ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563

การบวชพระ 222 วัด : สถานที่แห่งการศึกษาของชาวพุทธ

อนุโมทนาบุญการบวชพระ 222 วัด

การบวชพระในโครงการอุปสมบทบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์
12,13,14 ธันวาคม 2563  ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว
พระธรรมทายาทใหม่ 3,500 รูป ได้กลับไปที่ศูนย์อบรบวัดพระธรรมกาย
เพื่อฝึกฝน อบรม เรียนรู้ การเป็นพระแท้ ที่สมบูรณ์ ต่อไป

 

ภาพกิจกรรมบุญ 

: พิธีกรรมการอุปสมบทตามวัดต่าง ๆ ใน 222 วัด

 
สามเณรธรรมทายาท ผู้ปกครอง คณะญาติ เดินประทักษิณรอบโบสถ์

พิธีกรรมอุปสมบทในอุโบสถ์
พิธีอุปสมบทในโบสถ์ : บวชพระได้ครั้งละ 3 รูป

คุณครูไม่ใหญ่เคยบอกไว้ว่า... 

หลังงานบุญ ต้องตรึกระลึกถึงบุญ 7 วัน

..ทุกท่าน >>ที่ได้ไปร่วมงานบุญในวัด 222 วัด
ทั้งทางออนไลน์ และ การปฏิบัติจริง
อย่าลืม!!! ตรึกนึกถึงบุญกุศล กรรมดี ที่เราได้กระทำในครั้งนี้
นำพลังความบริสุทธิ์
ให้คนไทยทั้งประเทศ สามัคคีในการพัฒนาตนทั้งกายและใจ
เพื่อเป็นคนดีของสังคม 
โลกจะอยู่ได้ด้วย ความสงบร่มเย็น 
ภาพเหล่านี้จะกลายเป็น...
ประวัติศาสตร์ของทุกท่าน ภาพแห่งการรวมใจ สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน
ในการสืบสานอายุพระพุทธศาสนา
เป็นการหมุนกงล้อของธรรมจักร อันเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
สืบทอดเจตนารมณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
การบวชพระเป็นความสำคัญมาก จึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา
เป็นการบวชที่ยิ่งใหญ่ในครั้งหนึ่งที่ปรากฎขึ้นในประเทศไทย 
จะเป็นประวัติของตนเอง กำหนดจดจำ 
นำความปลื้มปีติยินดีมาให้เมื่อนึกถึงในโอกาสต่อไป
อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ทุก ๆ ท่าน

 

การเกิดสังคมสังฆะของชาวพุทธกลุ่มแรก

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ทรงค้นพบทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงแล้ว พระองค์ทรงได้อาศัยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อหมู่สัตว์ เสด็จจาริกไปเพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนที่ตรัสรู้แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย 

พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ : ปฐมเทศนา : ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

เสด็จไปแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี เป็นครั้งแรก จนกลุ่มปัญจวัคคีย์ ออกบวช ซึ่งผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เป็นรูปแรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็น 1 ในกลุ่มผู้ฟังธรรมแล้วได้เกิดธรรมจักษุได้ดวงตาเห็นธรรม นับว่าเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาตการบรรพชาอุปสมบทให้ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้มีพระตรันตรัยเกิดขึ้นบนโลกนี้ ครบบริบูรณ์

พระปัญจวัคคีย์ ได้ปฏิบัติตนเป็นพระสาวกตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีในการเผยแผ่พระธรรม มีการฝึกฝนบำเพ็ญตบะ และมีศีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นบุคคลที่น่าเลื่อมใส สร้างประโยนช์สุข แก่ตนเองและหมู่คณะ ทำให้มีจำนวนคนขอเข้ามาบวชเพิ่มขึ้นมากมาย ผู้เข้ามาบวชในภายหลังก็ได้ฝึกฝนอบรมตนเองตามต้นแบบ จนกระทั่งสังคมสงฆ์ขยายตัว เจริญเติบโต ไปทั่วประเทศอินเดีย


พระพุทธเจ้าทรงตั้งคณะสงฆ์เพื่อเป็นตัวอย่างในสังคมยุคพุทธกาล รับคนทุกวรรณะ เข้ามาเป็นสมาชิก และได้ฝึกฝน อบรม หล่อหลอม ปฏิบัติธรรมให้หลุดพ้นความทุกข์ ตามหลักธรรม อริยมรรค ให้เป็น อริยชน ล้างระบบเผ่าพันธ์ เชื้อชาติเดิม เปิดกว้างต่อทุกชนชั้น หล่อหลอมเป็นชนชั้นเดียวกัน เหมือนแม่น้ำหลายสายไหลรวมลงสู่มหาสมุทร     เป็น นักบวช ในสังคมชาวพุทธ ดังปรากฎในพระไตรปิฎก 

"วรรณะ 4 เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร ออกจากเรือนมาบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อ และโคตรเติมของตน เรียกว่า เป็นศากยบุตร ทั้งสิ้น" (องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) 23/ 19/ 250)

จนก่อเกิดสังคมใหม่ เป็นสังคมแห่ง "วัฒนธรรมการศึกษาของชาวพุทธ" 

สร้างประโยชน์สุขต่อตนเองและผู้อื่น ๆ ในสังคม  

และวัดก็เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งในการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุ สามเณร

ดำรงชีวิตตามพระธรรมวินัย  นำหลักธรรมที่ได้ไปอบรมสั่งสอน

ให้แก่ประชาชน ต่อไป

ดังนั้น วัฒนธรรมการศึกษาของชาวพุทธ กล่าวได้ว่า มีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา โดย มีพระภิกษุสงฆ์เป็นตัวแทนถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธเจ้าไปสู่ประชาชน
ดั่งพุทธพจน์ในการส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนา ว่า
              ภิกฺขู อามนฺเตสิ มุตฺตาหํ ภิกฺขเว สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสา ตุเมฺหปิ ภิกฺขเว มุตฺตา สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสา จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ (วิ.ม. (บาลี) 4/ 32/ 40 )
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขของคนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์และเกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย” (วิ.ม. (ไทย) 4/ 32/ 40 )


ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง และรูปภาพ

 

3 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา