ทำไมการบวชจึงมีผลกระทบต่อการทำให้สังคมสงบสุข
และประเทศชาติมีเศรษฐกิจที่ดี
ประเทศไทยในปัจจุบัน การบวชพระ มีจำนวนลดลงอย่างมาก จากข้อมูลที่เผยแพร่ในเว็บไซด์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และการรายงานของ นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ทำให้ทราบว่า จำนวนพระภิกษุ-สามเณรลดลงฮวบทั่วประเทศ จากเดิมที่เคยสำรวจมีจำนวนพระและสามเณร มากกว่า 300,000 รูป ปัจจุบันเหลือเพียง 252,851 รูป แสดงให้เห็นว่า วัดทั่วประเทศประสบปัญหาเรื่องการบวชเรียน มีคนเข้ามาบวชเรียนน้อย
และ ลดลง ทำให้วัดบางวัด ไม่มีพระจำพรรษา วัดไม่มีการทำกิจกรรมงานบุญประเพณีในวันออกพรรษา
หรือ เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา คนก็ไม่ได้ไปวัด หรือจะไปก็เพียงไปทำพิธีตามประเพณีเท่านั้น ประชาชนไม่ศรัทธาพระ พระไม่มีความรู้ในการนำหลักธรรมไปอบรมสั่งสอนประชาชน และในโลกแห่งการสื่อสารไร้พรมแดนนี้ประชาชนอาจจะมีความรู้มากกว่าพระสงฆ์
เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ผ่านมา วัดถูกโจมตี วัดบางวัดถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด พระสงฆ์ถูกเบียดเบียน ข่าวกรรมการมหาเถระบางรูปถูกจับกุม และภาคใต้พระสงฆ์ถูกทำร้ายถึงชีวิต ยังมีการสร้างข่าวปลอมและแชร์ข่าวปลอมในโลกอินเตอร์เน็ตมากมายเกี่ยวกับสถานภาพพระ ไม่เหมาะสม เช่น การบวช พระตุ๊ด พระแต๋ว เณรงาม ทำให้ภาพลักษณ์คณะสงฆ์ไม่เป็นที่ตั้งศรัทธาของประชาชน การจัดกิจกรรมบุญต่าง ๆ ของวัดก็ถูกกล่าวว่าผิด ไม่เหมาะสม พระสงฆ์ถูกโจมตี เช่น กิจกรรมการตักบาตร ส่วนกิจกรรมการบวช ก็เป็นเพียงบวชตามประเพณี บวชหน้าไฟ การออกกฎปฏิรูปในการบวช มีขั้นตอนยุ่งยากในเอกสาร การตรวจสอบประวัติ การเตรียมบวชอย่างน้อย 2 เดือน เกิดความยุ่งยาก และล่าช้า ไม่เกิดประโยชน์ต่อคนบวช เพราะบางคนอาจจะบวชแค่หน้าไฟ บวช 7 วัน ไม่ได้มีการบวชเรียนเพิ่ม "บวชไปแล้วชีวิตพระถูกตรวจสอบ ถูกคุมขัง สังคมไทยนี้ชีวิตพระอยู่ยากมาก" ทำให้เกิดปัญหา “ไม่อยากมาบวช คนมาบวชเรียนลดน้อยลงไปมาก และมีผลกระทบทำให้วัด ไม่มีศาสนทายาทในการบวชเรียน วัดร้างมีมากขึ้น” นี้คือปัญหาหลัก ๆ ส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าวิกฤติ การบวชในยุคปัจจุบันลดน้อยลงมาก เป็นที่น่าวิตกว่า ประเทศไทยเพิ่มจำนวนวัดร้างมากขึ้น หรือบางวัดมีแค่เจ้าอาวาสอายุมาก และสามเณรน้อย ๆ ไม่กี่รูปที่อยู่ประจำวัด
พอจะกล่าวได้ว่า ปัญหาคนมาบวชเรียน ทำไมมีจำนวนคนมาบวชลดลงฮวบๆ มีผลกระทบต่อระบบสังคมของประเทศในทุกด้าน ทั้งความเป็นอยู่รวมกันของประชน ไปจนถึงระดับการปกครองประเทศ ทั้งการทำมาหากิน ชีวิตก็ไม่ปลอดภัย อยู่กันอย่างหวาดกลัว คนไม่มีศีลธรรม ทั้งการบริหารประเทศก็แตกแยกมีปัญหาทุกวัน ท่านนายกก็เหนื่อย ไม่มีความสุข รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศ ลามไปถึงงบประมาณในการใช้จ่ายในครัวเรือน จนทำให้มีหนี้ครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น เอาความจริงมาเล่าสู่กันฟัง ลองตรองๆ และวิเคราะห์ข้อมูล ก็จะค่อย ๆ เห็นเป็นลำดับ ๆ ภาพในใจของทุกคนก็จะชัดเจนว่าสังคมไทยยุคปัจจุบันทำไมจึงไม่มีความสงบสุข ดังนั้นสรุปได้พอสังเขปว่า หากชาวพุทธบริษัทสี่ไม่รวมมือช่วยทำหน้าที่บำรุงพระพุทธศาสนา และส่งเสริมสนับสนุน ทำหน้าที่ชาวพุทธโดยไปชวนคนมาบวชมาก ๆ และรัฐบาลไม่ปรับปรุงการทำงานด้านพระพุทธศาสนาให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมสนับสนุนชีวิตการบวชเรียนเป็นพระภิกษุสงฆ์ให้อยู่อย่างปลอดภัย และดำรงชีวิตอยู่ในหลักพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง หากยังไม่มีรู้จักกลยุทธ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้คู่คุณธรรม ได้บวชเรียนตามพระธรรมวินัย พระพุทธศาสนาอาจจะสูญสิ้นไปจากเมืองไทย เหมือนปี พ.ศ.1700 ที่พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย สังคมไทยก็ไม่มีความสงบสุขอย่างแน่นอน
ภาพบรรยากาศการบวชในโบสถ์ วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ผ่านมา วัดถูกโจมตี วัดบางวัดถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด พระสงฆ์ถูกเบียดเบียน ข่าวกรรมการมหาเถระบางรูปถูกจับกุม และภาคใต้พระสงฆ์ถูกทำร้ายถึงชีวิต ยังมีการสร้างข่าวปลอมและแชร์ข่าวปลอมในโลกอินเตอร์เน็ตมากมายเกี่ยวกับสถานภาพพระ ไม่เหมาะสม เช่น การบวช พระตุ๊ด พระแต๋ว เณรงาม ทำให้ภาพลักษณ์คณะสงฆ์ไม่เป็นที่ตั้งศรัทธาของประชาชน การจัดกิจกรรมบุญต่าง ๆ ของวัดก็ถูกกล่าวว่าผิด ไม่เหมาะสม พระสงฆ์ถูกโจมตี เช่น กิจกรรมการตักบาตร ส่วนกิจกรรมการบวช ก็เป็นเพียงบวชตามประเพณี บวชหน้าไฟ การออกกฎปฏิรูปในการบวช มีขั้นตอนยุ่งยากในเอกสาร การตรวจสอบประวัติ การเตรียมบวชอย่างน้อย 2 เดือน เกิดความยุ่งยาก และล่าช้า ไม่เกิดประโยชน์ต่อคนบวช เพราะบางคนอาจจะบวชแค่หน้าไฟ บวช 7 วัน ไม่ได้มีการบวชเรียนเพิ่ม "บวชไปแล้วชีวิตพระถูกตรวจสอบ ถูกคุมขัง สังคมไทยนี้ชีวิตพระอยู่ยากมาก" ทำให้เกิดปัญหา “ไม่อยากมาบวช คนมาบวชเรียนลดน้อยลงไปมาก และมีผลกระทบทำให้วัด ไม่มีศาสนทายาทในการบวชเรียน วัดร้างมีมากขึ้น” นี้คือปัญหาหลัก ๆ ส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าวิกฤติ การบวชในยุคปัจจุบันลดน้อยลงมาก เป็นที่น่าวิตกว่า ประเทศไทยเพิ่มจำนวนวัดร้างมากขึ้น หรือบางวัดมีแค่เจ้าอาวาสอายุมาก และสามเณรน้อย ๆ ไม่กี่รูปที่อยู่ประจำวัด
ภาพอินโฟกราฟิกแสดงจำนวนพระภิกษุและสามเณร 14 ปีย้อนหลัง เฉพาะที่บวช 1 พรรษาขึ้นไป หลังนาย สิปป์บวร ระบุว่า จำนวนพระภิกษุสามเณรในปี 2562 ลดลงอย่างมาก เหลือเพียง 252,851 รูป จากเดิมที่เคยสำรวจมีกว่า 300,000 รูป
ภาพประกอบวัดร้างในเขตจังหวัดภาคกลาง |
พอจะกล่าวได้ว่า ปัญหาคนมาบวชเรียน ทำไมมีจำนวนคนมาบวชลดลงฮวบๆ มีผลกระทบต่อระบบสังคมของประเทศในทุกด้าน ทั้งความเป็นอยู่รวมกันของประชน ไปจนถึงระดับการปกครองประเทศ ทั้งการทำมาหากิน ชีวิตก็ไม่ปลอดภัย อยู่กันอย่างหวาดกลัว คนไม่มีศีลธรรม ทั้งการบริหารประเทศก็แตกแยกมีปัญหาทุกวัน ท่านนายกก็เหนื่อย ไม่มีความสุข รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศ ลามไปถึงงบประมาณในการใช้จ่ายในครัวเรือน จนทำให้มีหนี้ครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น เอาความจริงมาเล่าสู่กันฟัง ลองตรองๆ และวิเคราะห์ข้อมูล ก็จะค่อย ๆ เห็นเป็นลำดับ ๆ ภาพในใจของทุกคนก็จะชัดเจนว่าสังคมไทยยุคปัจจุบันทำไมจึงไม่มีความสงบสุข ดังนั้นสรุปได้พอสังเขปว่า หากชาวพุทธบริษัทสี่ไม่รวมมือช่วยทำหน้าที่บำรุงพระพุทธศาสนา และส่งเสริมสนับสนุน ทำหน้าที่ชาวพุทธโดยไปชวนคนมาบวชมาก ๆ และรัฐบาลไม่ปรับปรุงการทำงานด้านพระพุทธศาสนาให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมสนับสนุนชีวิตการบวชเรียนเป็นพระภิกษุสงฆ์ให้อยู่อย่างปลอดภัย และดำรงชีวิตอยู่ในหลักพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง หากยังไม่มีรู้จักกลยุทธ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้คู่คุณธรรม ได้บวชเรียนตามพระธรรมวินัย พระพุทธศาสนาอาจจะสูญสิ้นไปจากเมืองไทย เหมือนปี พ.ศ.1700 ที่พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากอินเดีย สังคมไทยก็ไม่มีความสงบสุขอย่างแน่นอน
ภาพประกอบบทความแสดงถึงข่าวเรื่องหนี้ครัวเรือนที่สูงมากกว่าที่เคยมีมา |
พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันหนึ่งที่สำคัญของสังคมไทย คนไทยมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่โบราณกาล หรือจะกล่าวได้ว่า ตั้งแต่ยังเป็นแผ่นดินยุคโบราณ ที่เรียกว่า แผ่นดินสุวรรณภูมิ ที่มีชนเผ่าต่าง ๆ ดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อต่าง ๆ เช่น การนับถือผี สิ่งเหนือธรรมชาติ เรื่องวิญญาณบรรพบุรุษ ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มาสู่ดินแดนไทยโบราณ ผู้นำจึงได้นำความเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของชาวท้องถิ่นนั้น ๆ
ดังนั้นชาวไทยส่วนใหญ่ได้ยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาใช้เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต
อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ
และยังเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ในหลายสาขาวิชา เพราะพระธรรมหรือหลักคำสอนสามารถช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง
ๆ อีกทั้งยังเป็นกลไกควบคุมสังคม เป็นแหล่งกำเนิดสุนทรียศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต เป็นแหล่งกำเนิดจริยธรรม เป็นมรดกวัฒนธรรม เป็นสัจธรรมคำสอนที่สามารถพัฒนาคนทั้งจิตใจและร่างกาย
โดยแสดงออกในรูปแบบของค่านิยม ความเชื่อ ความประพฤติ
จึงเป็นจริยธรรมที่เชื่อมโยงให้เข้ากับวิถีชีวิตของสังคมมนุษย์
จนเกิดเป็นรูปแบบในการดำเนินชีวิตและเจริญงอกงามปรากฏในวิถีชีวิตในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
สามารถถ่ายทอด และกลายมาเป็นวัฒนธรรมที่ทำการสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
ในอดีตที่ผ่านมา พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ
ผ่านมาทางอินเดีย และ ประเทศศรีลังกา สังคมที่ทำหน้าที่ในการเผยแผ่คือ
สังคมชาวพุทธ คือ พุทธบริษัทสี่ ซึ่งได้สืบทอดถ่ายทอดมาเป็นวัฒนธรรมและประเพณีประจำท้องถิ่น
นั้น ๆ นำคำสอนและหลักธรรมมาปรับใช้กับความเชื่อของชนเผ่า ต่าง ๆ ในอาณาจักรไทยโบราณดั้งเดิม
ออกมาในรูปแบบวัฒนธรรมทางความคิด และวัตถุ จนกลายเป็นรากเหง้าในการเกิดวัฒนธรรมของชาวพุทธเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นนั้น
ๆ รวมทั้งด้านวัฒนธรรมการศึกษาด้วย
ทำไมพระพุทธศาสนาจึงเป็นรากฐานและเป็นรากเหง้าในการเกิดวัฒนธรรมการศึกษาชาวพุทธ
โดยเฉพาะประเพณีการบวช นั้น เป็นจุดเริ่มต้นในการทำให้สังคมแต่ละสังคมสงบสุข
หากไม่มีการบวช ก็จะไม่มีสังคมสงฆ์ หากไม่มีสังคมสงฆ์ก็จะไม่มีการศึกษาพระธรรมและวินัยของพระพุทธเจ้า
เมื่อคณะสงฆ์ได้ศึกษาเรียนรู้พระธรรมและพระวินัย ก็สามารถนำหลักธรรมไปใช้ฝึกอบรมตนเป็นพระภิกษุที่เคารพและน่าเลื่อมใส
เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของประชาชน และถ่ายทอดหลักธรรมในการดำรงชีวิตในสังคมสงฆ์ให้ประชาชนนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ขัดเกลาอุปนิสัยที่ดี ๆ ประพฤติปฏิบัติทั้งกายและใจให้ชีวิตเป็นสุขทุกวัน
จนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เกิดเป็นวิถีชีวิตที่ดีงามในสังคมนั้น ๆ
กลายเป็นวัฒนธรรมชาวพุทธที่ถ่ายทอด สืบทอดต่อ ๆ กันมาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นก็ต้องมาทำความเข้าใจเรื่องความหมายของคำว่า
“วัฒนธรรม” และคำว่า “การศึกษาของชาวพุทธ” ว่ามีความหมายและความสำคัญอย่างไร
อาจจะกล่าวความหมายได้พอสังเขปว่า
วัฒนธรรมมีความหมายกว้างมาก แต่มาจากสังคมมนุษย์
ที่มีปัจจัยสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆให้เจริญงอกงาม นั้น คือ กายและใจ ซึ่งกาย
และใจนี้แหละ ที่ได้แสดงความคิด ความรู้ ความเชื่อของมนุษย์ออกมาเป็นการกระทำ
มีผลต่อสังคม ๆ และการดำรงอยู่ของทุกชีวิต
เป็นความต้องการของมนุษย์ที่แสดงออกมาจากใจ ซึ่งเรียกว่า “นิสัย”
เพื่อต้องการดำรงชีวิตร่วมกัน มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข จนอยู่ร่วมกันได้ ดังนั้น
วัฒนธรรมจึงเปรียบเหมือนการสร้างบ้าน ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ต่าง ๆ หาก
“นิสัย” มนุษย์ในยุคต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมในยุคต่าง ๆ ก็จะมีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งอาจจะทำให้สังคมประเทศนั้น ๆ มีทั้งความเสื่อม
และความเจริญเติบโต
วัฒนะ มาจากภาษาบาลี
วฑฺฒน มาจากภาษาสันสกฤตว่า วรฺธน
ซึ่งมีความหมายทั่วไปว่า เจริญงอกงาม และรุ่งเรือง
ธรรม มาจากภาษาบาลีว่า ธมฺม
ธรรม มาจากภาษาสันสกฤตว่า ธรฺม หมายถึง การกระทำ หรือ การปฏิบัติ
เขียนตามรูปภาษาบาลีล้วน ๆ ว่า วฑฺฒธมฺม
เขียนตามภาษาสันสกฤตล้วน ๆว่า วรฺธนธรฺม
ดังนั้น เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า “วัฒนธรรม” หมายถึงความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย, การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม หรือ แปลว่า ธรรมเป็นเหตุให้เกิดความเจริญ ธรรมคือความเจริญ
ส่วนคำว่า “การศึกษาของชาวพุทธ” ในที่นี้เป็นเรื่องของสังคมชาวพุทธ
คัมภีร์สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค และคัมภีร์สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์ ได้ให้ความหมาย “การศึกษา” ไว้ว่า คือ การฝึก หมายถึง การฝึกกาย และจิต
ตามแนวของพระพุทธศาสนา เป็นการฝึกให้ทุกคนแยกแยะความดี ความชั่ว เพื่อเป็นการฝึกสติ
ปัญญา ทำให้ร่างกาย จิตใจซึ่งเป็นส่วนประกอบของมนุษย์ เกิดการพัฒนา อนึ่งในสังคมมนุษย์จำเป็นต้องเกื้อกูลกัน
ดั่งเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ทรงให้พระภิกษุทั้งหลายอยู่ด้วยกัน เป็นการฝึกให้เกิดความร่วมมือ
ไม่วิวาทถือว่าเป็นความสามัคคีในสังคมสงฆ์ มีเอกภาพ เกิดความรัก และความเมตตา เคารพซึ่งกันและกัน
ดังนั้น การศึกษาของชาวพุทธ จึง หมายถึง การที่ชาวพุทธศึกษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
ซึ่งสังคมแรกที่ได้รับการศึกษาจากพระพุทธเจ้า คือ สังคมพระภิกษุสงฆ์ บุคคลที่เป็นกลุ่มแรกที่ทำให้เกิดสังคมสงฆ์คือ
กลุ่มปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นต้นแหล่งในการสร้างสังคมพุทธบริษัทสี่ ทำหน้าที่บำรุง
สนับสนุน และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข กลายเป็นต้นแบบความดีงามของสังคม
เพราะคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือในการสร้าง และพัฒนาคุณภาพของมนุษย์
ทั้งกาย วาจา ใจ จนมนุษย์ได้สร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ
ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น วิถีชีวิตที่มีความผูกพันกับพระพุทธศาสนาจึงทำให้เกิดวัฒนธรรมด้านอื่น
ๆ ตามมาอีกมากมาย
อ่านบทความ ต่อเนื่อง โปรดรอดังนั้นวัฒนธรรมการศึกษาของชาวพุทธ จึงหมายถึง วิถีชีวิตของคนในสังคมนั้น ๆ โดยการนำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีรากฐานมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงค้นพบสัจธรรม ทำให้คนในสังคมนั้น ๆ มีรูปแบบในการอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ แบบแผน ก่อเกิดกิจกรรม ที่มีผลผลิตของกลุ่มชาวพุทธ ที่คนในสังคมยอมรับ ยอมปฏิบัติร่วมกัน สร้างศีลธรรม จริยธรรม ทำให้สังคมสงบสุข จนกระทั่งมีการพัฒนา สืบทอด อนุรักษ์ ฟื้นฟู ปรับปรุง ไปตามภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น ๆ
-------------------------------------
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและรูปภาพ
- พระไตรปิฎกสยามรัฐ ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ ปี 2500 และแบบออนไลน์ E-Tipiataka
- พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเล่มสีฟ้า 45 เล่ม ปี 2539
- พระไตรปิฎกออนไลน์รวม E tipitaka ลิงค์ออนไลน์
- พุทธพจน์ในการส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนา พระไตรปิฎกบาลีเล่ม4E-Tipitaka
- พุทธพจน์ในการส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนา พระไตรปิฎกแปลไทยเล่ม4 E-Tipitaka
- พระไตรปิฎก (ที.ปา. (ไทย) 11/ 323/ 315) , (ม.มู. (ไทย) 12/ 491-492/ 529-530) อธิบาย ความหมายการศึกษาของชาวพุทธ
- พระยาอนุมาน : Ebook ออนไลน์ ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม
- สุภาพรรณ ณ บางช้าง หนังสือพุทธธรรมที่เป็นรากฐากของสังคมไทยก่อนสมัยสุโขทัยถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กรุงเทพฯมหานคร สถาบันการศึกษาไทย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2535
- ข่าวจำนวนพระภิกษุสงฆ์สามเณรทั่วประเทศมีจำนวนลดลง
- ข่าวมติชน ทำไมวัดร้างเพิ่มจำนวนมากขึ้น ยิ่งปฏิรูป คนบวชยิ่งน้อยลง
- สถิติจำนวนวัด เปรียบเทียบจำนวนวัดปี2560
- สถิติข้อมูลจำนวนวัดปี 2562 เดือนมกราคม และจากอดีต
- สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ [ในอดีต : พระเทพเวที(ประยุทธ์ ปยุตฺโต), 2533 ] เขียนเรื่องการศึกษาของคณะสงฆ์
- o
หนังสือรากฐานพุทธจริยศาสตร์สำหรับสังคมร่วมสมัย
ปี 2533 หน้า 17
ความหมายของวัฒนธรรมร่วมสมัย
o หนังสือพุทธศาสนากับการศึกษาในอดีต
o หนังสือ สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2527
o หนังสือ วัฒนธรรมกับการพัฒนา. มูลนิธิพุทธธรรม พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด. 2532.- พระพุทธศาสนากับการศึกษาในอดีต. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2533.
- ณรงค์ เส็งประชา. พื้นฐานวัฒนธรรมไทย กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์. 2539.
- สุชีพ ปุญญานุภาพ. คุณลักษณะพิเศษแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร :
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, 2532.