ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2563

สังคมสังฆะ : กำเนิดสังคมสังฆ์ของชาวพุทธ

วันบวชพระ : วันแห่งชัยชนะ "ทางโลกทางธรรม”

เริ่มแล้ว งานอุปสมบทสามเณรธรรมทายาท 3,500 รูป 

หลังจากทีมงานจัดงานบวช 

โดยมีคณะสงฆ์ สาธุชน รวมใจช่วยกันไปเตรียมงานบวช ตามวัดต่าง ๆ

จัดสถานที่บวช และเชิญชวนชาวบ้าน และ คนในชุมชน มาร่วมงานบวช

 

วันที่ 12 ธันวาคม 2563 ฟ้าผ่องอำไพ วันแรกของการอุปสมบท

จังหวัดที่จัดงานบวชในวันนี้

สมุทรปราการ สระบุรี อยุธยา อ่างทอง นครนายก 

สุพรรณบุรี นครปฐม ปราจีนบุรี รวม 8 จังหวัด 101 วัด 

จำนวนพระบวชใหม่ 1 ใน 3 ของสามเณรทั้งหมด

ภาพกิจกรรมทำความสะอาดเตรียมสถานที่

เพื่อจัดเตรียมงานบวชพระในสถานที่ ต่างๆ



อริยวินัย : สิกขาบทของวินัยสงฆ์

กล่าวกันว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงตั้งระบบสังคมสังฆะใหม่ เป็นของชาวพุทธ คือ "สังคมพระสงฆ์" เพื่อเป็นแบบอย่างด้านความประพฤติที่ดีงาม  ตลอดการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 45 ปี พระองค์ทรงแก้ไขปัญหาการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมพหุของอินเดีย ด้วยวิธี "การบวช" โดยผู้ที่เข้าบวชนั้น พระพุทธองค์ นำหลักธรรม มาปฏิวัติระบบวรรณะความเชื่อด้านชาติพันธ์ุ ที่เรียกว่า "อริยวินัย"  ซึ่งเป็นสิกขาบทของวินัยสงฆ์ ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากคำว่า อริยะของชาวอารยันที่เรียกยกย่องตนเองว่าเป็นคนประเสริฐ  

มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน เป็นคนดี คนชั่ว ไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด

พระพุทธองค์ทรงเปิดโอกาศให้ทุกคนทุกวรรณะ มีสิทธิเท่าเทียมกัน โดยไม่จำกัดเรื่องชาติพันธ์วรรณะ สมัครเข้ามาเป็นสมาชิก โดยมีพระองค์เป็นบรมครูและพระสาวกเป็นผู้ช่วย ให้การศึกษา อบรม เพื่อได้เรียนรู้คำสอนในพระพุทธศาสนา ฝึกการอยู่ร่วมกันในสังคม ฝึกการดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมวินัย ฝึกฝนจิตใจ และประพฤติตนเป็นคนดีที่สังคมต้องการ เพื่อให้ช่วยเหลือตนเองได้ และช่วยเหลือผู้อื่นได้ มีบุคลิกจนเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธา แก่ผู้ที่พบเห็น ทำให้สังคมสังฆะขยายไปอย่างรวดเร็ว และยังคงดำรงแบบแผนวัฒนธรรมประเพณีอยู่อย่างสงบสุขยาวนานกว่า 2,500 ปี มาจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะทางพระพุทธศาสนาไม่ได้นำชาติกำเนิดมาเป็นตัวแบ่งคุณค่าของมนุษย์ แต่คำสอนของพระพุทธองค์ ถือว่าคนทุกวรรณะเกิดมามีความเสมอภาคกัน คนกระทำดี คนกระทำชั่ว ก็เป็นผลไปตามการประพฤติของตนที่ดี หรือ ชั่ว มิใช่ขึ้นอยู่กับชาติกำเนิด 

ดังพุทธพจน์ ใน ขุทฺทกนิกาย สุตันตนิบาต อุรควรรค วสลสูตร ตรัสไว้ว่า

 น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ

กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ

(ขุ.สุ.(บาลี) 25/306/352) 

แปลความได้ว่า 

"คนจะชื่อว่าเป็นคนเลวเพราะชาติกำเนิดก็หามิได้ จะชื่อว่าพราหมณ์เพราะชาติกำเนิดก็หามิได้ แต่ชื่อว่าเป็นคนเลวเพราะกรรม ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม"  (ขุ.สุ.(แปล) 25/142/532)

กล่าวได้ว่า "ชีวิตนักบวช เป็นชีวิตที่ประเสริฐสุด ชีวิตที่เอื้อต่อการฝึกฝนตน เพื่อให้บรรลุธรรม"

พิธีกรรมงานบวชพระ ในวัดแต่ละแห่ง ตามสถานที่ต่าง ๆ

วันที่ 12 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 น

คณะสามเณรธรรมทายาท คณะผู้ปกครอง และญาติ เดินประทักษิณรอบอุโบสถ์ 






คุณครูไม่ใหญ่เคยให้โอวาทไว้ว่า 

เรื่องของการบวช เป็นเรื่องสำคัญมาก

เพราะเป็นความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา

เป็นความปลื้มของมนุษย์และเทวดา

เป็นบารมีพิเศษของเรา 

เพราะ บุญ เป็นบ่อเกิดของความสุข 

และความสำเร็จในชีวิตทุกระดับ...

พิธีกรรมบวชพระภายในโบสถ์

ฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องธรรมดา บุญบวช สามารถพลิกโลกได้

จากความวุ่นวาย สู่ความสงบ

จากความไม่ชอบ ความเกลียดชัง 

สู่ความรักกันฉันท์พี่น้อง 

เป็นเพื่อนร่วมโลก ที่ดีต่อกัน

มีความปรารถนาดี มีความเมตตา 

ให้ทุกคนหลุดพ้นความทุกข์ พบสุขแท้จริง

เสร็จพิธีกรรมการบวชพระ : พระใหม่กำลังเดินออกจากโบสถ์ คณะญาติรอการอนุโมทนาบุญ

สมัยพุทธกาล สังคมก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ นั้น มีลักษณะอย่างไร

ทำไมท่านจึงรับคนทุกระดับชนชั้น มาเป็นสมาชิกของสังคมสงฆ์

ทำให้เกิดสังคมใหม่ในสังคมชาวอินเดีย 

ซึ่งสังคมเดิมของเขามีปัญหามากมาย 

มีความคิดที่แตกต่างกันเยอะ 

ตัวแปรอะไร

ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ต่อมานานนับพัน ๆปี

 

คณะญาติถวายจตุปัจจัยไทยธรรม : พระใหม่ให้พรผู้ปกครอง และคณะญาติ

สภาพสังคมในสมัยก่อนพุทธกาล

สภาพสังคมอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล ที่มีความเชื่อแบบสังคมระบบวรรณะ มาเป็นเวลานานนับพันๆ ปี มีจำนวนประชากรมากมายหลายเผ่าพันธ์ ทั้งที่เผ่าดั้งเดิม[พวกมิลักขะ] และชนเผ่าอพยพหรือที่เรียกว่าพวกอารยัน และต่อมาก็เป็นเชื้อชาติผสมผสาน ประเพณีและความเป็นอยู่มีความเชื่อที่ แตกต่างกันมาก ทั้งด้านการประกอบอาชีพ การศีกษา การปกครอง ทำให้การดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดปัญหาด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น ความเลื่อมล้ำในสังคม  การศึกษา การทำงาน การได้รับสิทธิในสังคมด้านต่างๆ ที่ไม่เท่าเทียมกัน

ความเชื่อทางศาสนาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ วิถีชีวิตของชนชาวอินเดียมีอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความเชื่อในคำสอนของนักบวช ประชาชนให้ความเคารพต่อนักบวชอย่างมาก ซึ่งเป็นวรรณะที่มีความสำคัญมากและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ทุกคนถูกกำหนดสิทธิและหน้าที่ในสังคมตามอิทธิพลของนักบวชซี่งแบ่งคนออกเป็น 4 วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ ศูทร สามพวกแรกเรียกตนเองว่า "อารยะ" เพราะถือว่าเป็นวรรณะที่ประเสริฐดีเลิศกว่าวรรณะ อื่นๆ ทำให้บทบาท สิทธิและหน้าที่ ความเป็นอยู่ในสังคมของคนในวรรณะต่าง ๆ ถูกจำกัดสิทธิ และกีดกัน แต่ละวรรณะแบ่งหน้าที่ และกำหนดหน้าที่ สถานภาพและอาชีพไว้ชัดเจน ตั้งแต่ถือกำเนิด ทำให้ต่างคนต่างอยู่ ไม่ปะปนกัน มีความรังเกียจ ดูถูกเหยียดหยามซึ่งกันและกัน ไม่ร่วมกิจกรรมด้วยกัน การดำรงชีวิตไม่มีความสุข ชีวิตเป็นทุกข์ ตามการแบ่งวรรณะอย่างเข้มข้น นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อศาสนาเชน และ เจ้าลัทธิต่างๆ มากมาย

สภาพสังคมอินเดียโบราณเป็นสังคมแห่งนักคิด นักปราชญ์ตามลัทธิต่างๆ ออกบวชเพื่อมุ่งแสวงหาทางพ้นทุกข์จากความเป็นอยู่ที่เกิดขึ้น จากระบบวรรณะ ที่มีความไม่เสมอภาคกัน ประชาชนมีสิทธิในสังคมแตกต่างกัน เนื่องจากชาติกำเนิดเป็นตัวแบ่งแยก ไม่สามารถแก้ไขได้ การดำรงชีวิตในสังคม การเลี้ยงชีพในชีวิตประจำวันจึงเป็นทุกข์ รากเหง้าแห่งความทุกข์ก็คือกิเลสในใจคน แม้ว่าจะมีการแก้ปัญหา โดยการออกบวช เป็นนักบวชในช่วงวัยชราของศาสนาพราหมณ์ หรือ นักบวชในศาสนาอื่น ๆ ก็ตาม แต่ความเป็นทุกข์ประจำวันในการแบ่งคนไปตามสิทธิและหน้าที่ในสังคมตามระบบวรรณะ ก็ยังไม่ได้ลบล้างออกไป คนในวรรณะต่ำจึงสูญเสียสิทธิและโอกาสในการแสวงหาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และการศึกษาด้วย สังคมอินเดียโบราณจึงเกิดปัญหามากมาย

มีหลักฐานในพระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า บ้านเมืองของชาวอินเดียยุคพุทธกาล แบ่งเป็น 16 แคว้นใหญ่ 7 แคว้นเล็ก ประชาชนมาจากหลายเชื้อชาติเผ่าพันธ์ ก่อเกิดมีระบบวรรณะ มีการเลื่อมล้ำในสังคม มีแนวความคิดในวัฒนธรรมประเพณีและมีความเชื่อที่แตกต่างกันมาก ความเชื่อเรื่องการบูชายัญ ความเชื่อตามความคิดของเจ้าลัทธิทั้งหก ความเชื่อเรื่องพรหมลิขิต เทพเจ้าบันดาล เกิดปัญหาความอยู่ร่วมกัน วิถีชีวิตคนในสังคมชาวอินเดียถูกกำหนดด้วยคำสอนของศาสนาที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามระบบวรรณะ

เห็นได้ว่า.....

การก่อเกิดสังคมสังฆะของชาวพุทธ จึงเป็นสังคมใหม่ ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นบรมครูที่ยิ่งใหญ่ และมีมหากรุณาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ และพบสุขแท้จริง ทรงสั่งสอนทุกคนด้วยความเมตตาจิต และทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบที่ดี ตามหลักธรรมและวินัย และสามารถแก้ไขปัญหาในสังคมชาวอินเดียสมัยพุทธกาล ให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข การบวชในวันที่ 12,13,14 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นี้ เป็นการเจริญรอยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่มีการออกแบบชีวิตให้กับมนุษย์ทุกคน ได้เข้ามาศึกษา อบรม ฝึกตนตามหลักพระธรรมวินัย เป็นคนดี ที่ชาวโลกต้องการ

พระอุปัชฌาย์ ร่วมถ่ายกับพระภิกษุที่บวชใหม่ พร้อมทั้งผู้ปกครอง และคณะญาติ

 

เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะสิ้นสุดการร่วมบุญบวชพระในโครงการนี้แล้ว

จึงขอเชิญชวนสาธุชนทุกท่าน ไปร่วมงานบวช ด้วยกันนะ

👇

ตรวจสอบรายชื่อ 222 วัด จ้ดอุปสมบท

โครงการอุปสมบทบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ ปี 2563

วันที่ 12-14 ธันวาคม 2563

ได้ที่ https://bit.ly/3oB5pNS

ตรวจดูรายชื่อสามเณร และชื่อจังหวัดที่ต้องการเดินทางไปบวช 

bit.ly/monk2500-name

"ขอความร่วมมือสาธุชนที่มาร่วมงานปฏิบ้ติตามมาตรการทางสาธารณ

ป้องกันโควิด -19 อย่างเคร่ง"

เจ้าหน้าที่จัดงานบวช คัดกรองคน : ผู้มาร่วมงานบวชพระ

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง และรูปภาพ

8 ความคิดเห็น:

  1. อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ🙏🙏🙏

    ตอบลบ
  2. ปลื้ม ปลื้ม ปลื้ม ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ

    ตอบลบ
  3. กราบอนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ สาธ สาธุ

    ตอบลบ
  4. สาธุ ขอกราบนมัสการพระธรรมทายาททุก ๆ รูป และขอกราบอนุโมทนาบุญคณะจัดงานบวชทุก ๆ ท่าน สาธุ

    ตอบลบ
  5. กราบอนุโมทนาสาธุครับ

    ตอบลบ
  6. กราบอนุโมทนาบุญค่ะ🙏🙏🙏

    ตอบลบ

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา