ร่วมด้วยช่วยกันแชร์เป็นธรรมทาน

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ใจอยู่ใน "บุญ" : ตลอดอนันต์นิรันดร์กาล

 พบโลกแห่งความสุขได้ด้วย "บุญ"

ทางมาแห่งบุญที่ทำแล้วได้บุญและได้รับผลแห่งความสุข 

คือ การให้ทาน การรักษาศีล และการทำภาวนา

การทำทานเป็นการปูพื้นฐานความดีของมนุษย์ชาติ

และเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

การทำบุญใส่บาตร
ภาพการทำบุญใส่บาตร : องค์ประกอบการทำทานให้ได้บุญมาก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า 

พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก เพราะเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์

ผู้ให้ทาน ก็ต้องทำตัวเองให้บริสุทธิ์ด้วย จึงจะได้บุญมาก

การทำทานให้ได้บุญมาก ผู้ให้ต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง 

1 วัตถุทานบริสุทธิ์ เป็นทรัพย์ที่ได้มาด้วยการประกอบอาชีพสุจริต ไม่คดโกงใคร

2 เจตนาบริสุทธิ์ คือ การให้ทานบริสุทธิ์ทั้ง 3 ขณะ คือ 

ก่อนให้ทานก็มีศรัทธา ระหว่างให้ทาน ใจก็ต้องมีปีติยินดีในการถวาย หลังให้ทาน ก็ตรึกระลึกถึงอย่างปีติใจ ไม่เสียดาย

3 บุคคลบริสุทธิ์ หมายถึง ผู้ให้ทานมอบแด่ผู้มีศีลบริสุทธิ์

 ช่วงหลังออกพรรษา เดือน 11 ถึง 12 ของทุกปี เป็นช่วงเวลาเทศกาลงานบุญกฐิน ก่อนวันงานบุญในแต่ละวัด ก็จะมีการจัดเตรียมพิธีการงานบุญ และทั้งพระ และคณะญาติโยม ก็ต้องรักษาใจให้สบาย ปลอดจากสิ่งกังวลใด ๆ หลังการทำบุญเสร็จก็ตรึกระลึกถึงบุญ  ช่วงเดือนตุลาคม เป็นเทศกาลเรื่องราวงานวงบุญ คือ การทอดกฐิน ซึ่งเป็นกาลทานครั้งใหญ่  1 ปี มีแค่ ครั้งเดียว ประเพณีนี้มีมาแต่ครั้งสมัยพุทธกาล หลังประเพณีออกพรรษา วัดแต่ละวัดจะมีการรับกฐินได้ จะต้องมีพระภิกษุจำพรรษาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 รูป วัดไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก็จะมีการจัดงานบุญตามระยะเวลาที่พระวินัยกำหนดไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ดังนั้น เมื่อผู้รับคือพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา มีศีลบริสุทธิ์ 

เป็นเนื้อนาบุญให้ผู้ทำทานแล้ว

ผู้ทำทาน[ผู้ทำบุญ] จะได้บุญมาก จึงต้องปฏิบัติตน ดังนี้

  1. ให้ทานด้วยความเคารพ
  2. ให้ทานด้วยมือตนเอง
  3. มีความเลื่อมใสศรัทธาในผู้รับทาน 
  4. ให้แล้วเกิดปีติปราโมทย์ ใจผ่องใส ใจเบิกบาน
  5. ให้ทานเหมาะกับกาลเวลา
  6. เชื่อในกรรมและผลของกรรมที่ทำ
  7. ให้ทานโดยไม่นึกเสียดาย
  8. รู้สึกยินดีในการให้ทานทั้ง 3 เวลา ก่อนให้ ขณะให้ หลังให้ มีความยินดี มีความเบิกบาน และเป็นสุข ไม่นึกเสียดายทรัพย์ที่หลัง
  9. ให้ทานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ

ประเพณีการทอดกฐินของไทย มีหลักฐานปรากฏว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นจารึกอยู่ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 ซึ่งกล่าวถึงกฐินที่พ่อขุนรามคำแหง และเชื้อพระวงศ์ ตลอดถึงราษฎรได้มีโอกาสสร้างมหาทานครั้งใหญ่ด้วยกัน ทำให้ทุก ๆวันประชาชนทั้งเมืองมีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข เพราะมีการทำทาน รักษาศีล ทำภาวนา เป็นประจำ การทอดกฐิน นับเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ 

เดือนสิบสองน้ำนองเต็มตลิ่ง  : เดือนตุลาคม ปี 2563 จากช่วงเวลานี้ มีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นในประเทศไทย และยังเป็นวันเทศกาลประเพณีลอยกระทง ช่วงนี้ฝนตกตลอดเวลา จากพยากรณ์อากาศ ประชาชนทั่วประเทศเริ่มดราม่าในโลกโซเซียล ว่า ฝนตกนานเกิดไป น้ำจะล้นตลิ่งแล้ว ประกอบกับช่วงนี้ ปี 2563 เป็นปีที่มีโรคระบาดโควิด 19 มีระบาดไปทั่วโลกมาตั้งแต่ต้นปี บางประเทศก็ระบาดอีกเป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 นับว่าเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วโลก เราจะดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย และมีความสุขตลอดเวลาได้อย่างไร ปัจจุบันมีสถิติประชาชนที่ตายด้วยโรคโควิดระบาดนี้กว่าล้านคน จากยอดติดเชื้อกว่า41ล้านคน ซึ่งนับวันก็ยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น เกิดความหายนะไปทั่วโลก ทำให้คนทั้งโลกประสบความทุกข์จากภัยในครั้งนี้

ในปโลภสูตร ได้กล่าวไว้ว่า

มนุษย์โลกจะลดน้อยลงไปเพราะว่า

1 เกิดสงครามโลก ฆ่าล้างกันอย่างหนัก

2 เกิดภัยพิบัติ ทั้งโลก เช่น ไฟไหม้ ลมพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น

3 พวกยักษ์ปล่อยอมนุษย์มาทำร้ายประชาชน  เช่น เชื้อโรคต่าง ๆ

ธรรมชาติของมนุษย์ มีกิเลส โลภ โกรธ หลง อยู่ในตัว

ไม่ว่ายุคใดสมัยใด ย่อมมีความขัดแย้ง ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

ช่วงเวลานี้เกิดภัยพิบัติทั่วโลก ทั้งเกิดแผ่นดินไหว ไฟไหม้ ลมพายุ น้ำท่วม

ในปัจจุบันสถานการณ์ประชากรโลกของทุกประเทศมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ สูงขึ้น

องค์การสหประชาชาติ (UN) ประเมินคาดการณ์ว่า ปี 2050 

โลกจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์

และประเทศไทย ในปี 2564[2021] ก็จะมีคนชรา 13 ล้านคน 

เข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ 

การเข้าสู่สังคมที่สูงวัย ย่อมมีผลกระทบต่อคุณภาพของชีวิต

ก่อเกิดปัญหาในหลาย ๆด้าน ด้านอุปโภคบริโภค

ปัญหาด้านสุขภาพทั้งกาย และใจ

มีความเห็นต่าง จากเด็กยุคดิจิตอลมากมาย

หากไม่ระวังในการอยู่ร่วมกัน แนวคิดและการกระทำ

ของกลุ่มคนรุ่นเก่า และคนรุ่นใหม่ จะก่อให้เกิดปัญหา

ในการอยู่รวมกันในสังคม 

ดั่งเช่น กรณีตัวอย่างการเกิดแฟลชม็อบในปัจจุบันของกลุ่มราษฎร

ประกอบกับ...

ยุค 2020 เป็นยุคที่โควิดระบาดส่วนมากผู้สูงอายุจะเสียชีวิต 

การเจริญเติบโตของเด็กรุ่นต่อๆ มา ยังโตไม่ทันสัดส่วนของประชากร 

ที่สามารถเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศนั้น ๆ

จึงทำให้เป็นโลกที่มีผู้สูงวัยจำนวนมากกว่าจำนวนสัดส่วนประชากรโลก

เด็กยุคติจิตอล เจนเนอเรชั่น X,Y,Z เติบโตมาเทคโนโลยี่ที่ทันสมัย

การศึกษาหาความรู้ ไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน หรือ ครู อาจารย์ หรืออาวุโส

เด็กยุคนี้ สามารถใช้เครื่องมือดิจิตอลศึกษาหาความรู้ ได้ดี

ตอบโจกย์คำถามของเด็กๆ ได้เร็ว

มีสิทธิ์ และเสรีภาพในทุกด้าน ชอบแสดงออก และร้องขอในสิ่งที่ตนต้องการ

เพื่อให้ได้การตอบสนองในอารมณ์ที่รวดเร็วในยุคอารมณ์ดิจิตอลนี้

ความทุกข์ของมนุษย์ ที่ต้องเกิด แก่ เจ็บ และ ตาย หนีไม่พ้น

การดำรงชีวิตในแต่ละวัน จำต้องดูแลทั้งกาย และใจ ให้ดี ๆมีความสุข

จึงจะเกิดประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น 

ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข....

ภาพแสดงสถิติผู้สูงวัยในแต่ละระหว่างช่วงปี

4 สิ่งที่ควรทำทุกวัน 

: สังคมต่าง ๆ ในโลกล้วนมีคำสอนให้ศาสนิกชนของตนประพฤติตน
เป็นคนดี ทั้งที่เป็นคนดีในสังคม และเป็นคนดีตามหลักการแห่งศาสนา
นั้นๆ แต่ว่าวิธีการกระทำความดีของแต่ละศาสนาจะแตกต่างกันไปบ้าง
ตามแต่บทบัญญัติหรือหลักการของศาสนานั้นๆ
แกนร่วมกันอย่างหนึ่งแห่งคำสอนของศาสนาทั้งหลายก็คือ 

"การให้ความสำคัญของจิตใจและการมีศรัทธาเชื่อมั่นในความดีและความ
เสียสละ หรืบำเพ็ญประโยชน์ของบุคคลโดยไม่เห็นแก่ตัว"

คุณครูไม่ใหญ่ ท่านบอกว่า 

ใจมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่า ควรดูแล ให้จิตใจสะอาดบริสุทธ์

แม้มีเรื่องมากระทบ ก็ไม่กระเทือน ต้องประคองใจให้อยู่ในบุญ

เวลาในชีวิตแต่ละวัน มี "อุปสรรค ก็แก้ไข"

วันเวลาผ่านไป มีงานก็ทำไป

มีบุญ ก็ต้องสร้าง

และเวลาแต่ละวันก็ต้องปฏิบัติธรรม

ทุกวัน ก็ทำแค่ 4 ข้อ ชีวิตก็เป็นสุข และมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น

ตลอดอนันต์นิรันดร์กาล

หลวงปู่วัดปากน้ำ : พระผู้ปราบมาร

ในแต่ละวัน โดยเฉพาะวันพระ เทศกาลงานบุญใหญ่ งานผ้าป่า งานกฐิน 

ชาวพุทธทั้งหลายควรสะสมบุญ

เพราะบุญเป็นที่พึ่งของพวกเราทั้งหลาย

และการสะสมบุญนำสุขมาให้ทุกชีวิต

การตรึกระลึกถึงครูบาอาจารย์

เป็นการทำให้ชีวิตมีเกราะป้องกันทางใจ

พระพุทธเจ้า เป็นบรมครูของชาวพุทธทุกคน

หากต้องการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเหมือนคนในยุคพุทธกาล

ก็ต้องอ่านหนังสือพระไตรปิฎก เพราะมีคำสอนของพระพุทธเจ้า

พระภิกษุสงฆ์ เป็นครูของเราเช่นกัน เพราะท่านได้ศึกษาพระธรรมคำสอน

จากพระไตรปิฎก แปลเป็นคำสอนง่าย  ๆ มาให้เรานำไปปฏิบัติในชีวิต

พระภิกษุ ที่ท่านมีศีล สมาธิ และทำภาวนา บริสุทธิ์ ควรค่าแก่การเคารพ

และเราทุกคน ก็สามารถตรึกระลึกถึงท่านด้วยใจที่เคารพ

ดังนั้น ตั้งแต่ตื่นนอน  ทำกิจกรรมระหว่างวัน จนกระทั่งเข้านอน

เราก็สามารถทำใจให้อยู่กับบุญ และตรึกระลึกถึงครูบาอาจารย์

ทำทุกวัน ทำบ่อยๆ ทำเนือง ๆ และทำทุกเวลา ตลอดอนันต์นิรันดร์กาล

ฉะนั้น การจะพบโลกแห่งความสุขได้นั้น ใจของเรา ก็ต้องอยู่กับบุญตลอดเวลา

ดังพุทธสุภาษิต ที่ว่า

ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ

ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย

ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ

ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้.

(พุทธ) ขุ.ธ. 25/30

ที่มาแหล่งข้อมูลและรูปภาพ

5 ความคิดเห็น:

  1. กราบสาธุ สาธุ สาธุครับ

    ตอบลบ
  2. สาธุ ขอกราบอนุโมทนาบุญกับความรู้ทางธรรมอันทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการนำไปฝึกฝนตนเอง สาธุ

    ตอบลบ
  3. อนุโมทนาบุญกับบทความดีๆที่ให้ข้อคิดแบบนี้ครับ

    ตอบลบ

welcome everyone to เล่าเรื่องตามกาลเวลา