ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564

7 ปัจจัยพิชิตโควิดอย่างง่าย ๆ

 



จากรายการสติถิการติดเชื้อโควิด 19 ทั่วโลก และในแถบประเทศอาเซียน สถานการณ์บางประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และ เวียดนาม และเสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ช่วงในเดือนพฤษภาคม มีรายการและการทุบสถิติการติดเชื้อโควิด19 และคนตายนับว่าสูงมาก คืออินเดีย ที่ติดเชื้อวันละ 400,000 คน ซึ่งคาดว่ายังเป็นยอดที่ไม่ได้นับอีกมหาศาล คนเสียชีวิตมากมายนับไม่ถ้วน อีกทั้งสภาพสิ่งแวดล้อม ประเพณี และความเชื่อของคนอินเดีย แต่หลังจากนั้น ภายใน1เดือน สถานการณ์การติดเชื้อก็ลดลง คนตายแม้ว่า จะเพิ่มเป็นประวัติการณ์ แต่ต่อมาก็ลดลง ๆ ไปเรื่อย ๆ ในปัจจุบันนี้ สถิติการติดเชื้ออยู่ในระดับ 40,000 คน ต่อวัน เขาทำได้อย่างไร น่าศึกษา 

หากใครได้ติดตามอ่านบทความที่ถอดบทความจากหลวงพ่อทัตชีโวที่เทศนาให้ฟังในวันอาทิตย์ต้นเดือนพฤษภาคม 2564 (ติดตามอ่านย้อนหลัง ได้ตามที่แหล่งอ้างอิงแจ้งไว้) ก็จะพบว่า ใน "ปโลกสูตร" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เหตุที่มนุษย์ลดน้อยลง คือ ความโลภของมนุษย์ การไม่มีศีล คดโกง คอรัปชั่น ทะเลาะวิวาท ต่างหยิบอาวุธเข่นฆ่าและทำสงคราม มนุษย์ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก เกิดทุกขภิกภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดโรคระบาด เพราะ พวกยักษ์ปล่อยอมนุษย์ที่ร้ายกาจไว้(บนพื้นโลก) เพราะเหตุนั้นมนุษย์จึงล้มตายเป็นจำนวนมาก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนว่า  สะอาดกับระเบียบ สะอาดคือธรรมะ ระเบียบคือพระวินัยธรรม ธรรมะและวินัยจะคุ้มครองชาวโลกให้ปลอดภัย และ ความสุขความเจริญของชาวโลกของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบุญของตัวคนผู้นั้น ถ้าจะพูดอีกทีหนึ่ง ก็คือ สุข ทุกข์ของมนุษย์เจริญหรือเสื่อมของมนุษย์ขึ้นอยู่กับบุญบาปของมนุษย์ผู้นั้น

หลวงพ่อทัตตชีโว บอกวิธีการเติมบุญตามแนวทางพระพุทธศาสนา : ทำทาน รักษาศีล ทำภาวนา ทุกวัน

ธรรมเทศนาของหลวงพ่อทัตตชีโว ในช่วงวันอาทิตย์ต้นเดือนที่ผ่าน ๆมา หลวงพ่อแนะนำว่า การเติมบุญให้ตนเองนั้น ได้แก่ สวดมนต์บทธรรมจักร และชวนคนรอบตัวมาสวดเป็นทีม  นั่งสมาธิ ฟังธรรม อ่านหนังสือพระไตรปิฎก เป็นการทำใจให้ผ่องใส ทำความดี ละความชั่วทั้งปวง 

การสวดมนต์บทธรรมจักร ท่านได้แนะนำเพิ่มว่า ตลอดช่วงเวลา 17 นาทีต่อ1จบนั้น ควรต้องตั้งใจสวดมนต์ น้อมนำใจไปไว้ที่ศูนย์กลางกาย ใจอยู่ในธรรมะภายใน อย่างมีสติตลอดเวลา ใจไม่แวปไปที่อื่นขณะสวด เรียกว่าได้บุญบริสุทธิ์ล้วนๆ ด้วยสองมือเรา เกิดพลังบุญที่ใสสะอาด รวมกันหลายๆ คน ก็จะได้มีพลังบุญที่ประมาณไม่ได้ ไปทั่วโลก

ในปัจจุบันนี้ พื้นที่ไทยส่วนใหญ่ Lock down ดังนั้นเครื่องมือในการสร้างและเพิ่มบุญให้ตนเองและคนที่เรารัก ก็คือ การเข้าทำบุญออนไลน์ ที่แอพพิเคชั่น Zoom หรือ เครื่องมืออื่นๆมากมาย สามารถติดต่อประสานงานและเข้าชมรายการธรรมะในเว็บไซด์ Zoom On Line All รวย

 

ทำไมอินเดียมีประชากรติดเชื้อโรคโควิด19 เยอะ และเสียชีวิตจำนวนมหาศาล

 ข่าวบีบีซี นิวส์ กรุงนิวเดลี รายงานข่าวในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 ว่า คนอินเดียมีความเชื่อทางประเพณีและศาสนาในการทิ้งศพลงแม่น้ำคงคาจะทำให้คนตายไปสวรรค์ ซึ่งน่าจะเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบาดมากขึ้น และทำให้ประชาชนเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ทั้งที่ทราบจำนวน และ ไม่ทราบจำนวนอีกมากมายมหาศาล และคนอินเดียส่วนใหญ่เป็นคนยากจนไม่มีเงินจัดการศพ เขาจึงห่อศพและไสลงแม่น้ำคงคา ตามประเพณี ซึ่งทุกคนเห็นเป็นเรื่องปกติ  แม้จะมีการเผาศพแต่เนื่องด้วยมีคนตายจำนวนมากเพิ่มขึ้น ไม่มีที่เผาศพ จึงได้เผาศพที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา หรือ ฝังศพไว้ในท้องน้ำแม่น้ำ เรียกว่าหลุมฝังศพกระจายไปทั่วท้องน้ำ เมื่อมีฝนตกและระดับแม่น้ำสูงขึ้น ก็ทำให้แม่น้ำนำพาศพที่ฝังไว้ตื้นๆ ลอยตามน้ำไป ศพจึงเกลื่อนไปทั่วแม่น้ำคงคา ซึ่งเป็นเหตุทำให้เชื้อโรคกระจายมากขึ้น อินเดียทุบสถิติมีคนติดเชื้อถึงวันละสี่แสนคน จำนวนผู้เสียชีวิต 275,000 คน (ข่าววันที่ 19 พค 2564) ซึ่งตัวเลขอาจจะมากกว่าที่แจ้งไว้

 กระทรวงสาธารณสุขอินเดียรายงาน ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ว่า แม้ผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง แต่ในรอบหนึ่งวันต่อมา ก็ยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหตุเพราะสิ่งอำนวยด้านการดูแลสุขภาพไม่ทั่วถึง 

6 สัปดาห์ ที่ประเทศอินเดียประสบภัยการระบาดของเชื้อโรคโควิด 19  ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ออกซิเจนและยาขาดแคลน แม้จะเสียชีวิตเพิ่ม แต่ผู้ติดเชื้อก็ลดลงมากแล้ว นับว่าเป็นสัญญาณที่ดี

ในปัจจุบัน (ข่าว 6 สิงหาคม 2564) เมื่ออินเดียมีกลยุทธในการบริหารจัดการ จึงได้ประสบผลสำเร็จในการจัดการด้านการฉีดวัคซีนและรัฐเข้ามาช่วยดูแลประชากรได้อย่างดีมีประสิทธิภาพผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตก็ลดลงอย่างเป็นนัยยะ ตัวเลขปัจจุบันผู้ติดเชื้อเหลือเพียง 40,000 กว่าคน

สิงหาคมในประทเศไทย พบผู้ติดเชื้อโควิด19 และผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทย ก็เกิดวิกฤตระบาดของโรคโควิด19 จนกระทั่งทำให้ทุบสถิติในผู้เสียชีวิตเป็นประวัติการณ์ โดยวันที่ 18 สิงหาคม 2564 มีรายงานสถิติพบว่า มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด 312 คน ต่อวัน แม้ว่า วันอื่น ๆจะลดลง แต่ก็ยังมีการติดเชื้อเพิ่ม และการเสียชีวิตก็ยังไม่ได้ลดลง


ทุบสถิติการเสียชีวิตมากที่สุด 312 คน : สถิติผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทย

 

7 ปัจจัยที่ทำให้อินเดียประสบผลสำเร็จในการควบคุมโรคโควิด 19

เดือนพฤษภาคม ประเทศอินเดียเกิดภาววิฤกติการเกิดโรคโควิด ระบาดอย่างหนัก และขั้นโคม่า เป็นอันดับหนึ่งในแถบเอเซีย หรือ อาจจะเป็นอันดับหนึ่งของโลกต่อประชากร ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ในสหรัฐ ที่แม้ประชาชนจะฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม แต่ก็ยังมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ตามรายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 สูง ส่วนมากเป็นพื้นที่ที่ประชาชนไม่ยอมฉีดวัคซีน และเชื้อที่ระบาดคือ สายพันธุ์ใหม่ เรียกว่า เดลต้า ปัจจุบัน ยังไม่สามารถค้นพบวัคซีนยี่ห้อชนิดใดที่ป้องกันเชื้อได้ และบุคคลากรทางการแพทย์ก็ขาดแคลน พยาบาลหลายรายติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดสูง เช่น ภาคใต้ของสหรัฐ

ดร.แอนโทนี ฟาวชี ผู้เชี่ยวชาญโรคติดต่อสหรัฐ ได้ออกมาประกาศแจ้งเตือนชาวสหรัฐอเมริกา ให้สวมใส่หน้ากากในอาคารอีกครั้ง และล้างมือให้สะอาด 
 
ขอบคุณภาพจากเว็บCanva

 
ในขณะที่สหรัฐ(การแพร่ระบาดโควิด กลับมาอีกครั้ง) ไทย เวียดนาม อินโดเนเซีย มีการแพร่ระบาดโควิดอย่างหนัก แต่สภาวการณ์อินเดียที่มีการแพร่ระบาดของโควิดอย่างรุนแรง กลับสามารถควบคุมโรคได้ ภายหลังจากนั้น 1 เดือน มีปัจจัยอะไรที่อินเดียนำไปปฏิบัติ เรามาดูกัน

 

จากภาพสถิติ ประชากรอินเดียทั้งประเทศ 1,300 ล้านคน ตัวเลขชี้สูงสุดของผู้ติดเชื้อคือ วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ในขณะที่ถัดมาอีกหนึ่งเดือนก็ดีขึ้น
 
Center for Global Development สถาบันเพื่อการพัฒนาโลก สำนักงานใหญ่อยู่ที่วอชิงตันสหรัฐอเมริกา ได้สรุปบทเรียนที่เกิดขึ้นในอินเดีย ว่า ทำไมตัวเลขลดลงมาอย่างเร็วมาก ได้ทำการวิจัย และพบว่า มี 7 ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้อินเดียฟื้นตัว คือ ลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงอย่างรวดเร็ว 
 
ปัจจัยที่ 1 รัฐบาลอินเดียตัดสินใจทุกอย่างโดยทำตามคำแนะนำของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งรวมทั้งแพทย์ด้วย ก่อนเดือนเมษายน ทีมงานไม่ได้เรียกประชุมเฉพาะกิจ เพราะคิดว่า สถานการณ์โควิด คุมได้แต่ปรากฎว่า โรคระบาดกลับมาแพร่ระบาดอย่างหนัก จึงได้เรียกประชุมเร่งด่วน จัดตั้งทีมเฉพาะกิจพิเศษ เช่น ทีมหาถังออกซิเจนก็หาถังออกซิเจนอย่างเดียว แต่ถ้าทีมหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ก็ได้ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ประเทศอังฤกษ ขอข้อมูลมาตัดสินใจ เพราะว่าประเทศอินเดียรับงานนี้ไม่ทันแล้ว ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ก็ทำให้รัฐบาลอินเดียตัดสินใจได้ถูกต้องมากขึ้น และก็ได้แบ่งงานให้หน่วยงานต่าง ๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
ปัจจัยที่ 2 เรื่องการตรวจตัวชี้วัดทางระบาดวิทยาอย่างเข้มข้น เอาจริงเอาจังในการตรวจหาการระบาดในพื้นที่ ที่เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนคนที่เข้ามาทำการรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวนผู้เสียชีวิต อัตราการติดเชื้อจากผู้ป่วยสู่บุคคลอื่น อาการของโรค ทำให้ข้อมูลแม่นยำมากที่สุด เพื่อนำไปสู่วิธีในการบริหารจัดการที่ถูกต้องต่อไป ข้อมูลที่สำคัญอีกตัวคือ ข้อมูลของน้ำเสีย ซึ่งหลายๆชาติ นำวิธีนี้ไปรับมือกับโควิด ได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ เช่น ญี่ปุ่น อังฤกษ ออสเตรเลีย เยอรมันนี อิตาลี ฟินแลนด์ สิ่งปฏิกูลทุกอย่างที่ออกจากร่างกายของผู้ป่วยจะลงไปในน้ำเสีย หากตรวจพบเชื้อในพื้นที่นั้น ๆ ก็จะสามารถคำนวณหรือระบุได้ว่า พื้นที่ตรงไหนเป็นพื้นที่โรคระบาดใหม่ ทำนายไว้ล่วงหน้า ก็สามารถป้องกันได้
 
ปัจจัยที่ 3 การลงทุนตรวจหาเชื้อและตรวจหาการกลายพันธุ์อย่างเข้มงวด ทำให้พบผู้ป่วยจำนวนมาก จึงสามารถแยกผู้ป่วยออกมาได้ทันเวลา ซึ่งอินเดียใช้หลักการ ตรวจ-ตาม-แยก เฝ้าตรวจจับ genome (หมายถึง ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ โดยอาจจะอยู่ในรูปของ DNA หรือ RNA รวมทั้งส่วนที่เป็นยีน และส่วนที่ไม่มีการถอดรหัส) เพื่อสังเกตการกลายพันธุ์ของไวรัส ซึ่งก่อนหน้านี้ทำได้ช้า แต่พอรู้วิธีแล้วได้คำปรึกษา จึงเฝ้าสังเกตการณ์และตรวจกันอย่างเข้มข้น ก็พบว่า สามารถหาลำดับสายพันธุ์ DNA ได้ช้าในตอนแรก ทำให้สายพันธุ์เดลต้าระบาดไปมาก เมื่อได้ข้อสรุปเร็วและแม่นยำ จึงทำให้ทีมงานทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง
 

 
ปัจจัยที่ 4 การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดระโยชน์ ในการเฝ้าระวังโรค โดยการร่วมมือกับอังฤกษ เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่การตวรจหาผู้ติดเชื้อ การจับอาการของโรค รวมถึงการประเมินอาการด้วยตนเองแบบง่ายๆคือ อยู่ที่บ้านก็สามารถที่จะเปิด Application ในสมาร์ทโฟนในการทำดำเนินการเหล่านี้ด้วยตนเอง และยังพัฒนาเทคโนโลยีให้เข้าถึงประชาชนได้ง่ายที่มีราคาถูก เพราะควบคุมการติดเชื้อได้อย่างแม่นยำ และเป็นวงกว้าง ซึ่งคนอินเดียมีความสามารถและเก่งเรื่องไอทีและเทคโนโลยี
 
กระบอกฉีดยาวัคซีนแบบอัติโนมัติ : ขอบคุณภาพจากเว็บข่าวกรุงเทพธุรกิจ
 
ปัจจัยที่ 5  วางแผนการฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ อินเดียฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว 418 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 1,300 ล้านคน การฉีดวัคซีนได้รวดเร็ว เกิดจากหลายปัจจัย เช่น โดยระบบการขนส่งตู้แช่เย็นวัคซีนต้องทำให้ดีมีประสิทธิภาพ และกระจายได้เร็ว กระบอกฉีดยาแล้วต้องทิ้ง  และเป็นกระบอกฉีดยาที่เป็นแบบอัตโนมัติทำให้ฉีดเร็วเพิ่มมากขึ้น สามารถระบบติดตามวัคซีนได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ โดยมีการเปิดช่องทางพิเศษให้สถาบันเซรุ่มวิทยาและบริษัทที่ผลิตวัคซีนมาช่วยบริหารจัดการ ทำให้มุ่งเป้าในการฉีดวัคซีนได้ตามที่คาดการณ์ ซึ่งอินเดียมีโรงงานผลิตวัคซีนได้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถผลิตวัคซีนได้จำนวนมาก  เช่น วัคซีนโควิชิลด์ ของบริษัทแอสตร้าเซเนก้า วัคซีนโควาซิน ของบริษัทพารัตไบโอเทค วัคซีนสปุตนิกวี จากรัสเซียซึ่งมีโรงงานผลิตในอินเดีย ทำให้ประเทศอินเดียผลิตยาได้สะดวกและมีจำนวนมาก เป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก
 
 
ปัจจัยที่ 6 พร้อมให้บริการทางการแพทย์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเต็มที่ด้านสาธารณสุข แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมแล้วจะค่อนข้างดีขึ้น คือ ผู้ติดเชื้อรายวันลดน้อยลง แต่อินเดียก็ยังคงเตรียมความพร้อมเต็มที่ ไม่มีการประมาทในเรื่องต่างๆ ทุกเรื่อง เช่น เรื่องของการเตรียมพร้อมของถังออกซิเจน การจัดเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ เภสัชกรยาต่าง ๆ จัดไว้ให้มีพร้อมตลอดเวลา เพื่อเตรียมการรับมือการกลับมาใหม่ของไวรัส Covide-19 สายพันธุ์ใหม่ที่อาจกลายพันธุ์ ดังนั้นรัฐบาลจึงเร่งให้ความรู้ประชาชนในแนวทางการดูแลตนเองที่บ้าน โดยร่วมมือกับสถาบันทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้สำหรับการรักษาโควิดที่มีคุณภาพ
 
ปัจจัยที่ 7 การสื่อสารกับประชาชนให้ชัดเจนและต่อเนื่อง แม้จะมีการติดเชื้อลดลง ก็ต้องระวังป้องกันตลอดเวลาแม้ว่าจะเบื่อกัน ก็ต้องพูดอย่างต่อเนื่อง ให้ทราบว่า โรคไม่ได้หายไปไหน ยังคงอยู่กับเราในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังตนเองในทุกพื้นที่ ต้องป้องกันใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ความรู้เบื้องต้นในการดูแลตนเองขณะอยู่บ้าน ทำด้วยใจสบายๆแบบเคร่งครัด การผ่านระบาดรอบใหญ่ช่วยให้ประชาชนมีประสบการณ์มากขึ้น และต้องเตรียมความพร้อมตลอดเวลา
 
จากข้อมูลทำให้ทราบว่า การมีภูมิคุ้มกันต้านโควิดต้องมาจากการฉีดวัคซีน การสุ่มตรวจประชากร 30,000 คนจากทั้งประเทศ พบว่า 2ใน3 ของประชากรทั้งประเทศมีภูมิคุ้มแล้ว ซึ่งตามข้อมูลนั้น ประชากรฉีดวัคซีนครบ 2 โดส ไปแค่ 7 % แต่ประชากร  67 % มีภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้นเยอะ และกลายเป็นภูมิคุ้มกันหมู่ (ภาษาอังฤกษ เรียกว่า Hard Immunity) เพราะมีผู้ป่วยติดเชื้อและรักษาหายไปเอง คือประชากรติดเชื้อไปแล้วกว่าครึ่งประเทศจนทำให้สูญเสียชีวิตเยอะมากๆ จึงมีเกิดภาวการณ์ "ภูมิคุ้มกันหมู่" ดังนั้น การเกิดภูมิคุ้มกันต้านโควิด นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว การเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ เรียกว่า เป็นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ที่เสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิต ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนต้องการ 

ย้อนกลับมาประเทศไทย สถิติตัวเลขการติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้น การเสียชีวิตเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าการบริหารจัดการฉีดวัคซีนล้มเหลว ควรปรับเปลี่ยนแผนการอย่างรีบเร่งเพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างจริงจัง อย่ารอให้เกิดภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ในภาววิกฤตนี้ ประชาชนก็ควรร่วมมือกัน ช่วยเหลือซึ่งกัน และช่วยดูแลตนเองอยางเข้มงวด

สิ่งที่คนไทยต้องการเวลานี้ คือ การที่ได้รับการฉีดวัคซีนได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ เพื่อการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ซึ่งไม่ใช่ภูมิคุ้มกันที่เกิดเองตามธรรมชาติจากการติดเชื้อโควิดแล้วรักษาหายเอง ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน สำหรับคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ก็อย่าประมาท  ควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง และทำตามแนวทางพระพุทธศาสนา คือ รักษาใจให้สะอาด ทำใจให้สบาย อย่ากังวล อย่าเครียด อย่าระแวง ควรระวัง และทำบุญทำความดีทุกชนิด คือ ทำทาน รักษาศีล ทำภาวนา สวดมนต์ ฟังธรรม เป็นยันต์ศักดิ์ที่ป้องกันภัยให้ตนเองได้อย่างดี ไม่ใช่เฉพาะป้องกันภัยได้เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังป้องกันไปถึงโลกหน้าภพหน้าด้วย


อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2564

วันพระ : ต้องละนิวรณ์ เข้าวัด ทำทาน รักษาศีล ทำภาวนา ออนไลน์ผ่าน Zoom กันเถอะ

 

วันพระ ชาวโลกควรทำอะไรกันบ้าง

วันนี้วันพระ หมุนเวียนมาอีกครั้ง ในเดือนหนึ่งก็จะมีวันพระ 4 ครั้ง โดยมีวันพระสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากเป็นวันพระขึ้น 15 ค่ำ หรือแรม 14 หรือ 15 ค่ำ เรียกว่า วันพระใหญ่ ในด้านพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์ก็ลงโบสถ์สวดปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน ส่วนพุทธศาสนิกชน ทุกวันพระ ก็จะเข้าวัด ทำทาน รักษาศีล ทำภาวนา เป็นประเพณีที่ทำสืบกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2564

รับประทานอาหารอย่างไรใหัปลอดภัยจากโควิด-19

ปัญหาและความสำคัญของอาหาร ในช่วงโควิด 19 ระบาด

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตในขั้นพื้นฐาน และอาหารที่ดีมีคณภาพก็ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง ยังยืนยาวนาน มีชีวิตเป็นสุข ซึ่งเป็นสิ่งมุ่งหวังในชีวิตทุกคน ดังพุทธภาษิตที่ว่า "อโรคยาปรมา ลาภา" ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง สุขภาพที่ดีจึงเป็นพื้นฐานแห่งชีวิต ในสังคีตสูตร บันทึกไว้ว่า "สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ด้วยสังขาร"  การบริโภคอาหารเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน การบริโภคอาหารที่ถูกต้องก็จะทำให้สุขภาพแข็งแรง อาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตที่ทำให้มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าบนโลกใบนี้ ส่งผลให้วิถีชีวิตทุกคนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีในทุกๆด้าน

ในสถานการณ์ปัจจุบัน คนทั่วโลกประสบปัญหาโรคภัยพิบัติกับโควิด-19 ที่ระบาดในช่วงเวลานี้ คนทั่วโลกล้มตายลงเป็นจำนวนมาก การล็อคดาวว์พื้นทีต่าง ๆ ที่ประสบภัยโควิด19 เป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยระงับเชื้อโควิดที่มีอยู่ในมนุษย์เคลื่อนที่พาเชื้อโรคไปแพร่กระจาย  ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้มากเมื่อเรารับประทานอาหารได้ถูกสุขอนามัย เพื่อให้ร่างกายได้ต่อสู้กับโรคระบาดโควิด19 ได้อย่างสบายๆ เรามาฟังคุณหมอแต่ละท่านให้ความรู้เรื่องอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในช่วงระบาดของโควิด19 มีหลายคนเมื่อไปตรวจภูมิคุ้มกันแล้ว ภูมิคุ้มกันเพิ่มไม่เท่ากัน เป็นปัญหาสุขภาพของแต่ละคน ที่มีคุณภาพของสุขภาพไม่เท่ากัน เราควรแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

การติดเชื้อรายใหม่ทุกวัน
กราฟแสดงการแพร่ระบาดในปัจจุบัน และยืนยันการติดเชื้อรายใหม่ จะเห็นว่าเส้นกราฟสูงชันมาก

รับประทานอาหารให้ปลอดภัยจากโควิด19 อย่างไร

นายแพทย์ ธนีย์ ธนียวัน (Tany Thaniyavarn, MD) ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด วิกฤตบำบัด และการปลูกถ่ายปอด (Pulmonary and Critical Care Medicine/ Lung Transplant) เป็นอาจารย์แพทย์ในสหรัฐอเมริกา ได้อธิบายเรื่องการรับประทานอาหารในช่วงโควิด19 ระบาด ควรทำอย่างไร ไม่ให้ติดเชื้อโรค โดยอธิบายผ่านช่องยูทูป doctor Tony ไว้ว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดเชื้อโควิด19 จากการรับประทานอาหาร และคุณหมอได้แนะนำประสบการณ์ตรงในขณะช่วงที่ยังไม่มีวัคซีน ปฏิบัติตนในการป้องกันเรื่องการรับประทานอาหาร ควรทำอย่างไร

1. ควรเลือกแหล่งประกอบอาหารที่บรรจุภาชนะเรียบร้อยแล้ว และอาหารปรุงสุกใหม่

2. เมื่อรับมาแล้ว ก็ให้ฉีดยาพ่นฆ่าเชื้อก่อน ในส่วนของภาชนะด้านนอก และถุงที่ใส่อาหารที่ถูกสัมผัส และเช็ดให้ทั่ว ๆ เพราะการฉีดด้วยเสปรย์ฆ่าเชื้ออาจจะไม่ทั่วถึงในพื้นที่นั้น ให้เช็ดทั้งหมดของพื้นที่

3. ช่วงเวลาที่รับประทานอาหาร "อย่ารับประทานอาหารร่วมกันโดยเด็ดขาด"  เมื่อเรารับประทานอาหารแล้ว อย่าแบ่งอาหารให้แก่กันเด็ดขาด  หากจะแบ่งก็ควรแบ่งก่อนรับประทานอาหาร มีภาชนะส่วนตัว แบ่งแยกการใช้งานให้ชัดเจน และไม่ควรพูดคุยกันในขณะรับประทานอาหาร เพราะเชื้อและน้ำลายจะฟุ้งกระจายออกจากปากของเรา

4. เวลานั่งรับประทานอาหาร ควรนั่งคนละมุม อย่านั่งรับประทานอาหารใกล้กัน เพราะหากจะติดก็ติดจากคนใกล้ชิดนั่งรับประทานอาหารด้วยกัน 

5. สถานที่ก็ควรเป็นที่มีพื้นที่ระยะห่างกันมากกว่า 2 เมตร หากเป็นสถานที่ปิด ก็ควรเป็นห้องนั่งเดี่ยว และหากเป็นสถานที่รวม ควรเป็นสถานที่โล่งๆ มีลมพัดผ่าน โอกาสติดเชื้อจะน้อยมากๆ เชื้อจะเจือจางและหายไปหมดแล้ว

จากข้อมูลที่กล่าวไว้นั้น สรุปได้ว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายการการติดเชื้อจากอาหาร รับประทานอาหารได้ปกติ ภาชนะควรทำความสะอาดด้วยการฆ่าเชื้อก่อน และเช็ดให้เรียบร้อย หากต้องการแบ่งอาหาร ควรแบ่งก่อนรับประทานเป็นส่วนๆ แยกกันทานโดยเว้นระยะห่างคนละมุม เลือกรับประทานอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ก็เป็นวิธีสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้ร่างกายที่ดีอย่างหนึ่งที่ทำให้ปลอดภัยจากเชื้อโควิด 19

อาหาร : การสร้างภูมิคุ้มกันธรรรมชาติให้ร่างกาย

นายแพทย์ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต แพทย์ด้านการบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ได้ให้คำแนะนำ เรื่องการทำให้ร่างกายปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด19 คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ร่างกายสามารถสร้างภูมิกันได้หลายวิธี การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกาย นั้นคือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้คุณค่าวิตามิน และสารอาหารครบถ้วน และควรออกกำลัง พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียดกับเรื่องโควิด หรือ เรื่องอื่น ๆ 

เมื่อร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง หมายถึงเซลในร่างกายแข็งแรง ร่างกายไม่มีโลหะหนัก ร่างกายไม่มีสารพิษ จะทำให้เพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เยอะ เมื่อเราได้รับการฉีดวัคซีน 

ดังนั้น การสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้แข็งแรง คือ การฉีดวัคซีน จะได้มีภูมิที่ดี แต่การสร้างภูมิคุ้มกันแต่ละคนจากการฉีดวัคซีนจะได้ไม่เท่ากัน เราจึงต้องทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่า และมีสารอาหารครบ 5 หมู่ มีวิตามิน A,B,C ,D และธาตุสังกะสี รับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหารทำให้มีจุลินทรีย์ในสำไส้  และควรออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายจะได้ไม่อักเสบ หรือ มีสารพิษตกค้างในร่างกาย อย่าเครียด ซึ่งเราสามารถแก้ไขโดยการทำสมาธิใจจะได้สบายๆ และมีความสุข เซลในร่างกายก็จะแข็งแรงด้วย จะทำให้เมื่อฉีดวัคซีน ภูมิคุ้มกันก็จะเพิ่มขึ้นเยอะ

ดร.กมล ไชยสิทธิ์ ผู้ชำนาญการด้าน โภชนาการ และเภสัชวิทยา ได้กล่าวไว้ว่า การสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายในช่วงโควิด ก็คือ การรับประทานอาหารที่ดี และได้สัดส่วนอาหารที่ถูกต้อง ชนิดอาหารก็ถูกต้อง แหล่งคุณภาพก็ต้องดี ได้แก่ 

โปรตีนจากเนื้อสัตวที่มีคุณภาพดี  โดย น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ต่อ เนื้อสัตว์ 1 กรัม เป็นต้น

ไขมัน เลือกไขมันดี เช่นมะกอก และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และของทอด

ควรรับประทานผักหลากสี และผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจัด เนื่องจาก น้ำตาลที่มีปริมาณจำนวนสูงจะกดการทำงานภูมิคุ้มกัน WHO เตือนให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชาต่อวัน

ควรรับประทานวิตามินที่จำเป็นในการเพิ่มภูมิคุ้มกัน ได้แก่ 

วิตามิน A ซึ่งหาได้จากปลาทะเล, เบต้าเคโรทีม ได้จากผักสีส้ม และสีเหลือง

วิตามิน B6 และ Folic Acid  ได้จาก ผักสีเขียว

วิตามิน C ได้จาก ฝรั่ง ลิ้นจี่จักรพรรดิ และพริกหวานสีเขียวแดง

วิตามิน D ได้จาก ปลาทะเล เช่น ปลาซามอล

และธาตุสังกะสี มีอยู่ในเมล็ดฟักทอง

ส่วนวิตามินที่เป็นยาเสิรมสำเร็จรูป ควรปรึกษาแพทย์ เมื่อต้องการรับประทาน เพราะวิตามินชนิดเม็ดบางชนิดจะเป็นอุปสรรคกับยาที่เรารับประทานเข้าไปด้วย

สมุนไพรในการต้านไวรัส : จากผลงานวิจัย บอกไว้ ว่า กระชายมีฤทธิ์ในการต้านไวรัส แต่ต้องสกัดเป็นสารออกมาก่อนเรียกว่า สารพาลูลาตินเอ ดังนั้นกระชายที่นำมาต้นดื่ม คั้นน้ำอื่ม ก็ไม่ได้ช่วยในการต้านไวรัส เพราะยังไม่ได้สกัดเป็นสาร

ขิง : ขิงแห้ง มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสน้อยกว่า ขิงสด ดังนั้นหากต้องการดื่มน้ำขิง ก็ใช้ขิงสดฝานและนำไปต้มในน้ำร้อน

ธัญพืชและผลไม้ ได้แก่ ถั่วดำ แอปเปิ้ล บลูเบอรี่ สตอเบอรี่ เป็นต้น

เมื่อเราทราบแล้วว่า อาหารจำเป็นต้องร่างกาย ที่สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันต้านไวรัสได้ ก็ต้องรู้จักรับประทานอาหารที่มีแหล่งคุณภาพที่ดี ไม่เห็นแก่ปากท้อง ที่อยากรับประทานตามใจปากแต่ไม่ได้คุณค่าทางอาหาร 

Lock down Stay at home : You are what you eat

นายเพทย์ วินัย โบเวจา เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอดและทางเดินหายใจ ก็ได้ให้คำแนะนำเรื่องอาหารที่ควรรับประทาน และที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อจะได้ทราบว่าควรเอาใจใส่ต่อสุขภาพตนเองเป็นพิเศษอย่างไร ในยุคที่อยู่บ้านกันมากขึ้น ไม่ควรรับประทานอาหารที่อาจทำให้อาการแย่ลง เช่นอาหารทอด อาหารที่ย่อยยาก อาหารที่ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคโควิด และอาหารที่ไม่เพิ่มโรคอื่นๆในร่างกายด้วย เช่นอาหารค้างคืน อาหารที่ผลิตจากแหล่งไม่ถูกสุขอนามัย ดังนั้นเราต้องระวังตัวเองด้วย ควรรู้จักดูแลตนเองเยอะๆ ในช่วงระบาดของโควิด19 แม้ไม่ป่วย หรือป่วยระดับไหน ก็ต้องรู้จักดูแลตนเอง เพราะเมื่อพักอยู่ที่บ้าน ไม่มีหมอมาช่วยดูแล ให้คำแนะนำ ก็ต้องดูแลตนเองให้ดีอย่างไร ทั้งที่พักอยู่บ้าน โรงพยาบาลสนาม หรือ โรงพยาบาล แต่ในปัจจุบันเป็นช่วงที่โควิด 19 ระบาดอย่างหนัก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะพักอยู่ที่บ้าน 

ดังนั้นในสภาวะที่ล็อคดาวน์อยู่กับบ้าน ควรดูแลตนเองกันดีๆ ระมัดระวังในการเลือกรับประทานอาหารจากแหล่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อสุขภาพตนเองให้เยอะๆ  แล้วเราจะผ่านวิกฤติโรคระบาดโควิด19ได้อย่างสบาย ๆ

พอจะกล่าวได้ว่า การสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเพิ่มและแข็งแรงนั้นอาหารสำคัญต่อร่างกาย โดยควรรับประทานอาหารที่ดีและมีคุณค่า ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว อย่าเครียด ก็จะทำให้เซลร่างกายแข็งแรง เวลาฉีควัคซีนภูมิก็จะเพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยยะ จากนั้นก็ต้องมีหลักปฏิบัติพื้นฐานในมาตรฐานป้องกันโควิด19 คือ การรักษาความทำสะอาด การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ การฉีดฆ่าเชื้อ การเว้นระยะห่าง การสร้างแมส การวัดอูณหภูมิ ทำอย่างนี้แล้ว เราก็จะปลอดภัยจากโควิด 19 มีคุณภาพของความสุขในชีวิต

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564

วันพระ : ร่วมสวดมนต์ ทำสมาธิ ทำบุญออนไลน์ผ่าน Zoom

 วันพระ...ให้นั่งธรรมะกันให้ดี ให้ใจใสๆ


••• วันพระขึ้น 15 ค่ำ ยังเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นวันที่พระนิพพานตลอดแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาลทั้งหมดเลย ท่านจะส่งผังสำเร็จ ส่งบุญละเอียด มาให้กับผู้ที่ปฏิบัติธรรม ให้ปฏิบัติธรรมะได้สะดวก เข้าถึงธรรมได้ง่าย รวดเร็ว ส่วนวันอื่นๆ พญามารยังกันได้อยู่ แต่วันนี้จะกันได้น้อยกว่าวันอื่นๆ 


••• ดังนั้น วันพระใหญ่ ขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวง ราตรีนี้งดงาม อย่าให้มันผ่านไป เมื่อบนท้องฟ้าสว่างด้วยจันทร์วันเพ็ญ ในท้องเราก็ต้องสว่างด้วยดวงธรรมภายใน ให้นั่งธรรมะกันให้ดี ให้ใจใสๆ จะได้สว่างไสวทั้งภายในและภายนอกนะ


ทบทวนโอวาทคุณครูไม่ใหญ่

   วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2550

ล็อคพื้นที่ แต่ไม่ล็อคใจ 

ขอเชิญฟังธรรมในวันนพระ หรือ ทุกวันที่ท่านสะดวกผ่าน Zoom


 

ขอเชิญร่วมสวดมนต์ ทำบุญ ปฏิบัติธรรม ผ่าน แอปพิเคชั่น Zoom 


ONLINE พิธีถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน และปฏิบัติธรรมภาคบ่าย

 


ปฏิบัติธรรมออนไลน์ผ่านZoom 


และหรือ ตามรายการเวลาแต่ละวัน ลิงก์นี้ 

https://www.zoom072.net/list/table

ขอบคุณแหล่งข้อมูล และ รูปภาพ 

  • เว็บห้องZoom
  • โอวาทคุณครูไม่ใหญ่ในวันพระผ่านห้องสนทนาไลน์