ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564

จริต 6 : กับการปฏิบัติธรรม ตอน การปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมแก่จริต

พระพุทธศาสนาแบ่งประเภทของจริต ได้ 6 อย่าง

พระบรมศาสดาทรงจำแนกจริต คือ กิเลสและคุณธรรมที่ท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจของบุคคล ฝ่ายละ 3 รวมเป็น 6 ประการ พอจะขยายคำว่า จริต ได้ดังนี้ คือ
1.ราคจริตคือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากราคะเป็นพื้นฐานใจ
2.โทสจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโทสะเป็นพื้นฐานใจ
3.โมหจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโมหะเป็นพื้นฐานใจ
4.วิตกจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากวิตกเป็นพื้นฐานใจ
5.สัทธาจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากศรัทธาเป็นพื้นฐานใจ
6.พุทธิจริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากปัญญาเป็นพื้นฐานใจ
จริต 1-3 เป็นอกุศลเจตสิต 
จริต 4-6 เป็นอัญญสมานาเจตสิตใกล้ไปทางฝ่ายกุศล 
คนที่มีจริต 1-3 เด่นนำหน้า มักจะค่อนไปทำความชั่ว ส่วนคนที่มีจริต 4-6 ชอบทำความดี
 
มนุษย์แต่ละคน มีจริตไม่เหมือนกัน และแต่ละคนมีจริตหลายอย่างพร้อมกัน เพียงแต่มีจริตหนึ่งที่เป็นตัวนำเด่นกว่าจริตตัวอื่น เหตุที่คนเรามีจริตแตกต่างกันก็เพราะเกิดจาก "กรรมในอดีต" และสัดส่วนองค์ประกอบธาตุทั้ง 4 ภายในร่างกายแต่ละคน เรามาลองศึกษากันว่า ลักษณะใดที่เรียกว่า จริตทั้ง 6 
  


วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564

จริต 6 : กับการปฏิบัติธรรมตามจริต ตอน พระพุทธนิรมิต

จริต คือ อะไร 

เคยทราบไหมว่า ตัวเราเป็นคนจริตแบบไหน 

และควรปฏิบัติธรรมตามจิตแบบนั้นอย่างไร

พระพุทธศาสนาแบ่งจริตหรือพื้นฐานอุปนิสัยของมนุษย์ออกเป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ และได้บอกวิธีการปฏิบัติธรรมให้เหมาะสมกับจริตต่าง ๆไว้ ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฏก กล่าวไว้ มีเรื่องราวในพุทธประวัติหลายเหตุการณ์ที่แสดงเรื่องของจริต พระพุทธองค์ทรงพิจารณาจำแนกบุคคล และเลือกกิจกรรมในการพัฒนาปัญญาให้เหมาะสมแก่คนนั้น ๆ ทำให้เกิดผลพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว บางท่านสำเร็จพระอรหันต์ตั้งแต่ยังเป็นฆราวาสก็มีเยอะ แสดงให้เห็นถึงการมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการเลือกวิธีพัฒนาปัญญาเมื่อทราบว่าบุคคลนั้นมีจริตอย่างไร

ภาพการปฏิบัติธรรมของคณะภิกษุสงฆ์ ณ ลานมหาธรรมกายเจดีย์

 


 

พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏฯ ในอรรถกถามหาสมัยสูตร ได้กล่าวถึงเหตุการณ์จริตแต่ละจริต ที่พระพุทธเจ้าทรงเมตตาเทศน์ให้เทวดาในแต่ละจริตฟัง พอจะเล่าให้ฟังคราว ๆ ดังนี้

เรื่องมีว่า ชาวเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองโกลิยะ ทะเลาะกันเรื่อง "น้ำ" คือการใช้น้ำในแม่น้ำโรหิณี จนเป็นเหตุให้พระพุทธองค์เดินทางไปห้าม และตรัสเรื่องโทษแห่งทะเลาะกันทำให้มีการผูกเวรตลอดกัป แล้วตรัสเล่าชาดก 5 เรื่อง[เรื่องต้นสะคร้อ เรื่องแผ่นดินถล่ม เรืองนางนกมูลไถ เรื่องรุกขธัมมชาดก เรื่องนกคุ่ม เสร็จแล้วจึงตรัสอัตตทัณฑสูตร ตามลำดับๆ] ให้หมู่ชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำฟัง ทำให้ยุติการทะเลาะ และอยู่กันอย่างสงบ และกษัตริย์ชาวสองพระนครก็มีการถวายพระกุมารฝั่งละ 250 องค์เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ 500 รูป พระองค์ทรงให้พระกุมารเหล่านั้นผนวชแล้ว ก็เสด็จไปป่าใหญ่

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2564

คำอธิษฐาน : : อานิสงส์การแผ่เมตตา

การจุดประทีปโคมไฟ 2 ล้านดวง ทั่วโลก 

วันมาฆบูชา ณ มหาธรรมกายเจดีย์  หลวงพ่อทัตตชีโว คณะสงฆ์และสาธุชนทั่วโลก รวมใจกันจุดโคมประทีป ผ่านระบบออนไลน์ น้อมถวายเป็นพุทธบูชา ในวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมานั้น กิจกรรมงานบุญในวันนั้น มีทั้งทำทาน รักษาศีล ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ โดยนำสาธุชนปฏิบัติธรรม ทำใจให้สบาย เพื่อง่ายต่อการรองรับบุญที่เกิดขึ้น เมื่อกิจกรรมงานบุญเสร็จแล้ว ก็ได้นำสาธุชนที่เข้ามาร่วมชมผ่านโปรแกรม Zoom 2 ล้านZoom กล่าวนำคำอธิษฐานจิต และแผ่เมตตาไปพร้อมกันทั่วโลก ส่งความรักความปรารถนาดี แก่ประชาชนทั่วทุกมุมโลก ให้มีความสุข รอดพ้น และปลอดภัยจากโรคโควิด -19 และยังอุทิศบุญให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายไปพร้อม ๆกัน 

ภาพลานมหาธรรมกายเจดีย์ช่วงค่ำ : จุดโคมประทีป

ภาพการจุดโคมประทีปจากศูนย์ต่างประเทศ