ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

5 ข้อต้นแบบแห่งความดี : ศูนย์กลางการสอนศีลธรรม

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระปัญจวัคคีย์ และหมู่ยสกุลบุตรคฤหบดี บวชเป็นพระสาวก เป็นอริยสงฆ์แล้ว พระองค์ก็ทรงให้บำเพ็ญสมณธรรม ดำรงชีวิตด้วยการถือนิสสัย 4 ปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมคำสอนของพระองค์ต่อไป จนจำนวนพระภิกษุสงฆ์เพิ่มขึ้น ๆ พระพุทธศาสนาก็เจริญเติบโตในชมพูทวีป

ตลอด 45 พรรษา ที่พระพุทธองค์ และพระสาวกทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระองค์ทรงปฏิบัติพุทธกิจ 5 ประการทุกวัน เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่พระสาวก ตลอดช่วง 20 พรรษาแรกนั้น ทรงเป็นบรมครูในการฝึกอบรมชาวพุทธทุกวิธี ทำให้เกิดความเข้าใจหลักธรรมและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามพื้นฐานของชีวิต วัฒนธรรมการศึกษาของชาวพุทธในช่วงนี้จึงเป็นรากฐานในการศึกษาของชาวพุทธในยุค ต่อ ๆมา

ในมโนรถปูรณี อรรถกถาของ อังคุตตรนิกาย ได้อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติพุทธกิจ 5 ประการ 

ดังนี้ คือ

1. ปุเรภัตตกิจ 

คือ พุทธกิจวัตรเวลาเช้า เสด็จบิณฑบาต และฉันภัตตาหาร 

2. ปัจภัตตกิจ 

คือ พุทธกิจวัตรหลังเสวยเช้า ช่วงเวลาสายจรดเวลาเย็นทรงให้โอวาทพระภิกษุในธรรมปฏิบัติของมรรค มีองค์ 8 และแสดงธรรมแก่ประชาชนที่มาเฝ้าฟังธรรมในระดับธรรมมรรค มีองค์แปดตามระดับภูมิธรรมให้แก่รอบ และเข้าใจเพื่อนำไปปฏิบัติ เมื่อแสดงธรรมเสร็จแล้ว แต่ละวันก็จะมีผู้เข้าถึงธรรมเป็นจำนวนมาก

3. ปุริมยามกิจ 

คือ พุทธกิจวัตรในเวลายามคํ่า ทรงประธานอธิบายขยายความธรรมในมรรคมีองค์แปดเพิ่ม และตอบข้อสงสัยหลักธรรม แก่พระภิกษุและประชาชน จนถึงเที่ยงคืน

4. มัชฌิมยามกิจ 

คือ พุทธกิจวัตรในเวลาเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาเทวดา

5. ปัจฉิมยามกิจ 

คือ พุทธกิจวัตรในเวลาสุดท้าย ซึ่งแบ่งเป็นสามส่วน คือ เวลาแรกเป็นการเดินจงกรม ส่วนที่สองการพักผ่อนด้วยสีหไสยาท ส่วนที่สามเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจพิจารณาสัตว์โลกว่า ผู้ใดที่สามารถ และที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรม อันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่


พุทธกิจการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอด 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า และกิจวัตรพระสาวกอริยสงฆ์ สมมุติสงฆ์ ทำให้มหาชนตามเมืองต่าง ๆ เกิดศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ จึงได้สร้างวัดถวายเพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการสอนศีลธรรม

พระองค์ทรงมีการถ่ายทอดวิธีการสอนและเพิ่ม ขยายพระธรรมขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับทรงบัญญัติข้อวัตร ที่เป็นสิกขาบทแก่ภิกษุสงฆ์ให้ชัดเจน ทรงเริ่มสอนตั้งแต่เบื้องต้นเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา ลุ่มลึกไปตามลำดับ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออัธยาศัยของแต่ละบุคคล ช่วง 25 พรรษาสุดท้าย จึงเป็นช่วงยุคที่กำหนด และการปฏิบัติอริยวินัยให้สอดคล้องไปตามการดำรงชีวิตของผู้สละโลกเนื่องจากผู้ที่มาบวช มาจากทุกชั้นวรรณะเพิ่มจำนวนมากขึ้นจึงได้กำหนดข้อควรปฏิบัติในการอยู่รวมกัน จนกระทั่งเมื่อถึงปลายยุคพุทธกาลพระองค์จึงทรงสรุปหลักธรรม และพระวินัยเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เป็นพระศาสดาแทนตัวพระองค์ เรียกว่า "สิกขาบท"

หลักธรรมมีอะไรบ้าง โปรดติดตามตอนต่อไป 

ใน "บทฝึกของพระภิกษุสงฆ์ ที่ฆราวาสทุกเพศวัย สามารถนำบทฝึกไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันให้เป็นสุขตลอดชีวิต และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสงบสุข"

อ่านบทความ ”เหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองพระพุทธศาสนา”

ขอเรียนเชิญชมการถ่ายทอดงานบุญ "วันมหาปูชนียาจารย์"

และร่วมสวดมนต์ธัมมจักร ฉลองชัยให้ครบ 3,133,333,333 จบ

กำหนดการงานบุญวันมหาปูชนียาจารย์ (ออนไลน์) ผ่านZOOM
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
*********************
กำหนดการ
16.00 น. พิธีอัญเชิญมหารัตนอัฐิธาตุคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาทองสุข สำแดงปั้น
18.00 น. พิธีประดิษฐานมหารัตนอัฐิธาตุคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาทองสุข สำแดงปั้น ภายในมหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
19.00 น. เสร็จพิธีประดิษฐานฯ
20.00 น. พิธีจุดประทีปบูชามหาปูชนียาจารย์ และเวียนประทักษิณ รอบพระมหาธรรมกายเจดีย์ (เฉพาะพระ)
21.00 น. พิธีฉลองชัย ชิตัง เม สวดธรรมจักร ให้ครบ 3,133,333,333 จบ
หมายเหตุ :
1.เวลาฉลองชัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมขึ้นกับยอดสวดที่ส่งเข้ามา
2.งดสาธุชนมาร่วมงาน ขอให้ร่วมพิธีออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM
กองส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักสื่อสารองค์กร
สอบถามรายละเอียด โทร. 02-831-1000
 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

7 ความคิดเห็น:

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา