ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ชีวิตสมณะ : "สามัญญผลสูตร" ผลของการเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา

ความหมายของสามัญญผล


บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา พระพุทธอค์ทรงตรัสบอกคุณค่าของการครองเพศสมณะในพระไตรปิฎกหมวดที่ชื่อว่า สามัญญผลสูตร ซึ่งในหนังสือพระแท้ ที่เขียนโดย หลวงพ่อทัตตชีโว ท่านก็ได้แจงความหมายไว้ว่า

คำว่า "สามัญญผล" ในสามัญญผลสูตร หมายถึง ผล หรืออานิสงส์ของความเป็นสมณะ หรือผลดีของการเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ครองชีวิตเป็นนักบวชที่บริบูรณ์บริสุทธิ์อย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนานั้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมายนานัปการ

ตามธรรมดาของสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นมักจะมีโทษมหันต์แฝงอยู่เป็นของควบคู่กันไป แต่การเป็นนักบวชที่บริบูรณ์บริสุทธิ์อย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา จะบังเกิดแต่ผลดีเท่านั้น ไม่มีผลร้ายหรือโทษเลย ผลดีที่นักบวชจะพึงได้รับนั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยลำดับ ที่เห็นได้ชัดเจนในทันทีก็คือ การได้รับความเคารพยกย่องจากบุคคล

โดยทั่วไป นอกจากนี้ การเป็นนักบวชยังทำให้เป็นผู้มีความสงบ กาย วาจา ใจ มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญาพิจารณาไตร่ตรองเรื่องต่าง ๆ รอบคอบขึ้น มีความเข้าใจเรื่องโลกและชีวิตอย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้นักบวชสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเอง เพื่อการครองชีวิตโดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส และยังสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับผู้อื่น คือเป็นผู้ชี้ทางที่ถูกต้องดีงามให้แก่บุคคลรอบข้างและชาวโลกได้อีกด้วย

การเป็นนักบวชย่อมจะได้รับแต่ผลดียิ่ง ๆขึ้นไปเช่นนี้ จนกระทั่งบรรลุถึงผลขั้นสูงสุด คือ มรรคผลนิพพาน หากยังไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้ ได้ประสบการณ์ และบุญกุศลทั้งปวงที่นักบวชได้บำเพ็ญไว้ในปัจจุบันชาติก็ไม่สูญเปล่า ย่อมสั่งสมไว้เป็นรากฐานหรือกองทุนเพื่อรอเวลาออกผลในภพชาติต่อ ๆ ไป สมดังพุทธภาษิตที่ว่า

"แม้หม้อน้ำ ย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกทีละหยด ฉันใด
ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญทีละน้อย ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น"
*ขุ. ธ. ๒๕/๑๙/๓๑

 เมื่อบุญเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

พิเศษสำหรับท่านที่อ่านบนมือถือ

ด้านล่างสุดของบทความ จะมีป้ายข้อความเพื่อแชร์บทความธรรมะ มีข้อความว่า "ใช้ร่วมกัน" กดปุ่มป้ายข้อความ 

 


จะปรากฎหน้าต่างใหม่ จากนั้นสไลด์มือเลื่อนขึ้น ก็จะมองเห็นโลโก้ หรือ ปุ่มแชร์ เช่น Email Facebook twitter จากนั้นก็เลือกปุ่มแชร์ตามที่ท่านสะดวก

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

  • พระไตรปิฎก มจร. ฉบับแปลไทย เล่มที่๒๕ ข้อที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๑ 
  • หนังสือพระแท้ หน้าที่ ๑๗ - ๑๙ โดย พระเผด็จ ทัตตชีโว (สมณศักดิ์ ในขณะนั้น คือ พระภาวนาวิริยคุณ), กรุงเทพฯ,มูลนิธิธรรมกาย , บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๐.
  • รูปภาพจากบล็อกภาพดีๆ ๐๗๒ และ เพจการบ้าน

8 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา