ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564

จริต 6 : กับการปฏิบัติธรรม ตอน การปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมแก่จริต

พระพุทธศาสนาแบ่งประเภทของจริต ได้ 6 อย่าง

พระบรมศาสดาทรงจำแนกจริต คือ กิเลสและคุณธรรมที่ท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจของบุคคล ฝ่ายละ 3 รวมเป็น 6 ประการ พอจะขยายคำว่า จริต ได้ดังนี้ คือ
1.ราคจริตคือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากราคะเป็นพื้นฐานใจ
2.โทสจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโทสะเป็นพื้นฐานใจ
3.โมหจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโมหะเป็นพื้นฐานใจ
4.วิตกจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากวิตกเป็นพื้นฐานใจ
5.สัทธาจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากศรัทธาเป็นพื้นฐานใจ
6.พุทธิจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากปัญญาเป็นพื้นฐานใจ
จริต 1-3 เป็นอกุศลเจตสิต 
จริต 4-6 เป็นอัญญสมานาเจตสิตใกล้ไปทางฝ่ายกุศล 
คนที่มีจริต 1-3 เด่นนำหน้า มักจะค่อนไปทำความชั่ว ส่วนคนที่มีจริต 4-6 ชอบทำความดี
 
มนุษย์แต่ละคน มีจริตไม่เหมือนกัน และแต่ละคนมีจริตหลายอย่างพร้อมกัน เพียงแต่มีจริตหนึ่งที่เป็นตัวนำเด่นกว่าจริตตัวอื่น เหตุที่คนเรามีจริตแตกต่างกันก็เพราะเกิดจาก "กรรมในอดีต" และสัดส่วนองค์ประกอบธาตุทั้ง 4 ภายในร่างกายแต่ละคน เรามาลองศึกษากันว่า ลักษณะใดที่เรียกว่า จริตทั้ง 6 
  


ลักษณะของจริตแต่ละประเภท

ในการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกท่านต้องเจออุปสรรคในการปฏิบัติธรรม เช่น ความง่วง ความฟุ้งซ่าน ความตึง ความไม่สบายกาย เป็นต้น จะขอขยายความจริตทั้ง 6 ประเภท ได้ดังนี้

1. ราคจริต 

ลักษณะ เป็นคนรักสวยรักงาม แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นผู้มักมากในกาม แค่พอใจในรูปสวย เสียงไพเราะ ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ปราณีต กิริยา ท่าทาง เป็นคนละมุนละไม สุภาพอ่อนหวาน เกลียดความสกปรก
วิธีปฏิบัติสมาธิที่เหมาะสม ได้แก่ อสุภกรรมฐาน 10 และกายคตาสติ 1
อุปสรรคในการปฏิบัติธรรมของคนราคจริต คือ  ชอบฟุ้งซ่านบ่อยๆ มีอะไรก็ฟุ้ง แต่ไม่เคลียด 


2. โทสจริต

ลักษณะ มีนิสัยใจร้อน ขี้หงุดหงิด อารมณ์รุนแรง จิตขุ่นเคือง โกรธง่าย  มีระเบียบวินัยสูง พูดเร็ว เสียงดัง เดินเร็ว ทำงานไม่มีความละเอียด มีความรีบร้อนเป็นปกติ
วิธีปฏิบัติสมาธิที่เหมาะสม ได้แก่ การเจริญพรหมวิหาร 4 และวัณณกสิณ4  (นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ
อุปสรรคในการปฏิบัติธรรมพวกโทสจริต คือ พวกสายตึง ชอบเร่ง ชอบลุ้น ใจร้อนอยากเห็น อยากเป็น ใจไม่นุ่มนวล ใจกระด้าง ต้องเจริญการแผ่เมตตาบ่อยๆ 

 

3. โมหจริต

ลักษณะ เป็นคนเฉื่อยชา ง่วง ๆ ซึม ๆ เบื่อๆ เซ็งๆ อารมณ์ไม่เสียง่าย ไม่ค่อยโกรธใคร พูดจาเบา นุ่มนวล ยิ้มง่าย ไม่ชอบทำตัวเป็นจุดเด่น ไร้ความมุ่งมั่น อ่อนไหวง่าย ใจน้อย ขาดความคล่องแคล่ว ไม่ค่อยชอบคิด ไม่พูด ไม่ค่อยสะอาดเรียบร้อย เชื่อคนง่าย ตื่นข่าวลือ
วิธีปฏิบัติสมาธิที่เหมาะสม ได้แก่ อานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าและออก
อุปสรรคในการปฏิบัติธรรมพวกโมหจริต เป็นพวกสายหลับ เวลานั่งสมาธิชอบหลับตลอด เผลอสติบ่อย 
 

4. วิตกจริต

ลักษณะ โดยปกติเป็นคนคิดมาก ชอบคิด ชอบแสดงความคิดเห็น มีคำถามมาก เพราะสมองเต็มไปด้วยความคิดฟุ้งซ่าน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด พูดน้ำไหลไฟดับ ความคิดพวยพุ่งฟุ้งซ่าน อยู่ในโลกความคิดไม่ใช่โลกความจริง มองโลกในแง่ร้ายว่าคนอื่นจะเอาเปรียบกลั่นแกล้งเรา หน้าจะบึ้ง ไม่ค่อยยิ้ม เจ้ากี้เจ้าการอัตตาสูง คิดว่าตัวเองเก่ง อยากรู้อยากเห็นไปทุกเรื่อง ผัดวันประกันพรุ่ง
วิธีเลือกปฏิบัติสมาธิที่เหมาะสม ได้แก่ อานาปานสติ คล้ายพวกโมหจริต
อุปสรรคในการปฏิบัติธรรม เป็นพวกฟุ้งจนเคลียด วิตกกังวลไปหมด


5. สัทธาจริต

ลักษณะ  มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ ทำตามความเชื่อ เอาความเชื่อ ออกหน้า ความคิดหรือความยึดมั่นมักอยู่เหนือการใช้เหตุผล และมักเชื่อโดยไร้เหตุผล อะไรที่ไม่เป็นไปตามที่ตนเชื่อถือมักไม่ถูกต้อง มีใครแนะนำอะไรก็ตัดสินใจเชื่ออย่างเดียวโดยไม่ได้พิจารณา ยิ่งศรัทธามาก ปัญญายิ่งน้อยลง ถูกหลอกง่าย ไม่ยอมรับความต่าง
วิธีปฏิบัติสมาธิที่เหมาะสม ได้แก่ อนุสติ6 [พุทธานุสสติ,ธัมมานุสสติ,สังฆานุสสติ,สีลานุสสติ,จาคานุสสติ,เทวตานุสสติ)
อุปสรรคในการปฏิบัติธรรมพวกสัทธาจริต คือ เป็นสายปลื้ม ทำอะไรนิดอะไรหน่อยก็ปลื้ม เชื่อมั่นง่าย พวกนี้ปฏิบัติธรรมได้ดี แต่ต้องระวังจะเพี้ยนง่าย หลุดง่าย
 

6.พุทธิจริต

ลักษณะ  คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล เรียกง่ายว่า พวกสายวิชาการ ใฝ่เรียนรู้ ปฏิบัติตามหลักการ เหตุผล ใช้ปัญญานำทางในการปฏิบัติ ไม่เชื่อะไรง่าย ๆ ฉลาด มีไหวพริบปฏิภาณดี ใช้เหตุผล หลักการคิดพิจารณาตัดสินใจว่า ทำหรือไม่ทำมองปรากฎการณ์ต่างๆ ตามความเป็นจริง ไม่ปรุงแต่ง
วิธีปฏิบัติสมาธิที่เหมาะสม ควรเจริญกรรมฐาน 4 ได้แก่ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ จตุธาตุววัฏฐาน อาหารเรปฏิกูลสัญญา
อุปสรรคในการรปฏิบัติธรรม คือ เป็นคนชอบคิดไตร่ตรองมากสอนตนเองสอนคนอื่น ทำให้เห็นธรรมช้า เพราะคิดมากเนื่องจากเกาะหลักการ คิดพิจารณาแต่ไม่ผิดเพี้ยน ขาดอารมณ์ละมุนละมัย


จริต 6 มีลักษณะแบบไหน   และควรแก่การปฏิบัติธรรมแบบไหน เพื่อพัฒนาการปฏิบัติธรรม เรามาลองจัดจริต ทั้ง 6 จริต พอจะจับคู่ได้ดังนี้

ราคจริต คู่กับ โมหจริต

โทสจริต คู่กับ พุทธจริต

โมหจริต คู่กับ วิตกจริต 

ดังนั้น  พอจะสรุปเป็นแผ่นภาพ ได้ว่า

คุณครูไม่ใหญ่สอนไว้ว่า ...ถ้าเรารักตนเองต้องปฏิบัติธรรม เพราะพึ่งได้ทั้งโลกนี้โลกหน้าตลอดไป อย่ามีข้อแม้ ข้ออ้าง และเงื่อนไขในการฝึกใจให้หยุดนิ่ง อย่าประมาท จงใช้เวลาให้คุ้มค่า วันเวลามันผ่านไปเร็ว ไม่มีอะไรประเสริญกว่า ธรรมะ ไม่มีอีกแล้ว

ดั่งสุภาษิต ที่มาจากขุททกนิกาย ชาดก ว่า

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ธมฺโม  สุจิณฺโณ  สุขมาวหาติ. ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว  นำสุขมาให้

 

ขอเรียนเชิญทุกท่าน ตักบาตร(ออนไลน์)ทั่วประเทศ และสะสมบุญ สวดมนต์ ถวายภัตตาหาร ปล่อยสัตว์ปล่อยปลา เดินประทักษิณ และฟังธรรม ผ่าน Zoom

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และข้อความพูดว่า "เพจการบาน น้อมส่งใจตักบาตร ONLINE อยู่ไกลแค่ไหน...ก็ใกล้ เหมือนใส่บาตรด้วยตัวคุณเอง" 

 

ขออนุโมทนาบุญทุกท่าน มา ณ โอกาส นี้
ขอให้ทุกท่านมีชีวิตที่เป็นสุข เจริญในทางธรรม และทางโลก เทอญ
เรียนเชิญสาธุชนทุกท่าน ชมรายการย้อนหลัง
ตามลิงค์นี้ https://dmc.tv/2564/list

และ เลือกห้อง Zoom ตามที่ท่านต้องการชม

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

2 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา