ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563

พระภิกษุสงฆ์ : ต้นแบบที่ดีของชาวพุทธ

 ภิกษุสงฆ์เป็นสังคมสังฆะที่เป็นต้นแบบของชาวพุทธ 

เพราะอะไร จึงกล่าวว่า "พระภิกษุสงฆ์ เป็นสังคมสังฆะจึงเป็นสังคมแห่งความสุข เป็นต้นแบบศีลธรรม เป็นรากฐานสร้างวัฒนธรรมศีลธรรมที่ดีงามในชุมชน" ทำให้ชุมชน ประชาชนมีชีวิตเป็นสุข สังคมมีศีลธรรม และจริยธรรม จนกลายเป็นมาตรฐานคนดีของสังคม แม้ต้นทุนชีวิตที่เกิดมาไม่เท่ากัน พระพุทธองค์ทรงเปิดกว้างแก่ชนทุกระดับชั้น และยังเป็นบรมครูสั่งสอน และมีวิธีการให้ทุกคน ฝึกตนเป็นคนดีที่ชาวโลกต้องการอย่างไร ลองมาทำความเข้าใจการสอนของพระพุทธเจ้าว่า พระองค์ทรงอบรม สั่งสอน หล่อหลอมคณะพระภิกษุ อย่างไร


หลักธรรมที่แสดงโปรดกลุ่มพระภิกษุกลุ่มแรก : ปัญจวัคคีย์

หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว พระปัญจวัคคีย์ เป็นคณะสงฆ์ชุดแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง จนทำให้เกิดมีพระรัตนตรัยที่สมบูรณ์ 

ในบทธรรมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เข้าใจชีวิตของการปฏิบัติของนักบวชอย่างแท้จริงว่า หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติ มี 2 อย่าง คือ(วิ.ม.(ไทย)4/13-14/20)

1 กามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลาย (การหมกมุ่นอยู่ในกามคุณทั้งหลาย) เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุธุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

2 อัตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ซึ่งเป็นกิจของผู้ครองเรือน เป็นทางสุดโต่ง ไม่ใช่ทางประเสริฐของพระอริยะผู้ออกจากเรือนมาบวชเป็นบรรพชิต

ต่อมาจึงได้ทรงแนะนำให้ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง "มัชฌิมาปฏิปทา"

คือ มรรคมีองค์แปด

ทรงเมตตา อธิบายขยายความอย่างต่อเนื่องไปตามลำดับ

ทรงแสดง "อริยสัจสี่" ความเป็นจริงของชีวิตที่ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นอริยเจ้า ซึ่งแตกต่างจากคำว่า อริยสงฆ์ในสังคมพราหมณ์ที่กำหนดด้วยชาติกำเนิด

อริยสัจ 4 คือ 

1 ทุกข์

2 สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

3 นิโรธ ความดับทุกข์ การสละ ความไม่อาลัยในตัณหา

4 มรรค แนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์

ข้อที่ 4 มรรค เป็นหลักธรรมที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย มรรคมีองค์แปด หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" ก็คือ ทางสายกลาง ซึ่งเมื่อปฏิบัติแล้วจะทำให้เกิดปัญญา ก่อให้เกิดญาณ ทำให้มีความสุข สงบ และพ้นทุกข์ เข้าสู่นิพพานในที่สุด (วิ.ม.(ไทย) 4/13-14/20-23)

มรรคมีองค์แปด คือ 

1 สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ 

2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ

3 สัมมาวาจา เจรจาชอบ

4 สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ

5 สัมมาอาชีวะ ตั้งใจชอบ

6 สัมมาวายามะ พยายามชอบ

7 สัมมาสติ ระลึกชอบ

8 สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

หลักธรรมเหล่านี้ พระพุทธเจ้า ทรงเทศนาสอนแก่พระปัญจวัคคีย์ จนบรรลุธรรม และได้บวชพระ

หลังจากบวชพระภิกษุสงฆ์กลุ่มแรกแล้ว พระพุทธองค์ ก็ได้ตรัสสั่งสอนภิกษุสงฆ์ทั้งห้า ในการศึกษาหลักธรรมต่อไป คือ "อนันตลักขณสูตร" จนกระทั่งบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทุกรูป (วิ.ม.(ไทย) 4/20-23/27-30)



กล่าวได้ว่า "การบวช" นี้สำคัญ ไม่ธรรมดา เมื่อพระสงฆ์ได้ฝึกฝนตามหลักพระธรรมวินัย อดทน ขัดเกลาตนเอง จนเกิดภาพลักษณ์ของอริยสงฆ์แล้ว ก็จะเป็นต้นแบบที่ดีของสังคม เป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพ น่าเลื่อมใส ศรัทธาแก่ผู้พบเห็น จนเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ทำให้เกิดมีสถาบันสังคมสงฆ์ขึ้น หากไม่มีบวชพระ ก็ไม่มีผู้มาศึกษาหลักธรรม เมื่อไม่มีการศึกษาหลักธรรม ก็ไม่มีการผู้ดูแลรักษาหลักธรรม ไม่เกิดระบบการศึกษาหลักธรรม ก็จะไม่มีพระสงฆ์ได้ฝึกตน เป็นพระสงฆ์ที่เป็นต้นแบบที่ดี พระพุทธศาสนาก็ไม่ยืนยาว พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้คัดเลือกปัญจวัคคีย์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนักบวชในศาสนาพราหมณ์ ผู้ที่ได้เห็นทุกข์ในวัฏสงสาร มีความเพียรระดับหนึ่งในการกำจัดทุกข์ได้ด้วยตนเอง

สังเกตุได้ว่า พระสงฆ์กลุ่มแรกนี้ เป็นผู้มีคุณสมบัติพร้อมต่อการบรรลุธรรมได้ง่าย คือ มีศรัทธาต่อพระองค์ มีสุขภาพแข็งแรง ไม่โอ้อวด มีความเพียร มีปัญญา พระองค์ให้ฝึกอบรมโดยผ่าน "การบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา" เมื่อพระปัญจวัคคีย์ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้ว ก็ได้บรรลุธรรมเป็น "พระอริยสงฆ์" ดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ที่พระพุทธองค์สั่งสอน มีความประพฤติที่ดีงาม น่าเลื่อมใส กราบไหว้ ทำให้เป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนทุกระดับ

ฉะนั้นวัฒนธรรมการศึกษาของชาวพุทธ 

จึงเริ่มต้นจากฝ่ายสังคมสงฆ์เป็นลำดับแรก 



 

สรุปได้ว่า  

"ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" เป็นหลักธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้พระปัญจวัคคีย์ฟัง นับว่าบทสวดมนต์บทนี้ เป็นหลักธรรม สามารถให้พระภิกษุนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีทั้งหมดแปดข้อ เรียกว่า อริยมรรคแปด กล่าวกันว่า จะทำให้จิตใจผู้สวด สบายใจ ใจจะผ่องใส เกิดความปีติสุข คิดดี พูดดี ทำดี ทั้งกายและใจ จนเกิดการพัฒนาองค์รวม 4 ด้าน คือ กาย ศีล จิต ปัญญา ซึ่งเป็นการนำหลักธรรมคำสอนในบทสวดมนต์ มาใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยทำให้ชีวิตมีความสุข กลายเป็นสังคมชาวพุทธที่มีการพัฒนาตนเองให้มีความเจริญงอกงาม เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม จนเป็นวัฒนธรรมการศึกษาของสังคมชาวพุทธ ทำให้ชุมชนในสังคมนั้น มีความสุขในการอยู่ร่วมกัน ส่งผลให้สังคมมีศีลธรรม และจริยธรรม สามารถถ่ายทอดไปสู่อนุชนรุ่นต่อไป

 

เมื่อทราบความสำคัญของบทธัมมจักรแล้ว

จึงขอเรียนเชิญทุกท่าน  ร่วมกันสวดมนต์บทธัมมจักกัปวัตตนสูตร 

ในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 80 ปีของคุณครูไม่เล็ก 

ในวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2563

ณ พระมหาธรรมกายเจดีย์ 



ขอขอบคุณแหล่งเนื้อหาและรูปภาพ


4 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา