สมณะ...ผู้สงบนิ่งภายใน
เรื่องของกฎแห่งกรรมเป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษา เมื่อศึกษาแล้วเราจะพบว่า ทุกการกระทำไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนา ล้วนตกอยู่ในกฎแห่งกรรมทั้งสิ้น เหมือนไฟ ใครจับก็ร้อน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะเจตนาจับหรือเผลอไปจับก็ร้อน หรือเอาเสี้ยนมาทิ่มเท้า เจตนาทิ่มก็เจ็บ หรือแกว่งเท้าไปหาเสี้ยน ทั้งที่ไม่มีเจตนาก็เจ็บ โดนประตูหนีบมือ จะเด็กหรือผู้ใหญ่ จะชาติไหนก็แล้วแต่เจ็บทั้งนั้น เช่นเดียวกันกฎแห่งกรรมไม่มีละเว้น ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนา จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ทุกการกระทำล้วนมีผลทั้งสิ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยที่เป็นพระบรมโพธิสัตว์ พระองค์ทรงระลึกชาติได้ มองเห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นว่าวัฏสงสารไม่มีจุดไหนที่ไม่เสี่ยงต่ออบายเลย ไม่ว่าจะเกิดเป็นคนชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นล่าง ถ้าไม่รู้เรื่องกฎแห่งกรรม อันตรายมาก ๆ ทุกคนเสี่ยงและมีสิทธิ์ไปอบายด้วยกันทั้งนั้น และพระองค์ก็เคยไปอบายมาแล้ว และก็ทรงพ้นจากภัยในสังสารวัฏนั้น
ภิกขุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร สมณะ แปลว่า ผู้สงบกาย วาจา ใจ คือ พอเห็นภัยแล้วจะมีความสงบ สงบทั้งความคิด คำพูดและการกระทำ ไม่อยากให้เคลื่อนไหวเลย กายอยากจะนิ่ง ๆ ใจอยากจะนิ่ง ๆ
ผู้ที่จะพ้นภัยในวัฏสงสาร จะพ้นจากกฎแห่งกรรมได้ จะต้องนิ่ง ๆ ต้องเป็นสมณะ แม้เป็นคฤหัสถ์ไม่ได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ก็เป็นสมณะได้ หากเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคลภายใน ก็ได้ชื่อว่าเป็นสมณะภายในได้ เหมือนอย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา หรือท่านธัมมิกอุบาสกอย่างนี้ เป็นต้น แต่ถ้าหากเป็นบรรพชิตก็เป็นสมณะทั้งภายนอกภายใน สงบทั้งภายนอกทั้งภายใน จึงจะพ้นกฎแห่งกรรมได้ แต่ถ้ายังเคลื่อนไหว ยังวิ่งเต้น ยังทำโน่นทำนี่กันอยู่ มีสิทธิ์จะต้องเจอกฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องเจอกันอยู่แล้ว ที่ผ่านมาก็เจอ ปัจจุบันก็เจอ บางทีอยู่กับความทุกข์จนชาชิน ก็เลยไม่ได้รู้สึกอะไรมากมาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมัยที่เป็นพระบรมโพธิสัตว์ พระองค์ทรงระลึกชาติได้ มองเห็นภัยในวัฏสงสาร เห็นว่าวัฏสงสารไม่มีจุดไหนที่ไม่เสี่ยงต่ออบายเลย ไม่ว่าจะเกิดเป็นคนชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นล่าง ถ้าไม่รู้เรื่องกฎแห่งกรรม อันตรายมาก ๆ ทุกคนเสี่ยงและมีสิทธิ์ไปอบายด้วยกันทั้งนั้น และพระองค์ก็เคยไปอบายมาแล้ว และก็ทรงพ้นจากภัยในสังสารวัฏนั้น
ภิกขุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร สมณะ แปลว่า ผู้สงบกาย วาจา ใจ คือ พอเห็นภัยแล้วจะมีความสงบ สงบทั้งความคิด คำพูดและการกระทำ ไม่อยากให้เคลื่อนไหวเลย กายอยากจะนิ่ง ๆ ใจอยากจะนิ่ง ๆ
ผู้ที่จะพ้นภัยในวัฏสงสาร จะพ้นจากกฎแห่งกรรมได้ จะต้องนิ่ง ๆ ต้องเป็นสมณะ แม้เป็นคฤหัสถ์ไม่ได้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ก็เป็นสมณะได้ หากเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคลภายใน ก็ได้ชื่อว่าเป็นสมณะภายในได้ เหมือนอย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา หรือท่านธัมมิกอุบาสกอย่างนี้ เป็นต้น แต่ถ้าหากเป็นบรรพชิตก็เป็นสมณะทั้งภายนอกภายใน สงบทั้งภายนอกทั้งภายใน จึงจะพ้นกฎแห่งกรรมได้ แต่ถ้ายังเคลื่อนไหว ยังวิ่งเต้น ยังทำโน่นทำนี่กันอยู่ มีสิทธิ์จะต้องเจอกฎแห่งกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องเจอกันอยู่แล้ว ที่ผ่านมาก็เจอ ปัจจุบันก็เจอ บางทีอยู่กับความทุกข์จนชาชิน ก็เลยไม่ได้รู้สึกอะไรมากมาย
เพราะฉะนั้นจะพ้นจากกฎแห่งกรรมได้ ต้องทำอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย หมั่นฝึกฝนกาย วาจา ใจ อย่างน้อยให้เข้าถึงสมณะผู้สงบนิ่งภายใน เป็นโคตรภูบุคคล หรือถ้าให้มั่นใจต้องเข้าถึงพระโสดาบัน เพราะว่าเกิดอย่างมากอีก ๗ ชาติ ก็พ้นจากวัฎฏะแล้วไปสู่อายตนนิพพานได้
๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ
- หนังสือ Ebook ชุด ชีวิตสมณะ...ที่สุดของชีวิตในสังสารวัฏ บทที่ ๑๒
- ภาพดีๆ ๐๗๒ และเพจการบ้าน
สาธุ สาธุ สาธุ
ตอบลบสาธุค่ะ
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญด้วยเจ้าค่ะ สาธุ
ตอบลบขออนุโมทนากับผู้จัดทำครับ
ตอบลบอนุโมทนาบุญกับทีมงานด้วยครับ
ตอบลบน้อมกราบสาธุ สาธุ สาธุครับ
ตอบลบ,🙏🙏🙏
ตอบลบกราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ
ตอบลบ