ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564

จริต 6 : กับการปฏิบัติธรรมตามจริต ตอน พระพุทธนิรมิต

จริต คือ อะไร 

เคยทราบไหมว่า ตัวเราเป็นคนจริตแบบไหน 

และควรปฏิบัติธรรมตามจิตแบบนั้นอย่างไร

พระพุทธศาสนาแบ่งจริตหรือพื้นฐานอุปนิสัยของมนุษย์ออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ และได้บอกวิธีการปฏิบัติธรรมให้เหมาะสมกับจริตต่าง ๆไว้ ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฏก กล่าวไว้ มีเรื่องราวในพุทธประวัติหลายเหตุการณ์ที่แสดงเรื่องของจริต พระพุทธองค์ทรงพิจารณาจำแนกบุคคล และเลือกกิจกรรมในการพัฒนาปัญญาให้เหมาะสมแก่คนนั้น ๆ ทำให้เกิดผลพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว บางท่านสำเร็จพระอรหันต์ตั้งแต่ยังเป็นฆราวาสก็มีเยอะ แสดงให้เห็นถึงการมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการเลือกวิธีพัฒนาปัญญาเมื่อทราบว่าบุคคลนั้นมีจริตอย่างไร

ภาพการปฏิบัติธรรมของคณะภิกษุสงฆ์ ณ ลานมหาธรรมกายเจดีย์

 


 

พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏฯ ในอรรถกถามหาสมัยสูตร ได้กล่าวถึงเหตุการณ์จริตแต่ละจริต ที่พระพุทธเจ้าทรงเมตตาเทศน์ให้เทวดาในแต่ละจริตฟัง พอจะเล่าให้ฟังคราว ๆ ดังนี้

เรื่องมีว่า ชาวเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองโกลิยะ ทะเลาะกันเรื่อง "น้ำ" คือการใช้น้ำในแม่น้ำโรหิณี จนเป็นเหตุให้พระพุทธองค์เดินทางไปห้าม และตรัสเรื่องโทษแห่งทะเลาะกันทำให้มีการผูกเวรตลอดกัป แล้วตรัสเล่าชาดก 5 เรื่อง[เรื่องต้นสะคร้อ เรื่องแผ่นดินถล่ม เรืองนางนกมูลไถ เรื่องรุกขธัมมชาดก เรื่องนกคุ่ม เสร็จแล้วจึงตรัสอัตตทัณฑสูตร ตามลำดับๆ] ให้หมู่ชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำฟัง ทำให้ยุติการทะเลาะ และอยู่กันอย่างสงบ และกษัตริย์ชาวสองพระนครก็มีการถวายพระกุมารฝั่งละ 250 องค์เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ 500 รูป พระองค์ทรงให้พระกุมารเหล่านั้นผนวชแล้ว ก็เสด็จไปป่าใหญ่

พระพุทธเจ้าก็นำพระภิกษุผู้บวชใหม่ 500 รูป ไปยังป่าหิมวันต์ ทรงใช้กุศโลบายตรัสสอนจนได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด จากนั้นทวยเทพทั้งชั้นทั้งหมื่นจักรวาล เรียกว่า ทั้งสี่ทวีป[ชมพูทวีป  ปุพพวิเทหทวีป   อมรโคยานทวีป  อุตตรกุรุทวีป] มาเฝ้าพระพุทธเจ้าทั้งหมด มโหฬารใหญ่โตมาก ห้องจักรวาล[ตั้งแต่รัศมีพระพุทธเจ้าส่งออกไปจรดพรหมโลกทั่วทั้งหมื่นจักรวาล]มีทวยเทพทุกชั้นสวรรค์ยืนตามลำดับศักดิ์ ไม่มีที่ว่าง เปรียบเหมือนกล่องเข็มที่เต็มแน่นได้ด้วยเข็มที่ใส่ลงไปจนห่างที่ว่างไม่ได้ ความสูงของห้องจักรวาลนั้น เทียบได้ว่า

ในห้องจักรวาลทั้งสิ้นนั้นพึงทราบว่า    ที่สูงกว่าเขาได้แก่ห้องจักรวาล
ของพรหมโลก.    เล่ากันมาว่า   ผู้ยืนในพรหมโลกเอาก้อนหินเท่าเรือนยอดเจ็ด
ชั้นในโลหปราสาท  โยนลงล่างสี่เดือนจึงถึงแผ่นดิน.   ในโอกาสใหญ่ขนาดนั้น
ได้มีเทวดาจนหาที่ว่างไม่ได้.  เหมือนดอกไม้ที่คนยืนข้างล่างโยนไป   หรือเหมือน
ควันไม่ได้ช่องเพื่อขึ้นไปเบื้องบน     หรือเหมือนเมล็ดผักกาดที่คนยืนข้างบน โรยไปไม่ได้ช่องเพื่อลงล่างฉะนั้น.

เรียกง่าย ๆ ว่า มหกรรมใหญ่ของชาวสวรรค์ในการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แม้แต่สารถีผู้ขับรถให้จอมเทพก็ยังต้องมาเข้าเฝ้าเพื่อฟังธรรม  

แน่นอนว่า เทพสวรรค์มีจริตแตกต่างกัน ตามที่พระพุทธเจ้าทรงวิเคราะห์เห็น จึงทรงเทศน์สอนบทธรรม ไปตามจริตต่าง ๆ 

เพื่อการอนุเคราะห์ให้ทวยเทพจากหมื่นจักรวาลเหล่านี้ได้บรรลุธรรม จะต้องมีบุคคลเป็นผู้ถือเอาอัธยาศัยของทวยเทพ แล้ว  สามารถถามปัญหาด้วยอำนาจจริตได้ ในการถามคำถามพระพุทธองค์ ทรงตรวจดูว่า มีใคร ก็ทราบว่า ไม่มีใครเลย แม้พระพุทธเจ้าที่ทรงมีในอดีต ก็ไม่มีองค์ไหนสามารถตั้งคำถามเพื่อการณ์นี้ได้ มีวิธีเดียวก็คือ "สร้างพระพุทธนิรมิต" ที่เป็นเสมือนพระองค์มาตรัสถามปัญหา เรืองราวช่วงนี้ ขอให้ไปอ่านเพิ่มเติมในพระไตรปิฎกเพื่อความเข้าใจมากขึ้น เทวดาทำไมเยอะมาก ทำไมต้องเนรมิตพระพุทธนิมิตรที่เหมือนพระองค์ เหตุการณ์นี้ มีผลต่อการสร้างพระพุทธรูปในกาลต่อมา

พระธรรมกายนับล้านองค์บนพระเจดีย์ และสาธุชนสวดมนต์บูชาพระธรรมกาย ผ่าน Zoom บนจอ LED
 

พระพุทธองค์ทรงตรวจดูจริตของเทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาพวกไหนมีจริตแบบไหน เหมาะแก่การฟังธรรมเรื่องใด เพื่อเป็นที่สบายแก่พวกจริตเหล่านั้น ทรงกำหนดเทศนาว่า

  1. พวกเทวดาราคจริต ทรงแสดงสัมมปริพพาชนียสูตร(สูตรว่าด้วยเรื่องที่พึงเว้นโดยชอบ)
  2. พวกเทวดาโทสจริต จักแสดงกลหวิวาทสูตร (สูตรเกี่ยวกับเรื่องทะเลาะวิวาท)
  3. พวกเทวดาโมหจริต จักแสดงมหาพยูหสูตร (สูตรว่าด้วยพวกใหญ่)
  4. พวกวิตกจริต จักแสดงจูฬพยูหสูตร (สูตรว่าด้วยพวกน้อย)
  5. พวกเทวดาสัทธาจริต จักแสดงตุวัฏฏกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติของนกคุ่ม)
  6. พวกเทวดาพุทธจริต จักแสดงปุราเภทสูตร (สูตรว่าด้วยเรื่องแตกในอนาคต)

เหตุการณ์เหล่านี้ เป็นเรื่องปรากฎในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้ายังพระชนชีพและจำแนกจริต ของเทพบนสวรรค์เป็นพวก ๆ ตามนิสัยที่ได้สะสมมาก่อนในอดีตชาติ เมื่อจบธรรมเทศนา ทวยเทพหนึ่งแสนโกฎิได้บรรลุอรหันต์ และบรรลุธรรมชั้นอื่นๆ อีกมากมาย เหตุการณ์นี้ทำให้พญามารได้ยกทัพมาขัดขวางทวยเทพที่จะบรรลุธรรม แต่ไม่สามารถทำได้ ด้วยอำนาจบารมีคำอธิษฐานจิตของพระพุทธองค์ ไม่ให้ทวยเทพได้เห็นรูป เสียง อะไร ใดๆ ทั้งสิ้นของพญามารที่แสดงฤทธิ์ ครั้งนั้นพญามารเดือดดาล กับผู้ที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจของตน จึงได้กลับไป

การประชุมมหาสมัยสูตรนี้ พวกเทวดาชอบมาก ได้ตั้งใจกันฟังพระสูตรนี้

มีเรื่องเล่าว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้ให้ทวยเทพฟังที่ป่าใหญ่ ก็มีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งท่องพระสูตรนี้ภายในถ้ำ ที่วัดโกฎิบรรพต เป็นพื้นที่ไกลห่างมากมายจากที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งเทศนาสูตรนี้ โดยมีเทพธิดาองค์หนึ่งที่ประตูถ้ำกากทิงวัดโกฎิบรรพต ได้ฟังธรรมด้วย และได้ยืนยันกับพระภิกษุรูปนั้นว่า พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงได้ตรัสอีกครั้งในวันเดียวเวลาเดียวกันนี้ที่ป่าใหญ่ โดย ธรรมที่ภิกษุหนุ่มท่องนี้ ตรงกับคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแสดงไม่ผิดแม้อักษรเดียว เทพธิดาก็ได้ฟังพระสูตรนี้ในวันนี้เช่นกัน[หมายถึงว่า ได้ฟังพระสูตรนี้พร้อมกันทั้งสองฝั่งในสถานที่ต่างกัน] จึงได้กล่าวคำว่า "สาธุ" ออกมาเมื่อฟังธรรมที่ภิกษุหนุ่มท่องออกมาจนจบ เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า ทำไมเทพธิดาจึงมายืนฟังอยู่ที่ถ้ำกากทิง วัดโกฎิบรรพต แม้ว่าอยากจะไปฟังธรรมนี้ใกล้พระพุทธเจ้า เพราะว่า ไม่มีพื้นที่ให้ยืนฟังและเป็นเทพธิดาชั้นผู้น้อย ทวยเทพชั้นชั้นผู้ใหญ่มาถึงเทวดาชั้นผู้น้อยก็ต้องถอยร่นมาเป็นลำดับๆ แต่เพราะพระพุทธเจ้ามีฤทธานุภาพมากทำให้แม้เป็นเทพธิดาศักดิ์น้อยที่ไม่อภัพก็สามารถบรรลุธรรมได้ เทพธิดาสำเร็จโสดาปัตติผลแล้วแสดงฤทธิในลำดับชั้นการบรรลุธรรมแก่พระภิกษุหนุ่ม  โดย แสดงให้เห็นแค่ข้อนิ้วมือ และกล่าวว่า "จงอย่าประมาทนะ ท่านเจ้าค่ะ" ซึ่งน่าจะหมายถึง ให้รีบเร่งในการปฏิบัติธรรม อย่าประมาทในชีวิต

เล่าเรื่องในพระไตรปิฎกให้ฟังแล้ว ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า สมาธิ หรือ ในภาษาอังกฤษ ที่เขียนว่า Meditation กันก่อน

สมาธิ หมายถึง ที่ตั้งมั่นแห่งจิต, ความสำรวมใจแน่วแน่เพื่อให้จิตสงบ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง พระพุทธศาสนาบอกไว้ 40 วิธี ในปัจจุบัน สมาธิ ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทำให้มีการปฏิบัติหลายหลากวิธีตามแต่ที่ได้รับการถ่ายทอด ทั้งนี้ก็เพื่อความสุขในชีวิตประจำวัน อีกทั้งได้ประโยชน์ทั้งร่างกายและจิตใจ

ความหมายของคำว่า จริต

ใจมนุษย์แต่ละวันไม่อยู่นิ่งเฉย ซัดซ่ายตลอดเวลา พระพุทธเจ้าเปรียบจิตมนุษย์เหมือนลิง วิงซุกซนไปมา เปลี่ยนแปลงเร็ว, ท่องเที่ยวไปตามอารมณ์ประเภทที่จิตชอบทำ เรียกว่า "จริต" มีความหมายเช่นด้วยกับ จริย จริยา หรือ จรรยา  มีความหมายจากหนังสือ คำวัด และจากพจนานุกรม[ออนไลน์] พอจะอธิบายได้ว่า

1 จริต [อ่านว่า จะ-หริด] แปลว่า จิตท่องเที่ยว  หมายถึง ความประพฤติ

2 จริต [จะหริด] แปลว่า ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ

 ซึ่งเป็นความประพฤติที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปรกติในกมลสันดาน

3 จริต[จะ-หริด] แปลว่า การไป ทางเดิน การทำ การประพฤติ กิริยา 

พื้นเพของจิตซึ่งเกิดจากการอบรมเสพคุ้นมาเป็นเวลานานกับอารมรณ์อย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้มีจริตอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อใช้ความคิดก็จะโน้มเอียงไปตามจริตของเขา

 การเสพคุ้นบ่อยๆ ในสิ่งนั้น ๆ จนเกิดความเคยชิน มีอิทธิผลส่งผลให้เกิดเป็นอุปนิสัย จนเป็นความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นฐานมาในสันดาล นั้นแสดงว่า ใจเราชอบท่องเที่ยวตามความเคยชินที่เราชอบ จึงกลายมาเป็น จริต ก็คือ "อุปนิสัยอันเป็นพื้นฐานของมนุษย์" นั่งเอง 


น่าสังเกตว่า ไม่ว่าจะเกิดเป็นมนุษย์ หรือ เป็นเทวดา จอมเทพในชั้นสวรรค์ใดๆ ต่างก็มีจริต 6 มีพื้นฐานอุปนิสัยที่สะสมมาตามกรรมที่ตนได้กระทำ ชอบทำในสิ่งที่ตนชอบและเสพคุ้นจนเคยกลายเป็นนิสัย พระพุทธองค์จึงได้เทศนาธรรมตามจริต ทำให้ทั้งพระภิกษุ และเทวดาทุกชั้นสวรรค์ได้บรรลุธรรม ด้งนั้นในมนุษย์ทั่วโลกนี้ ก็ย่อมต้องการความสุขในชีวิต เราก็สามารถชวนเขามาทำความดีผ่าน Zoom ในกิจกรรมพื้นฐานทั่วไปที่ทำได้ของแต่ละท้องถิ่น เช่น สวดมนต์ ทำบุญถวายภัตตาหาร  ทำบุญปล่อยสัตว์ปล่อยปลา และปฏิบัติสมาธิ อธิษฐานจิต แผ่เมตตา ตามจริตของแต่ละท่าน ช่วยกันแนะนำประโยชน์ และเชิญชวนชาวโลกมาทำบุญผ่าน Zoom ให้เยอะๆๆ ในยุคโควิด19 ที่เป็นภัยของมนุษย์ไปทั่วโลก กระแสบาปบนโลกจะได้เบาบาง มีแต่กระแสบุญที่ทุกคนช่วยกันทำความดี เมื่อทำบุญแล้ว เราก็ควรแผ่เมตตาให้กับสรรพสตว์ทั้งหลาย ทั่วโลกมีความปลอดภัยจากโรคโควิด - 19 และ ศึกสงคราม

 คุณครูไม่ใหญเคยสอนไว้ว่า.......

วันหนึ่งคืนหนึ่งที่ผ่านไป
อย่าประมาท
เราต้องสร้างบุญกัน
ให้เต็มที่ทุกๆ วัน


การเป็นต้นแบบทำความดีของครอบครัว นับว่าเป็นกัลยาณมิตรที่ดีของบุตรหลาน

สุขกามานิ ภูตานิ     โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน     เปจฺจ โส ลภเต สุขํ
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข

ขอเรียนเชิญทุกท่านทำบุญตักบาตร(ออนไลน์) ทำบุญกับวัดทั่วประเทศ หรือท่านใดไม่สะดวกไปถวายด้วยตัวเอง ส่งไปรษณีย์ไปที่ โรงครัว 71 ปีวัดพระธรรมกาย 23/2 หมู่ 7 ต.คลองสาม อ.คลอวงหลวง จ.ปทุมธานี (ตักบาตรออนไลน์อาหารแห้ง) รวมกันสร้างสังคมไทยให้มีความสุขทุกวัน  สร้างกระแสความดีอยางต่อเนื่องไปทั่วประเทศและทั่วโลก พร้อม ๆกัน

อนุโมทนาบุญทุกท่าน ในจิตกุศลการทำบุญในครั้งนี้


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ


4 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา