เรื่องเล่าตามกาลเวลา บทความนานาเหตุการณ์ ธรรมะร่วมสมัย ข้อคิด ชีวิต การงาน ท่องเที่ยว ความรู้ทั่วไป ทันโลก ทันเหตุการณ์
ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563
พระภิกษุสงฆ์ : ความหมายของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
สังคมสงฆ์ในยุคก่อนพุทธกาล : ความหมาย
วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563
พระภิกษุสงฆ์ : ต้นแบบที่ดีของชาวพุทธ
ภิกษุสงฆ์เป็นสังคมสังฆะที่เป็นต้นแบบของชาวพุทธ
หลักธรรมที่แสดงโปรดกลุ่มพระภิกษุกลุ่มแรก : ปัญจวัคคีย์
หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว พระปัญจวัคคีย์ เป็นคณะสงฆ์ชุดแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง จนทำให้เกิดมีพระรัตนตรัยที่สมบูรณ์
ในบทธรรมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" พระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เข้าใจชีวิตของการปฏิบัติของนักบวชอย่างแท้จริงว่า หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติ มี 2 อย่าง คือ(วิ.ม.(ไทย)4/13-14/20)
1 กามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลาย (การหมกมุ่นอยู่ในกามคุณทั้งหลาย) เป็นธรรมอันทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุธุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
2 อัตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ซึ่งเป็นกิจของผู้ครองเรือน เป็นทางสุดโต่ง ไม่ใช่ทางประเสริฐของพระอริยะผู้ออกจากเรือนมาบวชเป็นบรรพชิต
ต่อมาจึงได้ทรงแนะนำให้ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง "มัชฌิมาปฏิปทา"
คือ มรรคมีองค์แปด
ทรงเมตตา อธิบายขยายความอย่างต่อเนื่องไปตามลำดับ
ทรงแสดง "อริยสัจสี่" ความเป็นจริงของชีวิตที่ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นอริยเจ้า ซึ่งแตกต่างจากคำว่า อริยสงฆ์ในสังคมพราหมณ์ที่กำหนดด้วยชาติกำเนิด
อริยสัจ 4 คือ
1 ทุกข์
2 สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3 นิโรธ ความดับทุกข์ การสละ ความไม่อาลัยในตัณหา
4 มรรค แนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์
ข้อที่ 4 มรรค เป็นหลักธรรมที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย มรรคมีองค์แปด หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" ก็คือ ทางสายกลาง ซึ่งเมื่อปฏิบัติแล้วจะทำให้เกิดปัญญา ก่อให้เกิดญาณ ทำให้มีความสุข สงบ และพ้นทุกข์ เข้าสู่นิพพานในที่สุด (วิ.ม.(ไทย) 4/13-14/20-23)
มรรคมีองค์แปด คือ
1 สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
2 สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
3 สัมมาวาจา เจรจาชอบ
4 สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ
5 สัมมาอาชีวะ ตั้งใจชอบ
6 สัมมาวายามะ พยายามชอบ
7 สัมมาสติ ระลึกชอบ
8 สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
หลักธรรมเหล่านี้ พระพุทธเจ้า ทรงเทศนาสอนแก่พระปัญจวัคคีย์ จนบรรลุธรรม และได้บวชพระ
หลังจากบวชพระภิกษุสงฆ์กลุ่มแรกแล้ว พระพุทธองค์ ก็ได้ตรัสสั่งสอนภิกษุสงฆ์ทั้งห้า ในการศึกษาหลักธรรมต่อไป คือ "อนันตลักขณสูตร" จนกระทั่งบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทุกรูป (วิ.ม.(ไทย) 4/20-23/27-30)
กล่าวได้ว่า "การบวช" นี้สำคัญ ไม่ธรรมดา เมื่อพระสงฆ์ได้ฝึกฝนตามหลักพระธรรมวินัย อดทน ขัดเกลาตนเอง จนเกิดภาพลักษณ์ของอริยสงฆ์แล้ว ก็จะเป็นต้นแบบที่ดีของสังคม เป็นพระสงฆ์ที่น่าเคารพ น่าเลื่อมใส ศรัทธาแก่ผู้พบเห็น จนเกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น ทำให้เกิดมีสถาบันสังคมสงฆ์ขึ้น หากไม่มีบวชพระ ก็ไม่มีผู้มาศึกษาหลักธรรม เมื่อไม่มีการศึกษาหลักธรรม ก็ไม่มีการผู้ดูแลรักษาหลักธรรม ไม่เกิดระบบการศึกษาหลักธรรม ก็จะไม่มีพระสงฆ์ได้ฝึกตน เป็นพระสงฆ์ที่เป็นต้นแบบที่ดี พระพุทธศาสนาก็ไม่ยืนยาว พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้คัดเลือกปัญจวัคคีย์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนักบวชในศาสนาพราหมณ์ ผู้ที่ได้เห็นทุกข์ในวัฏสงสาร มีความเพียรระดับหนึ่งในการกำจัดทุกข์ได้ด้วยตนเอง
สังเกตุได้ว่า พระสงฆ์กลุ่มแรกนี้ เป็นผู้มีคุณสมบัติพร้อมต่อการบรรลุธรรมได้ง่าย คือ มีศรัทธาต่อพระองค์ มีสุขภาพแข็งแรง ไม่โอ้อวด มีความเพียร มีปัญญา พระองค์ให้ฝึกอบรมโดยผ่าน "การบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา" เมื่อพระปัญจวัคคีย์ได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้ว ก็ได้บรรลุธรรมเป็น "พระอริยสงฆ์" ดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ที่พระพุทธองค์สั่งสอน มีความประพฤติที่ดีงาม น่าเลื่อมใส กราบไหว้ ทำให้เป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนทุกระดับ
ฉะนั้นวัฒนธรรมการศึกษาของชาวพุทธ
จึงเริ่มต้นจากฝ่ายสังคมสงฆ์เป็นลำดับแรก
สรุปได้ว่า
"ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" เป็นหลักธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้พระปัญจวัคคีย์ฟัง นับว่าบทสวดมนต์บทนี้ เป็นหลักธรรม สามารถให้พระภิกษุนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีทั้งหมดแปดข้อ เรียกว่า อริยมรรคแปด กล่าวกันว่า จะทำให้จิตใจผู้สวด สบายใจ ใจจะผ่องใส เกิดความปีติสุข คิดดี พูดดี ทำดี ทั้งกายและใจ จนเกิดการพัฒนาองค์รวม 4 ด้าน คือ กาย ศีล จิต ปัญญา ซึ่งเป็นการนำหลักธรรมคำสอนในบทสวดมนต์ มาใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยทำให้ชีวิตมีความสุข กลายเป็นสังคมชาวพุทธที่มีการพัฒนาตนเองให้มีความเจริญงอกงาม เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม จนเป็นวัฒนธรรมการศึกษาของสังคมชาวพุทธ ทำให้ชุมชนในสังคมนั้น มีความสุขในการอยู่ร่วมกัน ส่งผลให้สังคมมีศีลธรรม และจริยธรรม สามารถถ่ายทอดไปสู่อนุชนรุ่นต่อไป
เมื่อทราบความสำคัญของบทธัมมจักรแล้ว
จึงขอเรียนเชิญทุกท่าน ร่วมกันสวดมนต์บทธัมมจักกัปวัตตนสูตร
ในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 80 ปีของคุณครูไม่เล็ก
ในวันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม 2563
ณ พระมหาธรรมกายเจดีย์
ขอขอบคุณแหล่งเนื้อหาและรูปภาพ
- พระไตรปิฎกออนไลน์ ฉบับมหาจุฬาแปลไทย เรื่อง "ธรรมเทศนาธัมจักกัปปวัตนสูตร" และ "มัชฌิมาปธิปทา หรือ อริยมรรคมีองค์แปด (วิ.ม.(ไทย) 4/13-14/20-23)
- พระไตรปิฎกออนไลน์ เรื่อง อนันตลักขณสูตร (วิ.ม.(ไทย)4/20-23/27-30)
- ภาพจากบล็อก ภาพดี ๆ 072
- บทสวดมนต์ธัมมจักปวัตตนสูตร
- การ์ดภาพ 80ปี เพจสำนักสื่อสารองค์กร
วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563
การบวชพระ 222 วัด : สถานที่แห่งการศึกษาของชาวพุทธ
อนุโมทนาบุญการบวชพระ 222 วัด
ภาพกิจกรรมบุญ
: พิธีกรรมการอุปสมบทตามวัดต่าง ๆ ใน 222 วัด
สามเณรธรรมทายาท ผู้ปกครอง คณะญาติ เดินประทักษิณรอบโบสถ์
พิธีอุปสมบทในโบสถ์ : บวชพระได้ครั้งละ 3 รูป
คุณครูไม่ใหญ่เคยบอกไว้ว่า...
หลังงานบุญ ต้องตรึกระลึกถึงบุญ 7 วัน
การเกิดสังคมสังฆะของชาวพุทธกลุ่มแรก
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ทรงค้นพบทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงแล้ว พระองค์ทรงได้อาศัยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อหมู่สัตว์ เสด็จจาริกไปเพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนที่ตรัสรู้แก่เวไนยสัตว์ทั้งหลาย
พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ : ปฐมเทศนา : ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร
พระปัญจวัคคีย์ ได้ปฏิบัติตนเป็นพระสาวกตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นต้นแบบที่ดีในการเผยแผ่พระธรรม มีการฝึกฝนบำเพ็ญตบะ และมีศีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นบุคคลที่น่าเลื่อมใส สร้างประโยนช์สุข แก่ตนเองและหมู่คณะ ทำให้มีจำนวนคนขอเข้ามาบวชเพิ่มขึ้นมากมาย ผู้เข้ามาบวชในภายหลังก็ได้ฝึกฝนอบรมตนเองตามต้นแบบ จนกระทั่งสังคมสงฆ์ขยายตัว เจริญเติบโต ไปทั่วประเทศอินเดีย
พระพุทธเจ้าทรงตั้งคณะสงฆ์เพื่อเป็นตัวอย่างในสังคมยุคพุทธกาล รับคนทุกวรรณะ เข้ามาเป็นสมาชิก และได้ฝึกฝน อบรม หล่อหลอม ปฏิบัติธรรมให้หลุดพ้นความทุกข์ ตามหลักธรรม อริยมรรค ให้เป็น อริยชน ล้างระบบเผ่าพันธ์ เชื้อชาติเดิม เปิดกว้างต่อทุกชนชั้น หล่อหลอมเป็นชนชั้นเดียวกัน เหมือนแม่น้ำหลายสายไหลรวมลงสู่มหาสมุทร เป็น นักบวช ในสังคมชาวพุทธ ดังปรากฎในพระไตรปิฎก
"วรรณะ 4 เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร ออกจากเรือนมาบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อ และโคตรเติมของตน เรียกว่า เป็นศากยบุตร ทั้งสิ้น" (องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) 23/ 19/ 250)
จนก่อเกิดสังคมใหม่ เป็นสังคมแห่ง "วัฒนธรรมการศึกษาของชาวพุทธ"
สร้างประโยชน์สุขต่อตนเองและผู้อื่น ๆ ในสังคม
และวัดก็เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งในการศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุ สามเณร
ดำรงชีวิตตามพระธรรมวินัย นำหลักธรรมที่ได้ไปอบรมสั่งสอน
ให้แก่ประชาชน ต่อไป
ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง และรูปภาพ
- พระยาอนุมาน [Ebook ออนไลน์] ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม
- พุทธพจน์ในการส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนา พระไตรปิฎกเล่ม4
- การส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนา แปลไทย พระไตรปิฎกเล่ม4
- พระไตรปิฎกแปลความ เรื่องชาติกำเนิด(ขุ.สุ.(แปลไทย)25/142/532[Online]
- พระไตรปิฎก[Online](องฺ.อฏฺฐก.(ไทย)23/19/250) หรือ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เล่มที่ 25 ข้อที่ 45 หน้า 266
- ภาพการบวชพระ 222 วัด จากบล็อกดี ๆ 072 ชุดที่1-ชุดที่ 9
- ภาพจากเพจการบ้าน
วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2563
สังคมสังฆะ : กำเนิดสังคมสังฆ์ของชาวพุทธ
วันบวชพระ : วันแห่งชัยชนะ "ทางโลกทางธรรม”
เริ่มแล้ว งานอุปสมบทสามเณรธรรมทายาท 3,500 รูป
หลังจากทีมงานจัดงานบวช
โดยมีคณะสงฆ์ สาธุชน รวมใจช่วยกันไปเตรียมงานบวช ตามวัดต่าง ๆ
วันที่ 12 ธันวาคม 2563 ฟ้าผ่องอำไพ วันแรกของการอุปสมบท
จังหวัดที่จัดงานบวชในวันนี้
สมุทรปราการ สระบุรี อยุธยา อ่างทอง นครนายก
สุพรรณบุรี นครปฐม ปราจีนบุรี รวม 8 จังหวัด 101 วัด
จำนวนพระบวชใหม่ 1 ใน 3 ของสามเณรทั้งหมด
ภาพกิจกรรมทำความสะอาดเตรียมสถานที่
เพื่อจัดเตรียมงานบวชพระในสถานที่ ต่างๆ
อริยวินัย : สิกขาบทของวินัยสงฆ์
กล่าวกันว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงตั้งระบบสังคมสังฆะใหม่ เป็นของชาวพุทธ คือ "สังคมพระสงฆ์" เพื่อเป็นแบบอย่างด้านความประพฤติที่ดีงาม ตลอดการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 45 ปี พระองค์ทรงแก้ไขปัญหาการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมพหุของอินเดีย ด้วยวิธี "การบวช" โดยผู้ที่เข้าบวชนั้น พระพุทธองค์ นำหลักธรรม มาปฏิวัติระบบวรรณะความเชื่อด้านชาติพันธ์ุ ที่เรียกว่า "อริยวินัย" ซึ่งเป็นสิกขาบทของวินัยสงฆ์ ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากคำว่า อริยะของชาวอารยันที่เรียกยกย่องตนเองว่าเป็นคนประเสริฐ
มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน เป็นคนดี คนชั่ว ไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด
พระพุทธองค์ทรงเปิดโอกาศให้ทุกคนทุกวรรณะ มีสิทธิเท่าเทียมกัน โดยไม่จำกัดเรื่องชาติพันธ์วรรณะ สมัครเข้ามาเป็นสมาชิก โดยมีพระองค์เป็นบรมครูและพระสาวกเป็นผู้ช่วย ให้การศึกษา อบรม เพื่อได้เรียนรู้คำสอนในพระพุทธศาสนา ฝึกการอยู่ร่วมกันในสังคม ฝึกการดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมวินัย ฝึกฝนจิตใจ และประพฤติตนเป็นคนดีที่สังคมต้องการ เพื่อให้ช่วยเหลือตนเองได้ และช่วยเหลือผู้อื่นได้ มีบุคลิกจนเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธา แก่ผู้ที่พบเห็น ทำให้สังคมสังฆะขยายไปอย่างรวดเร็ว และยังคงดำรงแบบแผนวัฒนธรรมประเพณีอยู่อย่างสงบสุขยาวนานกว่า 2,500 ปี มาจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะทางพระพุทธศาสนาไม่ได้นำชาติกำเนิดมาเป็นตัวแบ่งคุณค่าของมนุษย์ แต่คำสอนของพระพุทธองค์ ถือว่าคนทุกวรรณะเกิดมามีความเสมอภาคกัน คนกระทำดี คนกระทำชั่ว ก็เป็นผลไปตามการประพฤติของตนที่ดี หรือ ชั่ว มิใช่ขึ้นอยู่กับชาติกำเนิด
ดังพุทธพจน์ ใน ขุทฺทกนิกาย สุตันตนิบาต อุรควรรค วสลสูตร ตรัสไว้ว่า
น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ
(ขุ.สุ.(บาลี) 25/306/352)
แปลความได้ว่า
"คนจะชื่อว่าเป็นคนเลวเพราะชาติกำเนิดก็หามิได้ จะชื่อว่าพราหมณ์เพราะชาติกำเนิดก็หามิได้ แต่ชื่อว่าเป็นคนเลวเพราะกรรม ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม" (ขุ.สุ.(แปล) 25/142/532)
กล่าวได้ว่า "ชีวิตนักบวช เป็นชีวิตที่ประเสริฐสุด ชีวิตที่เอื้อต่อการฝึกฝนตน เพื่อให้บรรลุธรรม"
พิธีกรรมงานบวชพระ ในวัดแต่ละแห่ง ตามสถานที่ต่าง ๆ
วันที่ 12 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00 น
คณะสามเณรธรรมทายาท คณะผู้ปกครอง และญาติ เดินประทักษิณรอบอุโบสถ์ |
คุณครูไม่ใหญ่เคยให้โอวาทไว้ว่า
เรื่องของการบวช เป็นเรื่องสำคัญมาก
เพราะเป็นความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
เป็นความปลื้มของมนุษย์และเทวดา
เป็นบารมีพิเศษของเรา
เพราะ บุญ เป็นบ่อเกิดของความสุข
และความสำเร็จในชีวิตทุกระดับ...
พิธีกรรมบวชพระภายในโบสถ์ |
ฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องธรรมดา บุญบวช สามารถพลิกโลกได้
จากความวุ่นวาย สู่ความสงบ
จากความไม่ชอบ ความเกลียดชัง
สู่ความรักกันฉันท์พี่น้อง
เป็นเพื่อนร่วมโลก ที่ดีต่อกัน
มีความปรารถนาดี มีความเมตตา
ให้ทุกคนหลุดพ้นความทุกข์ พบสุขแท้จริง
เสร็จพิธีกรรมการบวชพระ : พระใหม่กำลังเดินออกจากโบสถ์ คณะญาติรอการอนุโมทนาบุญ |
สมัยพุทธกาล สังคมก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ นั้น มีลักษณะอย่างไร
ทำไมท่านจึงรับคนทุกระดับชนชั้น มาเป็นสมาชิกของสังคมสงฆ์
ทำให้เกิดสังคมใหม่ในสังคมชาวอินเดีย
ซึ่งสังคมเดิมของเขามีปัญหามากมาย
มีความคิดที่แตกต่างกันเยอะ
ตัวแปรอะไร
ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ต่อมานานนับพัน ๆปี
คณะญาติถวายจตุปัจจัยไทยธรรม : พระใหม่ให้พรผู้ปกครอง และคณะญาติ |
สภาพสังคมในสมัยก่อนพุทธกาล
สภาพสังคมอินเดียก่อนสมัยพุทธกาล
ที่มีความเชื่อแบบสังคมระบบวรรณะ มาเป็นเวลานานนับพันๆ ปี
มีจำนวนประชากรมากมายหลายเผ่าพันธ์ ทั้งที่เผ่าดั้งเดิม[พวกมิลักขะ]
และชนเผ่าอพยพหรือที่เรียกว่าพวกอารยัน และต่อมาก็เป็นเชื้อชาติผสมผสาน
ประเพณีและความเป็นอยู่มีความเชื่อที่ แตกต่างกันมาก
ทั้งด้านการประกอบอาชีพ การศีกษา การปกครอง
ทำให้การดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดปัญหาด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น
ความเลื่อมล้ำในสังคม การศึกษา การทำงาน การได้รับสิทธิในสังคมด้านต่างๆ
ที่ไม่เท่าเทียมกัน
ความเชื่อทางศาสนาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้
วิถีชีวิตของชนชาวอินเดียมีอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์
ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความเชื่อในคำสอนของนักบวช
ประชาชนให้ความเคารพต่อนักบวชอย่างมาก
ซึ่งเป็นวรรณะที่มีความสำคัญมากและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต
ทุกคนถูกกำหนดสิทธิและหน้าที่ในสังคมตามอิทธิพลของนักบวชซี่งแบ่งคนออกเป็น 4
วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ ศูทร สามพวกแรกเรียกตนเองว่า "อารยะ"
เพราะถือว่าเป็นวรรณะที่ประเสริฐดีเลิศกว่าวรรณะ อื่นๆ ทำให้บทบาท
สิทธิและหน้าที่ ความเป็นอยู่ในสังคมของคนในวรรณะต่าง ๆ ถูกจำกัดสิทธิ
และกีดกัน แต่ละวรรณะแบ่งหน้าที่ และกำหนดหน้าที่ สถานภาพและอาชีพไว้ชัดเจน
ตั้งแต่ถือกำเนิด ทำให้ต่างคนต่างอยู่ ไม่ปะปนกัน มีความรังเกียจ
ดูถูกเหยียดหยามซึ่งกันและกัน ไม่ร่วมกิจกรรมด้วยกัน
การดำรงชีวิตไม่มีความสุข ชีวิตเป็นทุกข์ ตามการแบ่งวรรณะอย่างเข้มข้น
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อศาสนาเชน และ เจ้าลัทธิต่างๆ มากมาย
สภาพสังคมอินเดียโบราณเป็นสังคมแห่งนักคิด นักปราชญ์ตามลัทธิต่างๆ ออกบวชเพื่อมุ่งแสวงหาทางพ้นทุกข์จากความเป็นอยู่ที่เกิดขึ้น จากระบบวรรณะ ที่มีความไม่เสมอภาคกัน ประชาชนมีสิทธิในสังคมแตกต่างกัน เนื่องจากชาติกำเนิดเป็นตัวแบ่งแยก ไม่สามารถแก้ไขได้ การดำรงชีวิตในสังคม การเลี้ยงชีพในชีวิตประจำวันจึงเป็นทุกข์ รากเหง้าแห่งความทุกข์ก็คือกิเลสในใจคน แม้ว่าจะมีการแก้ปัญหา โดยการออกบวช เป็นนักบวชในช่วงวัยชราของศาสนาพราหมณ์ หรือ นักบวชในศาสนาอื่น ๆ ก็ตาม แต่ความเป็นทุกข์ประจำวันในการแบ่งคนไปตามสิทธิและหน้าที่ในสังคมตามระบบวรรณะ ก็ยังไม่ได้ลบล้างออกไป คนในวรรณะต่ำจึงสูญเสียสิทธิและโอกาสในการแสวงหาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และการศึกษาด้วย สังคมอินเดียโบราณจึงเกิดปัญหามากมาย
มีหลักฐานในพระไตรปิฎก กล่าวไว้ว่า บ้านเมืองของชาวอินเดียยุคพุทธกาล แบ่งเป็น 16 แคว้นใหญ่ 7 แคว้นเล็ก ประชาชนมาจากหลายเชื้อชาติเผ่าพันธ์ ก่อเกิดมีระบบวรรณะ มีการเลื่อมล้ำในสังคม มีแนวความคิดในวัฒนธรรมประเพณีและมีความเชื่อที่แตกต่างกันมาก ความเชื่อเรื่องการบูชายัญ ความเชื่อตามความคิดของเจ้าลัทธิทั้งหก ความเชื่อเรื่องพรหมลิขิต เทพเจ้าบันดาล เกิดปัญหาความอยู่ร่วมกัน วิถีชีวิตคนในสังคมชาวอินเดียถูกกำหนดด้วยคำสอนของศาสนาที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามระบบวรรณะ
เห็นได้ว่า.....
การก่อเกิดสังคมสังฆะของชาวพุทธ จึงเป็นสังคมใหม่ ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นบรมครูที่ยิ่งใหญ่ และมีมหากรุณาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ และพบสุขแท้จริง ทรงสั่งสอนทุกคนด้วยความเมตตาจิต และทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นต้นแบบที่ดี ตามหลักธรรมและวินัย และสามารถแก้ไขปัญหาในสังคมชาวอินเดียสมัยพุทธกาล ให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข การบวชในวันที่ 12,13,14 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นี้ เป็นการเจริญรอยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่มีการออกแบบชีวิตให้กับมนุษย์ทุกคน ได้เข้ามาศึกษา อบรม ฝึกตนตามหลักพระธรรมวินัย เป็นคนดี ที่ชาวโลกต้องการ
พระอุปัชฌาย์ ร่วมถ่ายกับพระภิกษุที่บวชใหม่ พร้อมทั้งผู้ปกครอง และคณะญาติ |
เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะสิ้นสุดการร่วมบุญบวชพระในโครงการนี้แล้ว
จึงขอเชิญชวนสาธุชนทุกท่าน ไปร่วมงานบวช ด้วยกันนะ
👇
ตรวจสอบรายชื่อ 222 วัด จ้ดอุปสมบท
โครงการอุปสมบทบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ ปี 2563
วันที่ 12-14 ธันวาคม 2563
ได้ที่ https://bit.ly/3oB5pNS
ตรวจดูรายชื่อสามเณร และชื่อจังหวัดที่ต้องการเดินทางไปบวช
"ขอความร่วมมือสาธุชนที่มาร่วมงานปฏิบ้ติตามมาตรการทางสาธารณ
เจ้าหน้าที่จัดงานบวช คัดกรองคน : ผู้มาร่วมงานบวชพระ |
ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง และรูปภาพ
- สภาพสังคมและการเมืองอินเดียในสมัยพุทธกาล
- แคว้น 16 แคว้นในสมัยอินเดีย [Online],บรรจบ บรรณรุจิ ประวัติศาสตร์อินเดีย โบราณ(กรุงเทพฯ:สุขภาพใจ,2555)
- พรหมชาลสูตร : เจ้าลัทธิทั้งหก พระไตรปิฎกมหาจุฬา (ที.สี.(ไทย)9/165-180/53-59))[ออนไลน์]
- พระไตรปิฎกบาลี "น ชจฺจา วสโล โหติ" ฉบับสยามรัฐ[ออนไลน์](ขุ.สุ.(บาลี) 25/306/352)
- พระไตรปิฎก(แปลความ) ชาติกำเนิด (ขุ.สุ.(แปลไทย) 25/142/532)[Online]
- พระไตรปิฎก[Online] (องฺ.อฏฺฐก. (ไทย) 23/ 19/ 250) หรือ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกายเล่มที่ 25 ข้อ 45 หน้า 266
วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563
วันบวชพระ : วัดธัญญะผล : พาเที่ยววัด จัดงานบวช ถิ่นบัวหลวง เมืองนครธรรมะ
วัดธัญญะผล : เดินทางไปกราบนมัสการเจ้าอาวาสวัด
สามเณรธรรมทายาท 3,500 องค์
ในโครงการอุปสมบท บูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ประจำปี 2563
ปัจจุบันบวชเป็นสามเณร
เหล่าก่อสมณะกำลังเตรียมตัวเป็นพระแท้ ปฏิบัติสมณกิจประจำวัน
อีกไม่กี่วันก็จะกลายเป็นพระภิกษุทั้งหมด
สามเณรธรรมทายาท 3,500 รูป : ปฏิบัติภาวนารวมกันที่ลานมหาธรรมกายเจดีย์ |
ฝึกฝนตน และฝึกใจ ปฏิบัติภาวนา
ฝึกอดทน ฝึกอดกลั้น ฝึกความรับผิดชอบ
มีความตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติตน ขัดเกลาอุปนิสัยตนเอง
เคารพ เชื่อฟัง ตามคำแนะนำพระพี่เลี้ยง
มีความมุ่งหมั่น สร้างศรัทธา ความเชื่อมั่นในตนเอง
ประพฤติปฏิบัติดี ตามหลักธรรม
เพื่อให้เป็นเนื้อนาบุญเหล่าญาติโยม ที่มีความตั้งใจมาร่วมงานอุปสมบท
ในวันที่ 12,13,14 ธันวามคม 2563
ขณะฝึกตนอยู่ร่วมกัน
สามเณรทุกรูปได้ปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดในการป้องกันโควิด 19
พระอุปัชฌาย์ ขณะให้โอวาท ได้กล่าวชมเชยสามเณรธรรมทายาท ว่า... "ป้องกันโควิดได้อย่างดี" ในขณะฝึกตนอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ใหญ่ ทั้งเรื่องใส่หน้ากากอนามัย เรื่องการล้างมือ การเว้นระยะห่าง และก็ป้องกันตัวเองไว้ทุกวิถีทาง ทำให้เราปลอดจากโรคภัยใคร่เจ็บ ไม่มีเชื้อเข้ามา...
ตัวแทนทีมงานจัดงานบวช กราบท่านเจ้าอาวาสวัดธัญญะผล
วัดธัญญะผล เป็นวัด วัดหนึ่งใจจังหวัดปทุมธานี ที่เป็นวัดยอดเยี่ยมที่เจ้าอาวาสนำคณะพระภิกษุ และคณะญาติโยมในชุมชน ปฏิบัติศาสนกิจตามคำสอนพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และคนหมู่มาก มีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนามากมาย เช่น ปฏิบัติภาวนา รักษาศีล สวดมนต์ จัดกิจกรรมงานบวชในชุมชน เป็นต้น และยังร่วมโครงการหมู่บ้านศีลห้า คณะจัดงานบวชในโครงการอุปสมบทจึงได้เข้าไปขอความอนุเคราะห์ในการขอใช้พื้นที่ในการอุปสมบท ท่านก็เมตตาอนุญาตให้ทีมงานไปจัดบวช
น้องไข่เจียวจะพาทัวร์วัด แห่งธรรมะ ตามไปดูกันเลย
ประวัติวัดธัญญะผลและที่ตั้งวัด
วัดธัญญะผล สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2410 โดยมีอำแดงพุก นางเอี่ยม และสมภารหลง เป็นผู้ดำเนินการสร้างวัดและได้ขนานนามว่า “วัดพุทธนิมิตยาราม” ต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น “วัดธัญญะผล” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 มีที่ดินที่ตั้งวัดเนื้อที่ รวมจำนวน 33 ไร่ 1 งาน 43 ตารางวา มีนางวงษ์ รักษาธรรม, นายสมศักดิ์ สถิตกุลรัตน์ และนางเหรียญ สัจจาพันธ์เป็นผู้ถวาย โดยมีพระครูโกวิทอรรถวิบูลย์ เป็นผู้จัดซื้อเพิ่มเติมที่ดินผืนนี้
บริเวณวัดธัญญะผล : อุโบสถที่สามเณร 15 รูป จะเข้าไปบวชพระ |
ที่ตั้งวัดธัญญะผล
เลขที่ 57 หมู่ 5 คลอง8 ตำบลลำลูกกา
อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150
เปิดทำการทุกวันเวลา 7.00 – 16.00 น.
วัดนี้ มีประวัติยาวนานกว่าร้อยปี ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นวัดที่สะอาดมาก เมื่อเข้าไปวัด ก็จะได้บรรยากาศที่สดชื่น เขียวขจีไปด้วยต้นไม้ และพื้นที่ทุกส่วนก็สะอาดมาก เข้าไปพื้นที่บริเวณวัดแล้ว รู้ว่าใจสงบ และปลอดโปร่ง เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระครูโสภิตปุญญากร,ดร (กล้า กตปุญฺโญ ป.ธ.4) ท่านเป็นพระนักพัฒนา ลงมือทำกิจกรรมกับพระเณร พัฒนาวัดให้เป็นที่สัปปายะ เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติกิจของสงฆ์ และให้ชาวบ้านในชุมชนเข้ามาทำบุญ ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในแต่ละวัน
เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (2563) : พระครูโสภิตปุญญากร,ดร.(กล้า กตปุญฺโญ ป.ธ.4) |
ภายในวัดธัญญะผล มีอาคารปลูกสร้างเป็นสัดส่วน สวยงาม น่ามอง ตั้งแต่หน้าประตูวัด บนป้ายวัดด้านข้างทั้งสองฝั่ง ประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งซ้ายขวามีกรอบใส ๆ มองเข้าไปเห็นพระพุทธรูปองค์ขนาดพอประมาณนั่งขัดสมาธิหลับตา เมื่อมองไปภายในวัด ก็จะมองเห็นอาคารต่าง ๆ เช่น อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักสิทธิ์ 100 กว่าปี อาคารหลวงพ่อยิ้ม อาคารหุ่นขี้ผึ้งเกจิอาจารย์ อาคารประดิษฐานพระพุทธรูปทรงสมัยสุโขทัย และพระบรมสารีริกธาตุ และอาคารของรูปเทว ต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งระฆัง สะเดาะห์เสริมดวงชะตา ขณะเดินเคาะระฆัง ก็มีบทสวดอิติปิโส ให้สวดท่อง ทั้งเดินไป เดินกลับ (สามารถคลิกชมคลิปบรรยากาศวัด ที่อยู่ด้านล่างบทความ)
พาสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 100 ปีกว่า และ พระบรมสารีริกธาตุ
พระพุทธรูปศักสิทธิ์ประจำวัด(หลวงพ่อพุทธนิมิต หรือ หลวงพ่อใหญ่ อายุว่า 105 ปี) |
สักการะพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปทรงสมัยสุโขทัย |
หุ่นขี้ผึ้งพระอริยสงฆ์ 9 เกจิ : เช่น รูปหุ่นขี้ผึ้งพระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร) |
ชมภาพบรรยากาศของวัดธัญญะผล
วัดใหญ่ วัดงดงาม ร่มรื่น ชุมชนน่าอยู่ เหมาะกับการทำกิจกรรมบุญ
และทำบุญจัดงานบวชพระ
ดังนั้น👉🙏
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่านร่วมงานอุปสมบทสามเณรธรรมทายาท
จำนวน 15 รูปที่วัดธัญญะผล
ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ตามกำหนดการด้านล่างนี้
|
พระพุทธศาสนา ยังคงอยู่ได้ เพราะพุทธศาสนิกชน รวมใจเป็นหนึ่งเดียว
คำขวัญเมืองปทุมธานี :
"ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม"
การเดินทางไปวัดธัญญะผล คลอง 8 ลำลูกกา
เส้นทางสู่วัดธัญญะผล คลอง 8 ลำลูกกา : คลิกเข้าสู่แผนที่กูลเกิ้ล
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ