ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564

วันนี้วันพระ : ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระภายใน

วันครูวิชชาธรรมกาย : ธรรมะจากห้อง Zoom สาธุชนทั่วไป 

ธรรมเทศนา โดย พระปลัดสุวิทย์ สุวิชชาโภ ออกรายการวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2564 ช่วงบ่าย ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 10  อีก 2 วันก็เป็นวันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ท่านได้เล่าเรื่องราวของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ให้ฟัง โดยมีสาระใจความสำคัญได้ถอดมาเป็นบทความ ดังว่า.....

 เจริญพรกัลยาณมิตรทั่วโลก วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พศ 2564 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 10 อีก 2 วันก็จะเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งเป็นวันที่เราเรียกกันว่าเป็นวันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ถือว่าเป็นวันสำคัญของหมู่คณะของพวกเราที่เดียว ถ้าเราศึกษาประวัติพระเดชพระคุณหลวงปู่ เวลาเราพูดถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ เราจะมีสร้อยตามท้ายมาว่า พระผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายและพระผู้ปราบมาร ทั้ง 2 ภารกิจหน้าที่อันนี้เป็นภารกิจที่หลวงปู่ ท่านจะมาทำหน้าที่ของท่านเป็นภารกิจสำคัญ จะเริ่มต้นด้วยการค้นพบวิชชาธรรมกาย แล้วถึงจะต่อเนื่องเข้าไปสู่เรื่องของพระผู้ปราบมารเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการค้นพบวิชชาธรรมกายของท่านนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญ 


 ประวัติหลวงปู่ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายที่ลูกศิษย์ควรศึกษา

ในประวัติของท่านการที่ท่านจะเข้าไปสู่จุดเริ่มต้นก็คือการค้นพบวิชชาธรรมกาย จึงเป็นประวัติที่สำคัญของท่าน ปีนี้เป็นปี พ.ศ 2564 ปีที่ท่านเข้าถึงธรรมบรรลุธรรมนั้นคือปี พ.ศ.2460 เป็นพรรษาที่ 12 ของท่าน ถ้านับเวลาแล้วจะถึงปัจจุบันคือ 104 ปี วิชชาธรรมกายยังไม่เคยขาดช่วงนับตั้งแต่ท่านเข้าถึง เพราะนี่คือเรื่องสำคัญของหลวงปู่และหมู่คณะของเราทั้งหมด ในประวัติของพระเดชพระคุณหลวงปู่นั้น จึงเป็นประวัติที่พวกเราจะต้องศึกษา เพราะนี่คือแนวทางของผู้นำทีมของพวกเรา แล้วก็นำพวกเราก้าวไปสู่เส้นทางที่ท่านได้บุกเบิกเข้าไป 

พระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นชาวสุพรรณบุรี เกิดเมื่อ พศ. 2427 และการบวชการเกิดของท่านก็มีขึ้นที่บ้านสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี บวชเมื่อตอนที่อายุ 22 ปี พ.ศ 2449 ที่วัดสองพี่น้อง ท่านเกิดที่บ้านสองพี่น้อง บวชที่วัดสองพี่น้อง  ถ้าหากว่าเราไปดูในประวัติของท่าน เราจะทราบชัดที่เดียวว่า ตอนที่ท่านบวชนี้เป็นความตั้งใจของท่านที่จะบวช ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นแค่เป็นเพราะว่าเป็นประเพณี เพราะฉะนั้นความตั้งใจของท่านมีมาตั้งแต่เริ่มต้นคือ บวชแล้วจะไม่มีลาสิกขาตลอดชีวิต ท่านบวชตอนที่อายุ 22 ปี 2449 พรรษาที่ 1 ก็อยู่ที่วัดสองพี่น้อง พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่สนใจเกี่ยวเรื่องการศึกษามาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิปัสสนาธุระ ถึงท่านจะศึกษาทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ แต่วิปัสสนาธุระเป็นสิ่งที่ท่านทุ่มเทมาตั้งแต่ต้น ในประวัติของท่านบอกทีเดียวว่า พอวันรุ่งขึ้นก็เริ่มเรียนวิปัสสนา พระอาจารย์ที่สอนวิปัสสนาให้กับพระเดชพระคุณหลวงปู่ในวันรุ่งขึ้นนั้น ก็คือพระอนุสาวนาจารย์ของท่าน คือพระอาจารย์โหน่ง ซึ่งท่านเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ความสนใจของพระเดชพระคุณหลวงปู่ เกี่ยวกับเรื่องวิปัสสนาจึงมีมาตั้งแต่เริ่มต้น อยู่ที่วัดสองพี่น้องได้ 1 พรรษา ท่านต้องการศึกษาเพิ่มเติมทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ พอเข้าสู่พรรษาที่ 2 ท่านจึงเข้าสู่พระนคร แล้วก็เรียนศึกษาทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระที่พระนครด้วยการที่ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพน ที่เราเรียกกันว่าวัดโพธิ์ 

ท่านอยู่ที่วัดโพธิ์ก็พยายามแสวงหาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิปัสสนาธุระนั้น ท่านได้ไปศึกษาตามสำนักต่าง ๆที่มีชื่อเสียง ในประวัติของท่านโดยเฉพาะยิ่งศึกษาที่วัดพระเชตุพนเองกับพระครูที่สอนเกี่ยวเรื่องกรรมฐานที่วัดพระเชตุพน และก็ไปเรียนกับพระอาจารย์สิงห์วัดละครธรรมที่อยู่ใกล้วัดระฆัง ในเกียรติประวัติได้พูดถึงว่า ท่านไปเรียนแล้วท่านสามารถทำได้ตามแบบอย่างของครูที่สอน โดยเฉพาะยิ่งพระอาจารย์สิงห์ที่วัดละครธรรม ในประวัติบอกว่า ท่านได้เรียนแล้วก็ได้ดวง เริ่มได้ดวงตั้งแต่เรียนกับพระอาจารย์สิงห์ที่วัดละครธรรม แต่เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ต้องการจะศึกษาต่อว่าจากดวงแล้วทำอย่างไร ก็ปรากฏว่าพระอาจารย์ต่าง ๆในยุคนั้นก็ไม่มีท่านใดเลยที่จะบอกได้ว่าจากดวงแล้วจะไปต่อได้อย่างไร จึงเป็นสิ่งที่อยู่ในใจของพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่ท่านพยายามศึกษาค้นคว้าต่อด้วยตัวของท่านเองท่านพยายามหาวิธีที่จะเข้าไปต่อจากดวงที่ท่านได้ และแต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็ยังคงศึกษาคู่กันทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ 


 

จนกระทั่งถึงพรรษาที่ 11 ที่วัดพระเชตุพนนั้น ท่านเรียนคันถธุระได้ระดับหนึ่ง และสามารถแปลคัมภีร์ใบลานฉบับยาวที่ท่านตั้งใจจะแปลให้ได้ตั้งแต่อยู่วัดสองพี่น้อง ปรากฎว่าในพรรษานั้น ท่านแปลได้ครบอย่างตั้งใจ มาถึงตรงจุดที่ท่านตัดสินใจที่จะวางเรื่องคันถธุระ และเข้าสู่วิปัสสนาธุระ ท่านจะต้องเข้าสู่วิปัสสนาธุระเต็มตัว วิธีการคิดของพระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์สำหรับท่านโดยเฉพาะเลย เมื่อตอนที่ท่านได้เข้าสู่พรรษาที่ 11 แปลคัมภีร์ได้แล้ว ท่านคิดของท่านอย่างนี้ ท่านบอกว่า...

 "เรียนคันถธุระเรียนมาถึงตอนนี้ ท่านพอรู้แล้วว่าพระพุทธเจ้าสอนเรื่องอะไรไว้บ้าง 11 พรรษาท่านพอรู้แล้วว่า พระพุทธเจ้าสอนเรื่องอะไรไว้บ้าง แต่สิ่งสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือของจริงของแท้" ท่านใช้คำว่า ของจริงของแท้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในคืนตรัสรู้ธรรมนั้นคืออะไร ท่านบอกว่าท่านยังไม่รู้ ถ้าพูดในลักษณะนี้ในใจของพระเดชพระคุณหลวงปู่ในขณะนั้น ใจท่านจรดเข้าไปสู่ธรรมะของจริง ตัวจริงๆของธรรมะคืออะไร นั้นคือสิ่งที่อยากรู้อยากเห็น สิ่งนี้เองทำให้ท่านตัดสินใจเข้าสู่เรื่องของการปฏิบัติ และเลือกที่จะไปวัดโบสถ์บนบางคูเวียง ซึ่งวัดนี้ในปัจจุบันก็อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี ติดคลองอ้อมนนท์ซึ่งจะไหลต่อเชื่อมกับคลองบางกอกน้อย แล้วก็มีคลองอีกสายหนึ่งที่มาจากทางตะวันตกเข้าจรดเข้าคลองอ้อมนนท์ ในตรงนั้นก็คือ คลองบางคูเวียง พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านไปที่วัดบางคูเวียงในพรรษาที่ 12 ในพรรษาที่ 12 นี้คือ พ.ศ. 2460 จึงเป็นการเข้าพรรษาที่วัดโบสถ์บน บางคูเวียง และท่านก็มุ่งเข้าสู่เรื่องของการปฏิบัติอย่างเต็มตัว 

ยอมสละได้แม้กระทั่งชีวิตเพื่อธรรมะ : เห็นดวงใส ปฐมมรรค

ถ้าเราดูใจในของพระเดชพระคุณหลวงปู่ในขณะนั้น ใจของท่านวางเรื่องถึงต่างลง วางเรื่องของการศึกษา วางเรื่องส่วนตัว วางเรื่องที่วิถีชีวิตที่อยากได้อยากมีอยากเป็น ท่านวางหมด และต้องเข้าสู่เรื่องของการปฏิบัตินี่คือวิถีของหลวงปู่ในขณะนั้น ใจของท่านวางเรื่องต่างๆลงได้ เพราะฉะนั้นช่วงเวลาที่อยู่ในพรรษาที่ 12 จึงเป็นเวลาที่มีคุณค่าสำหรับพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่าน ท่านขัดเกลาใจของท่านเอง และใจของท่านก็ยิ่งโปร่งเบาสบาย เรื่องต่างๆก็วางลง วางลง วางลง จนกระทั่งโปร่งเบา ลักษณะอาการนี้คือใจโปร่งเบาสบาย จนกระทั่งไปถึงวันเพ็ญเดือนสิบ ถ้าดูตามเหตุการณ์แล้วช่วงเวลา 2 เดือนเศษๆ ที่ท่านไปที่วัดโบสถ์บน แล้วก็เข้าสู่เรื่องปฏิบัติ ใจของท่านคงขัดเกลาจนกระทั่งมีความเบาสบาย มีความใสสะอาดบริสุทธิ์ และมีความมั่นใจ เพราะฉะนั้นในคืนวันเพ็ญเดือนสิบ ท่านจึงมีความตั้งใจทีเดียวว่าเป็นอย่างไรเป็นกัน ให้มันรู้ไป และท่านก็ไปที่พระอุโบสถด้วยความตั้งใจที่จะทุ่มเข้าสู่เรื่องการปฏิบัติ ไม่กลัวตาย ความตั้งใจในขณะนั้นก็คือ วันนี้ตั้งแต่ค่ำนี้เมื่อนั่งไปแล้ว ถ้าเข้าไม่ถึงไม่ลุก ถ้าพูดง่ายๆคือยอมตาย หากว่าเราดูตามนี้ใจของหลวงปู่ในขณะนั้น ท่านไม่ห่วงแม้กระทั่งชีวิต วางเรื่องข้างนอกก็วางแล้ว วางเรื่องมาถึงตัวก็วางแล้ว ก็เหลือใจของท่านนี่แหละ ที่จะไม่ห่วงแม้กระทั่งชีวิต ยอมสละได้แม้กระทั่งชีวิตเพื่อธรรมะ แล้วท่านก็เข้าไปในโบสถ์ เข้าไปกราบต่อหน้าพระประธานที่วัดโบสถ์บน พร้อมกับอธิษฐานว่าอย่างนี้

กราบขอพรของพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอพระองค์ได้โปรดประทานธรรมให้ด้วยเถิด แม้เป็นเพียงส่วนน้อย ถ้าหากว่าการประทานธรรมนี้ หากว่าประทานไปแล้วเกิดโทษต่อพระศาสนา อย่าได้ประทานเลย แต่ถ้าประทานแล้วเป็นคุณต่อพระศาสนา ขอได้เมตตาประทานธรรมให้ด้วยเถิด ถ้าหากว่าได้ธรรมแล้ว จะตั้งใจที่เดียวว่า จะเป็นทนายแก้ต่างให้กับพระศาสนา


คำว่า เป็นทนายแก้ต่างให้กับพระศาสนา ในความหมายของท่านก็น่าจะหมายถึงว่า จะเป็นทนายผู้ชี้แจงความถูกต้องของพุทธศาสนาให้ปรากฏเป็นจริง ที่เป็นจริงให้ปรากฏขึ้นมา เพราะฉะนั้นเมื่อท่านนั่งลงไปในคืนนั้น ในค่ำนั้น ใจของท่านเต็มร้อย แม้กระทั่งในขณะลงไปนั่ง ท่านเห็นมดขี้มดตัวเล็ก ๆ ขึ้นมาตามซอกของกล่องกระเบื้อง ท่านก็เลยนึกว่า มดมันจะมารบกวน ก็เลยเอานิ้วจุ่มน้ำมันก๊าด จะวาดเป็นวงเพื่อกันมด พอปลายนิ้วเกือบจะแตะกระเบื้อง ท่านก็นึกขึ้นมาได้ว่า ตัวท่านเองตอนปวารณาไว้แล้ว แม้กระทั่งชีวิตยังไม่ห่วง ยอมตายได้ในการนั่งครั้งนี้ แล้วจะมัวกลัวอะไรกับการรบกวนแค่มดตัวเล็กตัวน้อยๆ ท่านเลยไม่วาดวงกันมด เป็นอย่างไรเป็นกัน แล้วก็นั่ง นั่งสมาธิพื้นฐานเดิมของพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านมีอยู่แล้วระดับหนึ่ง ที่เหลืออยู่ก็คือเรื่องที่ท่านจะร่วมใจ ทำใจของท่านให้ยิ่งใสบริสุทธิ์และสงบระงับ เพราะฉะนั้นท่านไปโบสถ์ตั้งแต่ตอนหัวค่ำ สมัยนั้นนาฬิกาไม่มี ในโบสถ์ไม่มีนาฬิกา แต่คะเนกันว่านั่งได้ประมาณครึ่งค่อนคืน ก็นั่งในตอนหัวค่ำก็หน้าก็น่าจะเลยเที่ยงคืน นั่งกันรวดเดียว ถ้าประเมินตามนี้ก็ประมาณสัก 6 ชั่วโมง ใจของท่านที่วางเรื่องต่างๆลงได้ และวางลงได้เรื่อยๆ ใจที่ไม่ห่วงแม้กระทั่งชีวิต วางชีวิตลงได้ใจมันก็สงบนิ่ง แล้วสงบนิ่งขึ้นเรื่อยๆ และใจก็รวมในประวัติก็บอกว่าใจของท่านรวม แล้วก็สงบนิ่ง สงบนิ่งอยู่ตรงกลาง ตรงกลางกายนั้นพอใจของท่านสงบนิ่ง ใจก็ตกศูนย์ เห็นดวงเกิดขึ้นมา ดวงนี้เป็นดวงที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ ต่อมาท่านเรียกว่าดวงปฐมมรรค เป็นดวงใสบริสุทธิ์ ใจก็รวมได้ ใจก็สงบได้ แล้วก็นิ่งสนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ใจเวลาสงบนั้น ใจจะรวมเข้าสู่ศูนย์ และก็จะนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ใจที่ไม่มีห่วง ไม่มีกังวล ใจก็รวมได้ ใจก็สงบได้ และก็นิ่งสนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกาย  ตกศูนย์ก็เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์


ตรงนี้เองในประวัติได้พูดถึงประโยคสำคัญของพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่าน ท่านรำพึงว่า...

“ มันยากอย่างนี้เขาถึงเข้ากันไม่ถึง เขาถึงเข้ากันไม่ได้ ”  แล้วท่านก็ตั้งต้นด้วยคำที่มีความสำคัญเป็นพุทธพจน์ว่า คัมภีโรจายัง แล้วก็ต่อด้วยประโยคดังต่อไปนี้ คัมภีโรจายัง ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นนิสัยการตรึกนึกคิด  ถ้ายังนึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าถึงได้ต้องทำ รู้ตรึก รู้นึก รู้คิด รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดก็ดับ พอดับก็เกิด ถ้าไม่ดับก็ไม่เกิด ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย นี่เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนทางนี้จะไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด นี่คือวาทะสำคัญที่ท่านให้ไว้ เริ่มต้นด้วยคำว่าคำภีโรจายัง คำว่าคัมภีโรนั้นแปลว่า ลึก ในปทานุกรมภาษาบาลีภาษาอังกฤษ เขาว่าคัมภีโรนี้ให้ความหมายไว้หลายนัยยะ สำคัญอันหนึ่งก็คือแปลว่าดี ซึ่งแปลว่าลึก เพราะฉะนั้นในประโยคต่อมาพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านจึงให้ความหมายของคำว่าคัมภีโรจายังเอาไว้แล้ว ท่านตั้งต้นจากคำว่าคัมภีโรจายัง แล้วก็ถอดความไว้เลยว่า ธรรมเป็นของลึก มันลึกเข้าไปตรงกลางมันถึงยากอย่างนี้ ถ้าไม่ตั้งใจจริง ถ้าไม่จริงต่อการปฏิบัติ มันก็จะเข้าไปไม่ถึง  

ธรรมเป็นของลึก คือลึกเข้าไปอยู่ตรงกลาง กลางดวงที่ท่านพบนั่นแหละ ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะคิดคาดคะเนเอาได้ ถ้ายังตรึกนึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึง ท่านบอกไว้เสร็จหมดเลย ใครที่มัวแต่คิดว่าธรรมะตัวจริงเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้  คิดเอาเองอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้ามัวแต่คิดเข้าไม่ถึง ที่จะเข้าถึงได้ต้องทำ รู้ตรึก รู้นึก รู้คิด ในยุคแรกๆ ท่านก็คงใช้คำว่า รู้ตรึก รู้นึก รู้คิดต่อมาในภายหลังท่านถึงได้ใช้คำว่า เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่าง รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน รู้ตรึก รู้นึก รู้คิด รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน  พอหยุดก็ดับ พอดับก็เกิด พอใจรวมแล้วก็จะหยุด เพราะฉะนั้นพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านสอนคำว่าหยุดมาตั้งแต่ในสมัยแรกๆที่ท่านเข้าถึงธรรมะแล้ว พอหยุดก็ดับ พอดับก็เกิด พอหยุดแล้วดับ เกิดมันถึงจะเกิดขึ้น มีดับมีเกิด มีดับมีเกิด เข้าไปสู่ตรงกลางดวง ก็จะเข้าไปสู่ความละเอียดที่ลึกเข้าไปสู่ภายใน สิ่งที่ท่านแปลมาตั้งแต่สมัยตอนพรรษาที่ 11 แปลคัมภีร์มหาสติปัฏฐานได้ ก็จะมากระจ่างชัดตอนที่ท่านเข้าถึงธรรมนี่แหละ ในคัมภีร์มหาสติปัฏฐานนั้น ได้พูดถึงคำว่า กาเยกายานุปัสสี การตามเห็นซึ่งกายในกาย ถ้าหากว่าตราบใดที่ไม่เห็นกายในกาย  ความลังเลสงสัยก็จะมีเกิดขึ้นได้ตลอด ธัมเม ธัมมานุปัสสนา การเห็นธรรมในธรรมก็เช่นกัน ตราบใดที่ยังไม่เห็นดวงธรรมที่กลางกายแล้ว ก็ไปสู่ตรงกลางดวงธรรมได้ ก็จะไม่เข้าใจถึงคำว่า ธัมเม ธัมมานุปัสสีได้จริง ธัมเม ธัมมานุปัสสี ตามเห็นซึ่งธรรม เขาจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าถึงธรรมตั้งแต่ดวงปฐมมรรคดวงเบื้องต้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่พระเดชพระคุณหลวงปู่เข้าถึงจึงสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านได้ศึกษาเอาไว้ทั้งคัมภีร์มหาสติปัฏฐาน 

และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่าหยุดเป็นตัวสำเร็จ ท่านก็ได้ใช้มาตั้งแต่เบื้องต้น รวมจุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดก็ดับพอดับก็เกิด ถ้าไม่ดับก็ไม่เกิด ตรองดูเถิดท่านทั้งหลายนี่เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้จะไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด คำว่าหัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านคงหมายเอาดวงธรรม ใสบริสุทธิ์ ที่อยู่กลางกายของท่านนั่นแหละตรงนี้เป็นเหมือนหัวต่อ จะออกข้างนอกก็ฟุ้งไปตามกระแสของเขา ถ้าเข้ากลางข้างในได้ก็จะเดินตามแนวเส้นทางสายกลาง เพราะดวงธรรมดวงนี้อยู่ที่กลางกายของมนุษย์ และจะเข้าไปสู่ภายในได้ก็ตามที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้พูดถึงนั่น ก็ต้องอาศัยใจหยุดแล้วเข้าไปสู่ภายใน เป็นสิ่งที่ท่านถอดความเอาไว้ให้ตั้งแต่ตอนที่ท่านเข้าถึงธรรมะไว้ ตอนที่ท่านเข้าถึงธรรมได้ คือความรู้ที่ท่านทุ่มทั้งชีวิตเอามาเปิดขึ้นมาให้ได้รู้ ความรู้เกี่ยวเรื่องพระในกายที่ท่านเข้าไปสู่ภายในกายในกายจนกระทั่งเข้าไปถึงพระในกายก็เกิดขึ้น ความรู้ที่ถูกเก็บไว้อย่างเงียบๆในพระไตรปิฎกก็ได้ถูกหลวงปู่เปิดขึ้น

คำว่า "ธรรมกาย " ความรู้ล้ำค่าที่หลวงปู่ค้นพบ ที่มีในพระไตรปิฎก

  ทั้งวาทะที่เราอยู่ที่โบสถ์พระไตรปิฎกที่คุณครูไม่ใหญ่ได้ตั้งใจที่จะสร้างโบสถ์พระไตรปิฎกเพื่อยืนยันข้อความอันนี้ในพระไตรปิฎก ที่พูดถึงตถาคตตัสสะเสตัง วะจะนัง ธัมมะกายโย อิติปิ ซึ่งได้พูดถึงว่า คำว่าธรรมกายและก็คือตัวเราตถาคตนี่เอง แม้กระทั่งพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านพูดถึงประโยคนี้ย้ำแล้วย้ำอีกว่าในเวลาท่านสอนต่อๆมา และยืนยันด้วยคำว่า ธัมมะกาโย อรหังอิติปิ ได้บอกถึงว่าเราคือธรรมกาย นี่คือความรู้ที่ล้ำค่า ความรู้ที่ล้ำค่า ล้ำค่ามากๆที่ครูของเราผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ได้นำขึ้นมาทุ่มทั้งชีวิต เพื่อปักหลักของวิชชาธรรมกายให้เกิดขึ้น และนี่คือความรู้สำคัญที่ทำให้เราก็ไปสู่เส้นทางสายกลางที่อยู่กลางกายของเราได้ จนกระทั่งเข้าสู่พระที่อยู่กลางกายของเราได้ และนี่คือความรู้ที่ล้ำค่าที่เก็บที่เก็บเอาไว้ในพระไตรปิฎก และพระเดชพระคุณหลวงปู่ สามารถเอาของจริงออกมายืนยันได้ ล้ำค่ามากๆ นี่คือสิ่งที่ล้ำค่าหลังจากที่ขาดหายต่อช่วงกันมา พันกว่าปี และพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านทุ่มเทเอาชีวิตเป็นเดิมพันเอามาให้เราได้รู้จัก และการเข้าสู่ข้างในอย่างต่อเนื่องโดยพระเดชพระคุณหลวงปู่ก็ได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้น และก็ได้ต่อท่อ ด้วยการสอน ต่อทอดกันมา ต่อทอดกันมาตั้งแต่ท่านใดเข้าถึง แล้วก็สอนต่อท่อกันมาจนกระทั่งท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญแล้วก็ปักหลักศึกษาวิชชาธรรมกายให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และที่วัดปากน้ำ คุณยายอาจารย์ของเรามหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูงท่านได้มาถึงวัดปากน้ำในปี 2481 แล้วก็ได้เข้าเป็นลูกศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ในที่ทำวิชชา ได้ศึกษาวิชชาธรรมกายศึกษากับท่านโดยตรง รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายธรรมกายตั้งแต่หลวงปู่ก็ได้รับการถ่ายทอดต่อมา 

ภาพอุโบสถ : โบสถ์พระไตรปิฎก วัดพระธรรมกาย พิธีเปิดม่านมงคล ใน วันขึ้นปีใหม่ 2561

ความสำคัญในการสร้างวัดพระธรรมกายเพื่ออะไร

ถ้าพูดถึงสายของพวกเรา ก็ถ่ายทอดออกมาจนกระทั่งถึงคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูง และต่อมาเมื่อคุณครูไม่ใหญ่ของเรา ได้ไปขอศึกษากับคุณยายอาจารย์เมื่อปี 2506 การถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องก็เกิดขึ้นจากคุณยายก็มาส่งคุณครูไม่ใหญ่ จากคุณครูไม่ใหญ่ก็มาสู่พวกเราหมู่คณะ ต่อเนื่องกันมาไม่ขาดสาย พระเดชพระคุณหลวงปู่ค้นพบวิชชาธรรมกายในแต่ปี 2460 ในพรรษาที่ 12 ขณะที่อายุ 33 แล้วหลังจากนั้นก็ถ่ายทอด มีการต่อท่อกันมาตามลำดับตามระดับไม่ขาดช่วง จนกระทั่งมาถึงคุณยายอาจารย์ของเราซึ่งได้เรียนกับหลวงปู่ในที่ทำวิชชาซึ่งเป็นที่ศึกษาวิชาขั้นละเอียด และก็ได้ถ่ายทอดต่อสู่คุณครูไม่ใหญ่ เมื่อคุณยายอาจารย์และครูไม่ใหญ่คุณครูไม่ใหญ่ของเรา  ได้ทุ่มเทที่จะสืบทอดต่อของวิชชาธรรมกายให้ต่อทอดกันต่อไป จึงได้รวบรวมหมู่คณะเราสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมขึ้น และต่อมาสถานที่ปฏิบัติธรรมนั้นก็ได้พัฒนาขึ้นจนกระทั่งเป็นวัด และวัดนี้ก็ไม่ได้ทิ้งชื่อของธรรมกายเลย เพราะเป็นชื่อวัดพระธรรมกาย เป็นการยืนยันว่า วัดพระธรรมกายคือวัดที่สอนเรื่องวิชชาธรรมกาย เราต่อทอดกันมาตลอด จากพระเดชพระคุณหลวงปู่สู่คุณยาย จากคุณยายสู่คุณครูไม่ใหญ่ แล้วก็ปักหลักของหมู่คณะขึ้น จนกระทั่งเป็นวัดพระธรรมกาย ต่อทอดกันมาถึงปัจจุบัน และยังเป็นวิชาที่ครูไม่ใหญ่เน้นให้พวกเราทั้งหมด เข้าสู่เรื่องการปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกาย ที่นี่สอนวิชชาธรรมกาย และยังไม่ขาดช่วงเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เริ่มต้นจากวันครูผู้ค้นพบวิชาธรรมกาย จนกระทั้งมาถึงวันนี้ ที่วัดพระธรรมกาย และจะต่อทอดกันต่อไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับพวกเราทั้งหมดนี่ด้วย นี่คือสิ่งสำคัญที่เราได้สร้างวัดพระธรรมกายขึ้น 

เพราะฉะนั้น วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายในปีนี้ เราจะได้ตั้งใจระลึกถึงพระคุณอันไม่มีประมาณของพระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี ที่ท่านได้ทุ่มเททั้งชีวิตเอาวิชชาธรรมกาย เปิดวิชชาธรรมกายขึ้นเพื่อรองรับพวกเราในการที่สร้างบารมีตามท่านเข้าไป และเส้นทางที่เราจะตามท่านไปก็คือเส้นทางที่ท่านค้นเข้าไปสู่ภายในของวิชชาธรรมกายนั่นเอง ที่จะตามท่านได้ มีอยู่ทางเดียวเท่านั้นก็คือ ทางที่ท่านนำเข้าไปสู่ตรงกลาง ที่กลางดวงปฐมมรรคที่ท่านได้สอนเอาไว้นั่นเอง ฉะนั้นวันครูธรรมกายคราวนี้ ระลึกถึงพระคุณของหลวงปู่ให้มากๆ หรือนึกถึงสิ่งที่ท่านได้ทุ่มเทเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เอาวิชชาธรรมกายขึ้นมาให้ แล้ว วิชชาที่จะต่อท่อไปถึงคำว่า พระผู้ปราบมารของท่าน ถ้าว่าเราตามท่าน เราก็จะตามด้วยวิชชาธรรมกายนี่แหละ ก็ไปสู่เส้นทางที่ท่านเปิดเอาไว้ให้ ท่านจะรวบรวมพวกเราและหมู่คณะทั้งหมดตามกันเข้าไป พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านเปิดขึ้น ผู้รับช่วงต่อมาคือคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ขนนกยูงก็เป็นผู้ที่มีพระคุณมากๆ ท่านเป็นผู้ที่สามารถเชื่อมต่อจนกระทั่งมาถึงคุณครูไม่ใหญ่ และสิ่งที่คุณครูไม่ใหญ่ทุ่มเททำก็คือสร้างวัดพระธรรมกายขึ้น เพื่อให้เป็นฐานรองรับการปฏิบัติธรรมเรื่องวิชชาธรรมกาย พระคุณท่านมากมายมหาศาล ดังนั้น ในวันที่ 21 กันยายน 2564 เป็นวันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 รวมแล้ว 104 ปีเต็ม



ปฏิบัติธรรมกันทั่วโลกเพื่อกตัญญูครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

ฉะนั้นเราจะได้ตั้งใจกัน อันแรกคือปฏิบัติธรรมบูชา การที่เราจะตามพระเดชพระคุณหลวงปู่ ตามหลวงพ่อก็ต้องเรียนวิชชาธรรมกาย อย่าให้ขาดช่วง เราต่อเนื่องกันมาจนกระทั่ง 104 ปี ตั้งใจปฏิบัติธรรม ชีวิตเราก็มีเพียงแค่นี้ อายุหลวงพี่(พระสุวิทย์ สุวิชชาโภ)ก็เลยเลขเจ็ดแล้ว ฉะนั้นเวลาข้างหน้าจะได้เป็นเวลาที่จะให้กับเรื่องของวิชชาธรรมกาย เรื่องอื่นทั้งหมดเป็นเรื่องรองลงไป   เรื่องปฏิบัติธรรมจะเป็นเรื่องหลัก ธรรมกายคือเป้าหมายชีวิตเป็นสิ่งที่เราต้องเน้นย้ำในวันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย เรื่องธรรมดาที่เราจะถึงทำได้ ก็คือเราจะเข้าไปสู่เรื่องของวิชชา เราจะต้องมีบุญกัน โอกาสที่เราจะทำบุญให้ต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าสู่การที่เราจะได้มีโอกาสได้เข้าไปศึกษาเรื่องวิชชาที่ลึกเข้าไป เราจึงทำบุญที่เนื่องถึงเรื่องของการบูชาธรรมอันไม่มีประมาณของครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ในวันครูวิชชาธรรมกายนั้นมีการทอดผ้าป่าเพื่อบูชาธรรมเรานึกว่าเราบูชาธรรมพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่าน ดังนั้นขอให้ตั้งใจทำกันนะ เนื้อนาบุญก็มีอยู่แล้ว เป้าหมายในการทำบุญก็มีอยู่แล้ว หัวใจใสๆของลูกหลานหลวงปู่ ลูกหลานคุณครูไม่ใหญ่ หัวใจใสที่เต็มเปี่ยมไปด้วยกตัญญูและเคารพในวิชชาธรรมกาย เคารพในหลวงปู่ เคารพในคุณยาย เคารพในหลวงพ่อ มีอยู่เต็มหัวใจอยู่แล้ว ให้ตั้งใจทำบุญกันในวันนั้น และขอให้เป็นบุญใสที่เข้าสู่่กลางกายของพวกเรากันทุกคน ให้เป็นบุญใสบริสุทธิ์ในใจของเรากันทุกคน ให้เข้าสู่ศูนย์กลางกาย ให้สถิตย์นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ให้นิ่งสนิทเข้าไปสู่ตรงกลาง กลางที่ดวงตาใสบริสุทธิ์ที่ศูนย์กลางกายนั้น ดวงปฐมมรรคอยู่ที่กลางใจของเราไปแล้ว ใจของเราด้วยความเคารพบูชากตัญญูบูชาครูบาอาจารย์มีอยู่แล้ว ใสอยู่แล้ว ใสพอที่จะเข้าไปถึง วันนั้นให้ตั้งใจทำเถอะ แล้วบุญใสจะเป็นของพวกเรากันทุกคน ให้ทุกท่านสมความปรารถนาในการเข้าถึงพระธรรมกาย และให้สมหวังสมความปรารถนาในการดำเนินชีวิต ให้มีแต่ความสุขความเจริญ ทำการงานใดขอให้ประสบกับความสำเร็จ ให้ปลอดภัยในชีวิต โรคภัยไข้เจ็บ แม้กระทั่งอุบัติเหตุอันตรายก็อย่าได้มีมารบกวนเลย ที่ยังไม่เป็นก็ขออย่าให้เป็น ที่เป็นแล้วก็ขอให้เบาบางแล้วก็หายได้ ให้ทุกท่านมีความสุขมากๆ ขอเจริญพร

 


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

1 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา