ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เหตุแห่งพระพุทธศาสนารุ่งเรือง : ครูสอนศีลธรรมต้นแบบที่ดี

 พระพุทธองค์ทรงวางกติกา กฎระเบียบ ของสงฆ์ เรียกว่า “สิกขาบท” ซึ่งเป็นวินัยสงฆ์ที่มาจากพระธรรมคำสอน นำมาบัญญัติและให้สงฆ์ได้ศึกษา แบ่งเป็นข้อ จึงเรียกว่า สิกขาบท เพื่อเป็นกฎข้อบังคับความประพฤติของสงฆ์ให้อยู่รวมกันอย่างเป็นสุข ซึ่งมีทั้งข้อห้ามและข้ออนุญาต แบ่งได้เป็น 2 อย่าง ได้แก่ พระบัญญัติ คือ ข้อศึกษาหรือข้อสิกขาบท ที่พระพุทธเจ้าทรงให้มีมาในพระปาฏิโมกข์ ส่วน อภิสมาจาร คือ มารยาทของสังคม ที่ไม่มีมาในพระปฏิโมกข์ ส่วนของผู้สละเรือนแล้ว เป็น อนาคาริยวินัย

 


สิกขาบท ก็คือ พระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ให้หมู่สงฆ์ ได้ศึกษาและปฏิบัติให้เกิดความงดงามของหมู่สงฆ์ เมื่อคณะสงฆ์ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติของพระสงฆ์ ที่เข้ามาบวชจากหลายหลากวรรณะทั้งหญิงและชาย เป็นระบบระเบียบแบบแผนในการดำรงชีวิตของผู้ต้องการเข้าถึงจุดหมายในชีวิตของตน

คำว่า “การศึกษา” ในทางด้านพระพุทธศาสนา 

ตรงกับภาษาบาลีว่า “สิกขา” 

สันสกฤตว่า “ศิกษา” 

หมายถึง กระบวนการเรียน การสอน การฝึกอบรม การค้นคว้า สิกขาในพระพุทธศาสนา คือ การฝึกฝน อบรมตน 3 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจ ด้านปัญญา เป็นการฝึกฝนให้มีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามมรรคมีองค์แปด เรียกอีกอย่างว่า ไตรสิกขา 

วินัยสงฆ์ จึงเป็นกฎกติกาในการปกครองสงฆ์ มุ่งเน้นให้พระภิกษุสงฆ์พัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา การดำรงชีวิตประจำวัน จึงมีรูปแบบที่พระพุทธองค์ทรงบัญญํติ และวางกฎระเบียบไว้อย่างเข้มงวด

ภิกษุผู้บวชใหม่ พร้อมที่จะมาฝึกหัดขัดเกลานิสัยและจะต้องเป็นผู้มีความอดทนและหนักแน่น ในการรับการฝึกกับพระองค์ได้ โดยมีธรรมเป็นที่พึ่ง ในการดำรงชีวิตแบบบรรพชิต เป็นภิกษุไม่ห่วงกังวลชีวิตเหมือนคฤหัสถ์ สอนให้มีวัตถุใช้สอยเท่าที่จำเป็น เป็นภิกษุผู้เห็นโทษภัยในชีวิต สอนหลักไตรสิกขาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ดังพุทธพจน์ที่ตรัสแก่ภิกษุว่า

“ผู้หนึ่งผู้ใดบัดนี้ ก็ดี เวลาที่ตถาคตล่วงแล้วก็ดี เป็นผู้มีตนเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ภิกษุเหล่าใดใฝ่ศึกษา เธอเหล่านั้นจักเป็นเลิศ”

(สํ.ม. (ไทย) 19/ 379/ 234)

 

และ “นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือนร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพรํ่าสอนของตถาคตสำหรับเธอทั้งหลาย” (ม.อุ. (ไทย) 14/ 463/ 510)

 


การได้รับความรู้จากการเทศน์สอนและการใฝ่การศึกษา เพื่อให้พัฒนาคุณธรรมในตนด้านต่างๆ ของพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นพระอริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์นั้น ยังเป็นความรู้และแหล่งข้อมูลที่สามารถนำไปเทศน์สอนอบรมประชาชนได้อย่างดี 

ผู้เข้ามาบวชในสังคมสงฆ์ จึงต้องมีผู้ดูแล อบรม ควบคุมความประพฤติ ชี้แนะ แนะนำ สั่งสอนแก่ผู้บวชใหม่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดำเนินไปตามปฏิปทาสายกลาง 

ดังนั้น คุณสมบัติในตนของเหล่าพระสงฆ์ที่สามารถเป็นครูผู้สอนหลักธรรมให้แก่ประชาชน จึงควรมีลักษณะของกัลยาณมิตร เพราะเป็นสาเหตุทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองประการหนึ่งด้วย ได้แก่

1. ปิโย เป็นที่รักใคร่ น่าเคารพศรัทธา ชวนให้เข้าใกล้ เข้าใกล้แล้วสบายใจ

2. ครุ เป็นบุคคลที่มีความประพฤติดี งามทั้งกาย วาจา ใจ อบอุ่นเมื่อเข้าใกล้ เป็นลักษณะบุคคลที่น่าเคารพ 

3. ภาวนีโย เป็นผู้ทรงความรู้ ภูมิธรรม และพหูสูต มีปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นผู้รู้แจ้งหนทางกำจัดกิเลส

4. วตฺตา เป็นผู้ฉลาดพูดในการแนะนำสั่งสอน ฉลาดในการให้กำลังใจ เตือนสติ ชี้แนะ ปรับปรุงในประพฤติตนให้ดีขึ้น ประคับประครองให้ทำความดีได้ตลอดรอดฝั่ง

5. วจนกฺขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำซักถามทุกประเภท มีความสงบ เยือกเย็น ไม่โกรธ รับฟังคำถาม และให้ความกระจ่างในคำถามทุกประเภท

6. คมฺภีรํ กถํ กตฺตา คือ การพูดด้วยถ้อยคำลึกซึ้ง สามารถอธิบายวิธีปฏิบัติมรรคมีองค์แปดในระดับโลกียะและโลกุตตร

7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย เป็นผู้ชักชวนชาวโลกให้ดำเนินชีวิตด้วยการปฏิบัติมรรคมีองค์แปดด้วยความไม่ประมาท


ฉะนั้น พระภิกษุสงฆ์จึงเป็นครูสอนศีลธรรม เป็นกัลยาณมิตร เป็นต้นแบบที่ดีที่ชาวโลกต้องการ 

ส่วนว่า.....

พระพุทธเจ้าทรงสอน และบัญญัติข้อปฏิบัติเป็นกิจวัตร "พระภิกษุสงฆ์มีข้อวัตรปฏิบัติอย่างไร ในชีวิตประจำวัน" โปรดติดตามตอนต่อไป

 

วันนี้วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 "วันมหาปูชนียาจารย์"

ขอเชิญร่วมฉลองชัยสวดมนต์ธัมมจักรออนไลน์ผ่าน Zoom

กำหนดการงานบุญวันมหาปูชนียาจารย์ (ออนไลน์) ผ่านZOOM
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
*********************
กำหนดการ
16.00 น. พิธีอัญเชิญมหารัตนอัฐิธาตุคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาทองสุข สำแดงปั้น
18.00 น. พิธีประดิษฐานมหารัตนอัฐิธาตุคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาทองสุข สำแดงปั้น ภายในมหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
19.00 น. เสร็จพิธีประดิษฐานฯ
20.00 น. พิธีจุดประทีปบูชามหาปูชนียาจารย์ และเวียนประทักษิณ รอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ (เฉพาะพระ)
21.00 น. พิธีฉลองชัย ชิตัง เม สวดธรรมจักร ให้ครบ 3,133,333,333 จบ
หมายเหตุ :
1.เวลาฉลองชัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมขึ้นกับยอดสวดที่ส่งเข้ามา
2.งดสาธุชนมาร่วมงาน ขอให้ร่วมพิธีออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM
กองส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักสื่อสารองค์กร
สอบถามรายละเอียด โทร. 02-831-1000
 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ


5 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา