็จะมองเห็นอาคารต่าง ๆ เช่น อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักสิทธิ์ 100 กว่าปี อาคารหลวงพ่อยิ้ม อาคารหุ่นขี้ผึ้งเกจิอาจารย์ อาคารประดิษฐานพระพุทธรูปทรงสมัยสุโขทัย และพระบรมสารีริกธาตุ และอาคารของรูปเทว ต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งระฆัง สะเดาะห์เสริมดวงชะตา ขณะเดินเคาะระฆัง ก็มีบทสวดอิติปิโส ให้สวดท่อง ทั้งเดินไป เดินกลับ (สามารถคลิกชมคลิปบรรยากาศวัด ที่อยู่ด้านล่างบทความ)
พาสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 100 ปีกว่า และ พระบรมสารีริกธาตุ
พระพุทธรูปศักสิทธิ์ประจำวัด(หลวงพ่อพุทธนิมิต หรือ หลวงพ่อใหญ่ อายุว่า 105 ปี) |
สักการะพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปทรงสมัยสุโขทัย |
หุ่นขี้ผึ้งพระอริยสงฆ์ 9 เกจิ : เช่น รูปหุ่นขี้ผึ้งพระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร) |
ชมภาพบรรยากาศของวัดธัญญะผล
วัดใหญ่ วัดงดงาม ร่มรื่น ชุมชนน่าอยู่ เหมาะกับการทำกิจกรรมบุญ
และทำบุญจัดงานบวชพระ
ดังนั้น👉🙏
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมงานอุปสมบทสามเณรธรรมทายาท
จำนวน 15 รูปที่วัดธัญญะผล
ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ตามกำหนดการด้านล่างนี้
|
พระพุทธศาสนา ยังคงอยู่ได้ เพราะพุทธศาสนิกชน รวมใจเป็นหนึ่งเดียว
คำขวัญเมืองปทุมธานี :
"ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม"
การเดินทางไปวัดธัญญะผล คลอง 8 ลำลูกกา
เส้นทางสู่วัดธัญญะผล คลอง 8 ลำลูกกา : คลิกเข้าสู่แผนที่กูลเกิ้ล
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา